เก็บเงินได้แน่ แค่จัดการ และบริหารการใช้เงินให้เป็น

icon 2 มี.ค. 64 icon 5,733
เก็บเงินได้แน่ แค่จัดการ และบริหารการใช้เงินให้เป็น

เก็บเงินได้แน่ แค่จัดการ และบริหารการใช้เงินให้เป็น

หลังจากที่เราผ่านช่วงวิกฤต COVID-19 หลายคนก็ประสบปัญหาทางการเงินในรูปแบบที่แตกต่างกัน ซึ่งในวิกฤตนี้ เราสามารถพลิกสถานการณ์ให้กลายเป็นโอกาสที่เราจะหันมาสำรวจพฤติกรรมด้านการเงินของตัวเองกันนะคะว่า ตลอดช่วงระยะเวลาตั้งแต่เราทำงานมา เราละเลย หรือหย่อนยาน ในเรื่องของกับการเก็บเงินอย่างไรบ้าง และจะได้เริ่มต้นจัดการ และบริหารการใช้เงินกันใหม่ สถานการณ์การเงินของเราก็จะไม่โอนเอนไปตามกระแสที่เกิดขึ้น และจะได้ไม่ต้องมานั่งปวดหัว ต้องมาหาหยิบยืมจากคนอื่นถ้าหากเกิดวิกฤตครั้งต่อไป วันนี้...เรามาเริ่มต้นจัดการการเงินใหม่กับ 4 ขั้นตอนง่ายๆ ไปด้วยกันนะคะ
 จัดลำดับความสำคัญการใช้เงิน
เริ่มต้นง่ายๆ ตั้งแต่วันที่เราได้รับเงินเดือนเลยค่ะ เริ่มจากการจดบันทึกรายรับ - รายจ่ายประจำวันในแบบที่ตัวเองเข้าใจ ซึ่งเมื่อทำไปสักระยะก็จะรู้โดยอัตโนมัติว่าในแต่ละเดือนเราใช้เงินส่วนใหญ่ไปกับเรื่องอะไร จำเป็นหรือไม่จำเป็น และในเดือนถัดไป เราจะสามารถจัดสรร หรือจัดลำดับความสำคัญของการใช้เงินได้อย่างถูกต้อง โดยลำดับแรกเราควรให้ความสำคัญกับเงินออมก่อน เพราะเงินออมไม่ใช่เงินที่เหลือจากการใช้จ่ายในแต่ละเดือน เราควรแบ่งออกมาเก็บไว้ตั้งแต่ได้รับเงินเดือนเลยค่ะ 
โดยเราใช้วิธีจัดสัดส่วนของการเก็บออม และการใช้เงินจากกฏ 50/30/20 PERCENT RULE ซึ่งเป็นวิธีในการแบ่งสัดส่วนของรายรับที่มีอยู่ตามหมวดหมู่ที่เราตั้งไว้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการกำหนดจำนวนเงินที่จะใช้จ่ายในแต่ละเดือนค่ะ

สัดส่วน 50% เราจะแบ่งไว้สำหรับการใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นในการใช้ชีวิตในแต่ละวัน เช่น ค่ากิน ใช้ เดินทาง รวมถึงค่าสาธารณูปโภคต่างๆ เป็นต้น แต่เราไม่จำเป็นต้องใช้ให้หมดทั้ง 50% นี้นะคะ หากเราสามารถประหยัดเพิ่มได้ เราก็เอาเงินส่วนที่เหลือมาเก็บออมเพิ่มได้อีกค่ะ
สัดส่วน 30% เราจะแบ่งไว้สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในสิ่งที่ต้องการ เพื่อสร้างความสุขให้กับตัวเอง ซื้อของที่เราอยากได้ ถือเป็นการให้รางวัลกับตัวเอง แต่ต้องระวังอย่าใช้ให้เกินกว่าที่เรากำหนดไว้ เพราะแทนที่จะเป็นการสร้างความสุข อาจจะกลายเป็นเพิ่มความทุกข์ให้เราได้นะคะ
สัดส่วน 20% เป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะเป็นส่วนในการสร้างความมั่งคั่งในอนาคตค่ะ โดยเราอาจจะเก็บเป็นเงินออม หรือนำไปลงทุน เพื่อให้เงินงอกเงยขึ้นนั่นเองค่ะ ซึ่งควรแบ่งเงินในส่วนนี้ไว้เป็นอันดับแรกหลังจากที่เราได้รับเงินเดือนมาเลยนะคะ ส่วนวิธีการเก็บออม หรือช่องทางการลงทุน ก็ควรเลือกวิธีที่เราสะดวก และเข้าใจมากที่สุดค่ะ
ทั้งนี้ เราสามารถปรับเปลี่ยนสูตรการบริหารเงินได้ตามความเหมาะสม โดยอิงจากอายุ รายได้ ค่าใช้จ่าย ภาระหนี้สิน รวมถึงเป้าหมายทางการเงิน และหากเราจัดสรรการใช้เงินในแต่ละเรื่องให้ชัดเจนจะช่วยให้เราสามารถบริหารเงิน และควบคุมค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้ดีขึ้นค่ะ
 การใช้จ่ายอย่างประหยัด
การใช้จ่ายอย่างประหยัด ถือเป็นเคล็ดลับที่ง่ายที่สุดที่จะทำให้เรามีเงินเหลือเก็บมากขึ้น เพราะนอกจากเราจะจัดสัดส่วนการใช้เงินได้เป็นอย่างดีแล้ว หากเราใช้จ่ายอย่างประหยัด เราก็จะมีเงินเหลือเก็บจากสัดส่วนอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น หากในสัดส่วนของ 50% ที่เราเก็บไว้ใช้จ่ายเราใช้ไม่หมด พอสิ้นเดือน เราก็สามารถโยกเงินจากสัดส่วนนี้มาเก็บออมเพิ่มได้อีก ก็จะยิ่งช่วยให้เรามีเงินเก็บเพิ่มมากขึ้นค่ะ 
 กู้ยืมเท่าที่จำเป็น
เมื่อเรามีการวางแผนการใช้เงินมาเป็นอย่างดีแล้ว การกู้ยืมเงินก็แทบไม่มีความจำเป็นเลยค่ะ เว้นแต่ เราต้องการจะกู้ยืมเงินเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับครอบครัว เช่น กู้ซื้อที่อยู่อาศัย เป็นต้น และเมื่อกู้เงินแล้ว เราก็ควรมาปรับแผนการใช้เงินให้สอดคล้องกันด้วยนะคะ และที่สำคัญ เราควรหลีกเลี่ยงการกู้ยืมเพื่อการบริโภคหรือช้อปปิ้ง เพราะการกู้เงินเพื่อวัตถุประสงค์เหล่านี้ เป็นสัญญาณของการก่อให้เกิดหนี้เกินตัวค่ะ
 บัตรเครดิตใช้ได้ แต่ต้องจ่ายเต็ม
เพราะการใช้บัตรเครดิตถือเป็น Item ที่สะดวกมาก แถมใช้แล้วก็เหมือนเงินในกระเป๋ายังอยู่ครบตลอดเวลา แต่ก็เป็นที่รู้กันดีนะคะว่าดอกเบี้ยบัตรเครดิตนั้นสูงมาก หากเราเลือกชำระคืนแบบขั้นต่ำ ยอดส่วนที่ค้างก็จะก่อดอกเบี้ยเพิ่มให้เราตลอดเวลา ดังนั้น เราควรใช้บัตรเครดิตเท่าที่จำเป็น และต้องชำระหนี้คืนแบบเต็มจำนวนนะคะ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาหนี้ก้อนใหญ่ที่อาจเกิดขึ้นค่ะ เพราะเมื่อใดก็ตามที่เราใช้บัตรเครดิต และเลือกชำระขั้นต่ำตลอด แล้วเรายังใช้บัตรเครดิตใบนั้นต่อเนื่อง ยอดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นใหม่ก็จะถูกคิดดอกเบี้ยไปด้วย ก็จะกลายเป็นว่าเราจะมีภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้น เพราะดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่เพิ่มหลายเด้งนั่นเองค่ะ 

ไม่ว่าที่ผ่านมา เราจะละเลย หรือหย่อนยานในเรื่องของการเก็บออมไปบ้าง แต่หากเราเริ่มต้นใหม่ตั้งแต่วันนี้ และฝึกตัวเองให้มีวินัยด้านการเงิน เชื่อแน่ว่าไม่ว่าจะผ่านมาอีกกี่วิกฤต สถานะทางการเงินของเราก็จะไม่สั่นคลอน และเราจะมีเงินเหลือใช้ เหลือเก็บอย่างแน่นอนค่ะ 
แท็กที่เกี่ยวข้อง บริหารการเงิน การจัดการทางการเงิน ทริคเงินออม การออมเงิน
Money Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)