บริหารเงิน ไม่เลินเล่อ สไตล์ "ฟรีแลนซ์"

icon 11 ก.ค. 60 icon 2,899
บริหารเงิน ไม่เลินเล่อ สไตล์ "ฟรีแลนซ์"

บริหารเงิน ไม่เลินเล่อ สไตล์ "ฟรีแลนซ์"

"ฟรีแลนซ์" อีกหนึ่งอาชีพในฝันของคนยุคใหม่ เพราะมีอิสระในการทำงาน ไม่ต้องตอกบัตร ไม่ต้องเข้าออฟฟิศ ไม่ต้องฝ่ารถติดตอนเช้า สามารถจัดตารางการทำงานของตนเอง และรับงาน รับเงิน จากผู้ว่าจ้าง ตามความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย แต่ถึงแม้อาชีพฟรีแลนซ์จะมีข้อดีที่หลายๆ คนใฝ่ฝัน แต่ก็มีข้อเสียด้วยเช่นกัน เพราะรายได้จะไม่ค่อยมั่นคง บางเดือนมีงานมาก เงินก็มาก บางเดือนมีงานน้อยเงินก็น้อยตามไปด้วย ไหนจะปัญหาจากการจ่ายเงินล่าช้าของผู้ว่าจ้าง หรือแม้แต่หากเราเจ็บป่วยก็ไม่มีสวัสดิการรองรับเหมือนพนักงานบริษัททั่วไป เมื่อลอง Balance ทั้งข้อดี ข้อเสียแล้ว หากใจเรายังรักในอาชีพฟรีแลนซ์ เราต้องตระหนักถึงความรับผิดชอบ และความมีวินัยในตนเองอย่างสูง ทั้งเรื่องงาน และเรื่องการบริการเงิน เพื่อที่เราจะได้มีเงินไว้ใช้ได้อย่างต่อเนื่อง และพร้อมรับกับสถานการณ์ต่างๆ ได้
หลายคนคงมีคำถามว่า "ฟรีแลนซ์" จะต้องบริหารจัดการเงินของตนเองอย่างไร แตกต่างกับผู้มีรายได้ประจำมากไหม? เราลองมาดูข้อเสนอแนะง่ายๆ กันเลยค่ะ 

1. ท่องไว้ "วินัยทางการเงิน" 

ด้วยความไม่แน่นอนของรายได้ ทำให้การบริหารเงินของฟรีแลนซ์ต้องเป็นไปด้วยความระมัดระวังมากกว่ามนุษย์เงินเดือน ต้องมองอนาคตให้ไกลกว่าวันที่มีงานล้นมือ ต้องคิดเผื่อเสมอว่าเมื่อไม่มีงานไม่ว่าจะนานแค่ไหน เราต้องมีเงินเท่าไหร่ถึงจะอยู่ได้ และต้องเตรียมเงินให้พอ หากคิดจะก่อหนี้ก็ต้องคิดให้ถี่ถ้วน เพราะจังหวะที่รายรับจะเข้ามีแนวโน้มสูงที่จะไม่ตรงกับกำหนดชำระหนี้ที่เรียกเก็บทุกเดือน จึงเป็นไปได้ว่าในวันที่ต้องจ่ายหนี้ เราอาจจะไม่มีเงินสดในมือเลย ก็จะยิ่งกลายเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคต

2. ออมก่อนใช้

สำหรับอาชีพฟรีแลนซ์ เรื่องของการออมเป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างเคร่งครัด ไม่ควรผลัดผ่อนการออมเป็นเดือนหน้า เพราะเราไม่รู้ได้แน่นอนว่าลูกค้า และรายได้จะเข้ามาอีกเมื่อไหร่ ดังนั้น ทุกครั้งที่ได้รับเงินควรหักไว้เป็นเงินออมอย่างน้อย 25% เพื่อสำรองไว้เป็นค่าใช้จ่ายในอนาคตหลังจากเลิกทำงาน และที่สำคัญ ควรมีการแบ่งเงินเก็บเผื่อเหตุฉุกเฉินอย่างน้อย 6 เท่าของรายจ่ายประจำต่อเดือน

3. จ่ายแล้วจด

การจดค่าใช้จ่าย เรื่องง่ายๆ ที่น่าเบื่อ แต่จะเป็นประโยชน์ในยามที่ขาดรายได้ หรือต้องลดค่าใช้จ่าย เพราะการจดบันทึกจะทำให้เรารู้ว่าค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่ไม่จำเป็น และจะอุดรูรั่วของกระเป๋าสตางค์ตรงไหนได้บ้าง เมื่อจดบันทึกเราจะสังเกตุเห็นว่าจะมีรายจ่ายที่เราสามารถลด และสามารถนำเงินส่วนนั้นมาออมเพิ่มได้อีก 

4. รองรับความเสี่ยงด้วยการทำประกัน

อุบัติเหตุ และการเจ็บป่วย เป็นเหตุที่เราไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้เลย และสิ่งที่จะช่วยลดความกังวลสำหรับฟรีแลนซ์ที่ไม่มีสวัสดิการรองรับ ก็คือ "การทำประกัน" ที่จะช่วยบรรเทาความเดือนร้อน นอกเหนือจากเงินออมฉุกเฉินที่เราสะสมไว้ และเบี้ยประกันบางประเภทยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย

5. สร้างความมั่งคั่งให้อนาคต

นอกจากการสร้างความมั่นคงด้วยวิธีต่างๆข้างต้นแล้ว ฟรีแลนซ์หลายคนอาจอยากต่อยอดให้เงินเติบโต สร้างความมั่งคั่งในอนาคตด้วยการลงทุน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องไม่ลืมว่าควรศึกษาข้อมูลให้รอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน เพราะมีโอกาสที่จะได้กำไรหรือขาดทุนทั้ง 2 ทาง 

ไม่ใช่แต่เฉพาะ "ฟรีแลนซ์" หรือผู้ที่มีอาชีพอิสระเท่านั้นที่ต้องบริหารจัดการการเงิน เพราะไม่ว่าเราจะประกอบอาชีพอะไร หากเรามีพื้นฐานทางการเงินที่ดี และสามารถบริหารจัดการเงินได้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการออม การจดบันทึกรายรับรายจ่าย หรือการหาความรู้เรื่องการลงทุนที่เหมาะสมกับตนเอง สิ่งเหล่านี้แม้บางทีเราอาจจะมองว่ายุ่งยาก แต่...เชื่อเถอะค่ะว่าจะเป็นประโยชน์ และจะช่วยทำให้เรามีเงินพอใช้ไปตลอดชีวิต ^^ ไว้พบกันใหม่บทความหน้านะคะ 
แท็กที่เกี่ยวข้อง บริหารเงิน ฟรีแลนซ์ ทักษะการบริการเงิน อาชีพอิสระ
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)