สมาคมธนาคารไทย สนับสนุนมาตรการสินเชื่อเพื่อการปรับตัว เสริมศักยภาพ SMEs รับธุรกิจโลกยุคใหม่

ข่าว icon 27 ม.ค. 66 icon 993
สมาคมธนาคารไทย และธนาคารสมาชิก สนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ปรับตัว ผ่าน "มาตรการสินเชื่อเพื่อการปรับตัว" ภายใต้พ.ร.ก.ฟื้นฟูฯ มุ่งเสริมศักยภาพการแข่งขันผู้ประกอบการ รับ 3 เมกะเทรนด์ธุรกิจโลกยุคใหม่"เทคโนโลยีดิจิทัล ธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และนวัตกรรมแห่งโลกอนาคต" หนุนธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน

นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า แม้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย แต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยาวนาน เป็นปัจจัยเร่งให้เกิดบริบทโลกใหม่ (New Normal) ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคและทิศทางการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสมาคมธนาคารไทย ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับตัวในช่วงการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจ เพื่อรับกับทิศทางธุรกิจในอนาคต จึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนออกมาตรการ "สินเชื่อเพื่อการปรับตัว" ต่อยอดจากสินเชื่อฟื้นฟู ภายใต้ พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2564 (พ.ร.ก.ฟื้นฟูฯ) เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ สำหรับการลงทุนปรับปรุง พัฒนาและเสริมศักยภาพธุรกิจให้สอดรับกับ New Normal ใน 3 รูปแบบ คือ 1.กระแสเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital) 2.การดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green) 3.นวัตกรรมแห่งโลกอนาคต (Innovation) ซึ่งเป็นเมกะเทรนด์ธุรกิจของโลก

มาตรการ "สินเชื่อเพื่อการปรับตัว" เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ประกอบการ SMEs เพื่อการลงทุนสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขัน ในช่วงที่เศรษฐกิจทยอยฟื้นตัวและทิศทางอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น โดยธปท. ได้ปรับหลักเกณฑ์ขยายวงเงินกู้สูงสุด 150 ล้านบาท ภายใต้เงื่อนไขอัตราดอกเบี้ย 2 ปีแรก ไม่เกิน 2% ต่อปี และเฉลี่ย 5 ปี ไม่เกิน 5% ต่อปี ขณะที่เงื่อนไขการค้ำประกันยืดหยุ่นขึ้น เพื่อเอื้อต่อการเข้าถึงสินเชื่อและส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของ SMEs ไทย สำหรับ SMEs ที่ไม่มีความประสงค์ในการกู้เพื่อลงทุนใหม่ สามารถขอสนับสนุนสภาพคล่องเพื่อหมุนเวียนทั่วไป ผ่านมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูที่ยังดำเนินการควบคู่กันได้

สมาคมธนาคารไทย และ ธนาคารสมาชิก พร้อมสนับสนุนมาตรการสินเชื่อเพื่อการปรับตัวอย่างเต็มกำลัง ปัจจุบันมีสถาบันการเงินที่ได้จัดทำผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อการปรับตัวแล้วจำนวน 16 แห่ง โดยผู้ประกอบธุรกิจที่ประสงค์ขอสินเชื่อเพื่อการปรับตัวสามารถติดต่อสถาบันการเงินได้โดยตรง สามารถดูรายชื่อสถาบันการเงินและศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมผ่านเว็บไซต์ของ ธปท. ได้ที่ มาตรการสินเชื่อเพื่อการปรับตัว ภายใต้ พ.ร.ก. ฟื้นฟูฯ (bot.or.th)

ทั้งนี้ นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 สมาคมธนาคารไทยได้ประสานความร่วมมือกับธปท.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง ทั้งมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) เพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการในระยะสั้น โดยสามารถช่วยเหลือ SMEs ได้ถึง 7.7 หมื่นราย วงเงินรวม 1.4 แสนล้านบาท มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู ให้ความช่วยเหลือ 5.9 หมื่นราย คิดเป็นยอดอนุมัติสินเชื่อกว่า 2.1 แสนล้านบาท มาตรการพักทรัพย์พักหนี้ ให้ความช่วยเหลือ 413 ราย คิดเป็นมูลค่าสินทรัพย์ที่รับโอนราว 5.8 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีมาตรการแก้หนี้อย่างยั่งยืน เพื่อช่วยเหลือลูกค้าแก้ไขปัญหาหนี้ได้ตรงจุด ทันการณ์ และยั่งยืน เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ผ่านวิกฤต มีความพร้อมกลับมาเติบโตได้อย่างยั่งยืน
 
ดูข่าว/อีเว้นการเงินอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แท็กที่เกี่ยวข้อง

smes สมาคมธนาคารไทย ข่าวการเงิน ข่าวการเงิน 2566 มาตรการสินเชื่อเพื่อการปรับตัว ธุรกิจโลกยุคใหม่

ข่าวและอีเว้นท์การเงินล่าสุด



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)