รู้มั้ย..."แบงก์ปลอม" มีมาตั้งแต่เมื่อไหร่?

icon 1 ส.ค. 59 icon 1,999
รู้มั้ย..."แบงก์ปลอม" มีมาตั้งแต่เมื่อไหร่?

รู้มั้ย..."แบงก์ปลอม" มีมาตั้งแต่เมื่อไหร่?

ธนบัตรปลอมมิใช่ของแปลกใหม่ แต่ได้เกิดขึ้นมาแล้วกว่าร้อยปี และยังคงเป็นปัญหาต่อเนื่องมาเกือบทุกยุคสมัย ย้อนหลังไปในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติธนบัตรสยาม รศ. 121 (พ.ศ. 2445) พร้อมทั้งโปรดให้จัดทำธนบัตรขึ้นใช้เป็นครั้งแรกในสยาม
หลังจากนำธนบัตรออกใช้ได้เพียงหนึ่งปี ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ และธนาคารชาเตอร์แบงก์ ก็ได้รับธนบัตรปลอมจำนวนหนึ่งจากผู้ที่นำมาขึ้นเงิน จากการสืบสวนทำให้ทราบว่าคดีดังกล่าวพัวพันกับนายเพ่ง (ศรี สรรักษ์) บุตรขุนนางชั้นผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง โดยเป็นผู้ติดต่อให้ชาวญี่ปุ่นออกไปทำธนบัตรปลอมที่เมืองโอซากา แล้วนำเข้ามาใช้ในกรุงเทพฯ โดยแอบบรรจุมากับเครื่องเรือนจากประเทศญี่ปุ่น
คดีธนบัตรปลอมนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยเป็นพิเศษ เพราะเป็นการบ่อนทำลายเศรษฐกิจของชาติ ทรงรับสั่งให้สอบสวนหาผู้กระทำความผิด และมีการนำจำเลยเข้าเฝ้า เพื่อทรงสอบปากคำด้วยพระองค์เอง ทรงลงทัณฑ์จำเลยในเกือบจะทันทีที่สอบสวนเสร็จ ทั้งนี้ เป็นเพราะจำเลยเป็นถึงเชื้อพระวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ จึงทรงต้องการให้หลาบจำ และมิต้องการให้ใครเอาเยี่ยงอย่างนั่นเอง
แท็กที่เกี่ยวข้อง ธนบัตร ธนบัตรปลอม แบงก์ปลอม แบงก์
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)