ข้อควรพิจารณาในการเลือกสถาบันเงินฝาก

icon 16 ก.พ. 58 icon 38,570
ข้อควรพิจารณาในการเลือกสถาบันเงินฝาก


ข้อควรพิจารณาในการเลือกสถาบันเงินฝาก
ในการฝากเงินนั้นควรเลือกฝากเงินที่มีระยะเวลาฝาก และวัตถุประสงค์ตรงกับความต้องการใช้เงินในอนาคต โดยที่สถาบันการเงินแต่ละแห่งจะมีรูปแบบบัญชีที่คล้ายๆกัน
ดังนั้น การพิจารณาเลือกว่าจะฝากเงินที่ไหน ถือเป็นเรื่องสำคัญของผู้ออมเงิน เพื่อให้ได้ผลตอบแทนและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยปัจจัยที่ใช้พิจารณามีดังนี้
1. ความมั่นคงของสถาบันการเงิน สามารถพิจารณาได้จาก 2 ปัจจัย คือ
1.1 ความมั่นคง และประสิทธิภาพของสถาบันการเงิน ดูได้จากการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ การจัดการและผลการดำเนินงาน ผลกำไรขาดทุนของบริษัท ฐานะทางการเงิน ขนาดของธุรกิจ และความเสี่ยงภายนอกของธุรกิจนั้นๆ ประกอบกัน
1.2 ศักยภาพของผู้บริหารกิจการ โดยดูจากความเชี่ยวชาญในการบริหารงาน การบริหารความเสี่ยง และแนวโน้มการเติบโตของสถาบันการเงินนั้น
2. ผลตอบแทน ในการเลือกว่าจะฝากเงินกับสถาบันการเงินใดนั้น ควรพิจารณาเรื่องดอกเบี้ยเงินฝากที่จะได้รับ และเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยของแต่ละสถาบันด้วย โดยปกติสถาบันการเงินที่มีความมั่นคงสูงจะมีผู้ฝากเงินเป็นจำนวนมาก ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากก็จะต่ำกว่าสถาบันการเงินที่มีความมั่นคงน้อยกว่า นอกจากนี้ ระยะเวลาในการฝากเงินก็ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึงเพราะการเลือกฝากเงินในระยะยาวย่อมได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยที่สูงกว่าเช่นกัน
3. ความสะดวก และการบริการ ผู้ฝากควรชั่งใจระหว่างผลตอบแทนที่ได้รับกับความสะดวก และบริการที่ได้รับ ธนาคารที่มีสาขามาก และให้บริการที่ดี ย่อมมีโอกาสที่จะดึงลูกค้าให้มาฝากเงินได้ง่ายและมากกว่า เพราะลูกค้าได้รับความสะดวกในการที่จะเปิดบัญชี โอนเงิน หรือฝากเงิน
4. การคุ้มครองเงินฝาก เป็นระบบที่เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบสถาบันการเงิน ซึ่งจะจ่ายเงินคืนให้กับผู้ฝากในเวลาที่กำหนดในกรณีที่สถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การควบคุมถูกปิดกิจการ หรือล้มละลาย ดังนั้นการพิจารณาว่าจะเลือกฝากเงินที่ไหนก็ควรพิจารณาเรื่องของการคุ้มครองเงินฝากด้วย เพื่อที่ผู้ฝากจะได้สามารถจัดสรรเงินเพื่อฝากหรือลงทุนอื่นๆได้อย่างเหมาะสม โดยสามารถสรุปรายละเอียดเกี่ยวกับสถาบันการเงิน ประเภทบัญชี และจำนวนเงินที่ได้รับการคุ้มครองและไม่ได้รับการคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ดังนี้
สถาบันการเงิน
ที่ได้รับการคุ้มครอง
จากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก
1.ธนาคารพาณิชย์ไทย (รวมสาขาธนาคารต่างประเทศ) ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารกสิกรไทย,ธนาคารเกียรตินาคิน, ธนาคารทหารไทย, ธนาคารทิสโก้, ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารธนชาต, ธนาคารยูโอบี, ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย), ธนาคารไอซีบีซี(ไทย), ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย, ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์, ธนาคารเมกะ สากลพาณิชย์, ธนาคารซิตี้แบงก์, ธนาคารเครดิต อะกริกอล คอร์ปอร์เรทแอนด์อินเวสเม้นท์แบงก์, ธนาคารเจพีมอร์แกน เชส, ธนาคารซูมิโตโม มิตซุยแบงกิ้ง คอร์ปอร์เรชั่น, ธนาคารดอยซ์แบงก์, ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์, ธนาคารมิซูโฮ คอร์ปอเรต, ธนาคารแห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ, ธนาคารแห่งประเทศจีน, ธนาคารแห่งอเมริกาเนชั่นแนลแอสโซซิเอชั่น, ธนาคารอาร์ เอช บี, ธนาคารเดอะรอยัลแบงก์อ๊อฟสกอตแลนด์ เอ็น.วี., ธนาคารอินเดียนโอเวอร์ซีส์, ธนาคารฮ่องกงแอนด์เซี่ยงไฮ้ แบงก์กิ้งคอร์ปอเรชั่น, ธนาคารโอเวอร์ซี-ไชนีสแบงก์กิ้ง คอร์ปอเรชั่น
2. บริษัทเงินทุน ได้แก่ บง.กรุงเทพธนาทร, บง.สินอุตสาหกรรม, บง.แอดวานซ์

3. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ได้แก่ บค.ลินน์ ฟิลลิปส์ มอร์ทเก็จ, บค.สหวิริยา, บค.เอเซีย
สถาบันการเงิน
ที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง
จากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก
1. ธนาคารออมสิน
2. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
3. ธนาคารอาคารสงเคราะห์
4. ธนาคารอิสลาม
(เนื่องจากเป็นธนาคารที่รัฐบาลถือหุ้นและดูแลเงินฝากอยู่แล้ว ดังนั้นจึงได้รับความคุ้มครองจากรัฐบาลเต็มจำนวน)
ประเภทบัญชี
ที่ได้รับการคุ้มครอง
จากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก
บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ออมทรัพย์ ประจำ บัตรเงินฝาก และใบรับฝากเงินที่เป็นเงินบาท 
ไม่รวมเงินฝากในบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ
จำนวนเงิน
ที่ได้รับการคุ้มครอง
จากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก
ตั้งแต่ 11 ส.ค.55 -– 10 ส.ค.58 คุ้มครองไม่เกิน 50 ล้านบาท
ตั้งแต่ 11 ส.ค.58 –- 10 ส.ค.59 คุ้มครองไม่เกิน 25 ล้านบาท
ตั้งแต่ 11 ส.ค.59 เป็นต้นไป วงเงินที่ได้รับความคุ้มครอง คือ 1 ล้านบาท ต่อคน ต่อบัญชี

ทั้งนี้ในการจะเลือกฝากเงินที่ไหนนั้นนอกจากปัจจัยต่างๆที่สรุปรวมข้างต้นแล้ว ควรพิจารณาถึงจุดเด่นและจุดด้อย ของสถาบันการเงินที่ผู้ฝากต้องการเลือกเปิดบัญชีก่อนที่จะตัดสินใจด้วย โดยสามารถสรุปได้ ดังนี้
จุดเด่น-จุดด้อยของสถาบันการเงิน
สถาบันการเงิน จุดเด่น จุดด้อย
ธนาคาร 1. มีความมั่นคง น่าเชื่อถือ
2. มีรูปแบบการฝาก การออมที่หลากหลาย
3. มีโปรโมชั่นดอกเบี้ยเงินฝากใหม่ๆเสมอ
4. มีสาขาบริการหลายแห่ง และสะดวกในการใช้บริการ
1. ผลตอบแทนอัตราดอกเบี้ยอาจต่ำกว่าสถาบันการเงินรูปแบบอื่น
2. ต้องเสียภาษีบนดอกเบี้ยที่ได้รับ
สหกรณ์ออมทรัพย์ต่างๆ 1. ผลตอบแทนจะมีมากกว่าในรูปของเงินปันผล เงินเฉลี่ยคืน และอัตราดอกเบี้ย
2. ได้รับสวัสดิการตอบแทนอื่นๆที่สหกรณ์จัดขึ้น เช่น ทุนการศึกษาบุตร เงินช่วยเหลือกรณีคู่สมรสเสียชีวิต การประกันชีวิต เป็นต้น
3. ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินปันผล เงินเฉลี่ยคืน และดอกเบี้ยออมทรัพย์
1.จำกัดการฝากเฉพาะผู้ที่เป็นสมาชิกของสหกรณ์เท่านั้น
ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ 1. ให้ผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยสูงกว่าธนาคารพาณิชย์ 1. ไม่มีสาขาในการให้บริการ
2. ความมั่นคงทางการเงินอาจไม่ดีเท่าธนาคาร
3. ตราสารการฝากเงินอาจมีรูปแบบค่อนข้างจำกัด 4.ต้องเสียภาษีบนดอกเบี้ยที่ได้รับ
บริษัทเงินทุน 1. ให้ผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยที่สูงกว่าธนาคารพาณิชย์ 1. ไม่มีสาขาในการให้บริการ 2. ความมั่นคงทางการเงินอาจไม่ดีเท่าธนาคาร 3. ตราสารการฝากเงินอาจมีรูปแบบค่อนข้างจำกัด 4. ต้องเสียภาษีบนดอกเบี้ยที่ได้รับ
เอกสารที่จำเป็นต้องใช้ในการเปิดบัญชีกับธนาคาร
หากตัดสินใจได้แล้วว่าจะฝากเงินกับธนาคารไหนดี ในการเปิดบัญชีสำหรับบุคคลแต่ละประเภท จะต้องใช้เอกสารประกอบในการเปิดบัญชีที่แตกต่างกัน สำหรับผู้เปิดบัญชีที่เป็นบุคคลธรรมดาจะเน้นเอกสารแสดงตนที่สามารถยืนยันตัวตนได้ชัดเจน มีรูปถ่ายและเป็นเอกสารที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐ หรือในกรณีที่เอกสารแสดงตนไม่แสดงเลขที่ประจำตัวประชาชนและที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน ก็สามารถใช้สำเนาทะเบียนบ้านเป็นเอกสารประกอบในการเปิดบัญชีร่วมด้วยได้ และต้องเป็นเอกสารที่ไม่หมดอายุ ทั้งนี้สามารถสรุปรายการเอกสารประกอบการเปิดบัญชีกับธนาคารโดยแยกตามประเภทบุคคลได้ ดังนี้
ประเภทบุคคล เอกสารที่ใช้ประกอบการเปิดบัญชี
บุคคลธรรมดา
  1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือ
  2. ใบอนุญาตขับขี่ยานพาหนะที่ระบุเลขที่บัตรประชาชน หรือ
  3. บัตรแสดงตนอื่นๆ ที่มีรูปถ่าย เช่น บัตรประจำตัวข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานองค์กรรัฐ เป็นต้น
หมายเหตุ
  1. สำเนาทะเบียนบ้าน ใช้เฉพาะกรณีที่เอกสารแสดงตนไม่แสดงเลขที่ประจำตัวประชาชน และที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน 
  2. ไม่ให้ใช้เอกสารแสดงตนที่หมดอายุ
บุคคลธรรมดา
ที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี
  1. สูติบัตร และสำเนาทะเบียนบ้าน (ในกรณีที่สูติบัตรระบุที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน ก็ไม่ต้องใช้สำเนาทะเบียนบ้านประกอบการเปิดบัญชี) หรือ
  2. บัตรประจำตัวนักเรียน นักศึกษา และสำเนาทะเบียนบ้าน หรือ
  3. หนังสือรับรองจากสถาบันการศึกษา และสำเนาทะเบียนบ้าน
ชาวต่างชาติ
(บุคคลธรรมดา

ที่ไม่ใช่สัญชาติไทย)
กรณีบัญชี Resident Account
  1. หนังสือเดินทาง และใบอนุญาตทำงาน(Work Permit)หรือ VISA ที่มีอายุตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไปเพื่อแสดงว่าถึงลูกค้ามีที่อยู่ในประเทศไทย เช่น VISA ที่มีวัตถุประสงค์เป็น Business VISA หรือ Retirement VISA หรือหนังสือรับรองจากสถาบันการศึกษา (กรณีเป็นนักเรียนชาวต่างชาติ) หรือ
  2. ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือ
  3. เอกสารหลักฐานแสดงตนที่ออก หรือรับรองโดยหน่วยงานหรือองค์กรที่น่าเชื่อถือ

กรณีบัญชี Non Resident Account
  1. หนังสือเดินทาง
แท็กที่เกี่ยวข้อง
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)