สารัชถ์ รัตนาวะดี แชมป์เศรษฐีหุ้นไทย 2563 ครองตำแหน่งสมัยที่ 2 รวย 1.1 แสนล้านบาท

ข่าว icon 8 ธ.ค. 63 icon 1,469
สารัชถ์ รัตนาวะดี แชมป์เศรษฐีหุ้นไทย 2563 ครองตำแหน่งสมัยที่ 2 รวย 1.1 แสนล้านบาท


วารสารการเงินธนาคาร ร่วมกับ อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการจัดอันดับเศรษฐีหุ้นไทย โดยวัดจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ประเภทบุคคลธรรมดาในประเทศที่ถือหุ้นสัดส่วน 0.5% ขึ้นไป ตามการปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นล่าสุดก่อนวันที่ 30 กันยายน 2563 โดยผลการจัดอันดับเศรษฐีหุ้นไทยปี 2563 ใน วารสารการเงินธนาคาร ฉบับเดือนธันวาคม 2563 ปรากฏว่า

เศรษฐีหุ้นอันดับ 1 ยังคงเป็นของ สารัชถ์ รัตนาวะดี กรรมการ รองประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ หรือ GULF ซึ่งเป็นการครองแชมป์ติดต่อกันเป็นปีที่ 2 โดยถือหุ้นมูลค่าสูงสุดรวม 115,290 ล้านบาท รวยลดลง 5,670 ล้านบาท หรือ 4.69% ซึ่งสารัชถ์เป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 1 ของ GULF ในสัดส่วน 35.44%
ซึ่งเมื่อย้อนไปในปี 2562 ที่สารัชถ์ได้ก้าวเข้ามาขึ้นเป็นแชมป์เศรษฐีหุ้นไทยเป็นปีแรก ขณะนั้นมูลค่าของหุ้น GULF ทะยานขึ้นมาอยู่ที่ 160 บาท (ณ 30 กันยายน 2562 ราคาพาร์อยู่ที่ 5 บาท) เพิ่มขึ้นถึง 83.75 บาท หรือ 109.84% จากราคาเสนอขายประชาชนครั้งแรก (IPO) ที่ 45.00 บาทต่อหุ้นเมื่อปี 2561 แต่มาในปีนี้หุ้น GULF ก็หนีไม่พ้นผลกระทบจากโดวิด-19 ที่ฉุดให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงอย่างหนัก โดยราคาหุ้น GULF ตกลงมาอยู่ที่ 30.50 บาท ลดลงไป 4.69% (ณ 30 กันยายน 2563 ราคาพาร์ปรับเป็น 1 บาท) ความมั่งคั่งของสารัชถ์ในปีนี้จึงลดลงไปกว่า 5,600 ล้านบาท 
เศรษฐีหุ้นอันดับ 2 ได้แก่ นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ หรือ หมอเสริฐ เจ้าของกลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ-นนทเวช และสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส โดยถือครองหุ้นมูลค่ารวม 50,079.31 ล้านบาท ซึ่งหุ้นที่หมอเสริฐถือครองทั้ง บมจ.การบินกรุงเทพ (BA) สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส บมจ. กรุงเทพดุสิตเวชการ (BDMS) บมจ.โรงพยาบาลนนทเวช (NTV) และกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์สนามบินสมุย (SPF) นั้น ล้วนแล้วแต่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายการบินบางกอกแอร์เวย์สที่ต้องหยุดชะงักไปจากมาตรการล็อกดาวน์ ส่วนหุ้นในกลุ่มโรงพยาบาลก็ราคาทรุดลงจากกลุ่มคนไข้ต่างชาติที่หดหายไป ส่งผลให้ปีนี้หมอเสริฐรวยลดลง 16,031.33 ล้านบาท หรือ 24.25% 
เศรษฐีหุ้นอันดับ 3 ยังคงเป็นของ นิติ โอสถานุเคราะห์ นักลงทุนรายใหญ่ ทายาทอาณาจักรโอสถสภา โดยถือครองหุ้นมูลค่ารวม 48,181.64 ล้านบาท ลดลง 431.68 ล้านบาท หรือ 0.89% สำหรับพอร์ตการลงทุนของนิติในปีนี้ ประกอบด้วยหุ้นทั้งหมด 12 บริษัท โดยลงทุนต่อเนื่องจากปีที่แล้วใน 10 บริษัท และมีหุ้นใหม่ในพอร์ตอีก 2 บริษัทที่ลงทุนเพิ่ม
เศรษฐีหุ้นอันดับ 4 ได้แก่ วนรัชต์ ตั้งคารวคุณ ประธานกรรมการกลุ่มบริษัททีโอเอ ทายาทคนโตของอาณาจักรสี TOA ขยับมาอยู่ที่ 4 จากอันดับ 6 เมื่อปีที่แล้ว โดยถือครองหุ้น บมจ.สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น (STARK) และ บมจ. ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) (TOA) รวมมูลค่า 41,213.15 ล้านบาท รวยเพิ่มขึ้น 157.85 ล้านบาท หรือ 0.38% 
เศรษฐีหุ้นอันดับ 5 ได้แก่ เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี หลังจากก้าวเข้ามาติดทำเนียบเศรษฐีหุ้นไทยอันดับ 23 เมื่อปีที่แล้ว รวมมูลค่าหุ้นที่ถือครองทั้งสิ้น 38,178.70 ล้านบาท รวยเพิ่มขึ้น 27,848.13 ล้านบาท หรือ 269.57% จากการนำ บมจ.แอสเสท เวิรด์ คอร์ป (AWC) ซึ่งเป็น Holding Company ที่ถือหุ้นในกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของ "ทีซีซี กรุ๊ป" ทั้งกลุ่มธุรกิจโรงแรม/การบริการ และกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อเดือนตุลาคม 2562
นอกจากนี้ ยังถือหุ้น บมจ.เครือไทย โฮลดิ้งส์ (SEG) ซึ่งเป็น Holding Company ของกลุ่มสิริวัฒนภักดี ลงทุนในธุรกิจประกันชีวิต ประกันภัย และลิสซิ่งอีกด้วย 

เศรษฐีหุ้นอันดับ 6 ดาวนภา เพ็ชรอำไพ เจ้าของ บมจ.เมืองไทยแคปปิตอล (MTC) หรือชื่อเดิมคือ เมืองไทยลิสซิ่ง โดยขยับขึ้นมาอยู่ในอันดับ 6 จากอันดับ 7 เมื่อปีที่แล้ว โดยถือหุ้นมูลค่า 35,460 ล้านบาท ลดลง 5,580 ล้านบาท หรือ 13.60% 
เศรษฐีหุ้นอันดับ 7 ชูชาติ เพ็ชรอำไพ เจ้าของ บมจ.เมืองไทยแคปปิตอล (MTC) หรือชื่อเดิมคือ เมืองไทยลิสซิ่ง ขึ้นจากอันดับ 8 มาอยู่อันดับ 7 โดยถือครองหุ้นรวมมูลค่า 35,277.91 ล้านบาท ลดลง 5,563.30 ล้านบาท หรือ 13.62% 
เศรษฐีหุ้นอันดับ 8 ได้แก่ สมโภชน์ อาหุนัย เจ้าของ บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) กิจการธุรกิจพลังงาน จำหน่ายน้ำมันไบโอดีเซล และจำหน่ายกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ หล่นจากอันดับ 5 เมื่อปีที่แล้ว โดยมีมูลค่าหุ้นที่ถือครองรวม 34,412.43 ล้านบาท ลดลง 7,671.82 ล้านบาท หรือ 18.23% 
เศรษฐีหุ้นอันดับ 9 ได้แก่  คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ขยับขึ้นเช่นเดียวกับเจ้าสัวเจริญ โดยขึ้น จากอันดับ 23 เมื่อปีที่แล้ว มีมูลค่าหุ้นที่ถือครองรวม 28,728.70 ล้านบาท รวยเพิ่มขึ้น 18,398.13 ล้านบาท หรือ 178.09%
เศรษฐีหุ้นอันดับ 10 ได้แก่ ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานกลุ่มบริษัท บี.กริม กลุ่มธุรกิจสัญชาติเยอรมันยักษ์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งเป็นเจ้าแห่งธุรกิจพลังงาน, โรงไฟฟ้า, อุปกรณ์การแพทย์, เครื่องปรับอากาศ, คมนาคม และอสังหาริมทรัพย์ โดยขยับขึ้นจากอันดับ 11 เมื่อปีที่แล้ว จากการถือครองหุ้นมูลค่ารวม 26,798.95 ล้านบาท ลดลง 632.63 ล้านบาท หรือ 2.31%
ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มาตั้งแต่ต้นปี 2563 ทำให้ภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวทรุดตัวลงอย่างหนัก ส่งผลมายังตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 ซึ่งเป็นวันที่ใช้คำนวณมูลค่าความมั่งคั่งของเศรษฐีหุ้นไทยปี 2563 ปรับตัวลงมาอยู่ที่ 1,237.04 จากปี 2562 ที่อยู่ในระดับ 1,637.22 ลดลงถึง 400.18 จุด คิดเป็น 32.35% ทำให้มูลค่าความมั่งคั่งของเศรษฐีหุ้นไทยในปี 2563 ลดลงถึง 140,796 ล้านบาท หรือ 7.09%
อย่างไรก็ตามหลังจากปัจจัยลบต่างๆ ได้คลายตัวลง ทำให้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกผ่านจุดต่ำสุดจากผลกระทบของโควิด-19 ไปแล้ว และเริ่มฟื้นตัวขึ้นหลังการผ่อนคลายมาตรการล๊อคดาวน์ในหลายประเทศ รวมถึงผลการทดลองวัคซีนป้องกันโรคไวรัสโควิด-19 ที่ได้ผลดีและจะมีการนำมาใช้ได้ในปลายปีนี้ ทำให้มีแรงซื้อจากนักลงทุนต่างชาติเข้ามาในตลาดหุ้นเอเชีย รวมถึงตลาดหุ้นไทยที่ดัชนีปรับตัวขึ้นทะลุ 1,400 จุด ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา
หากดัชนีหุ้นไทยยังปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีปัจจัยลบใหม่เข้ามาฉุดรั้ง ความมั่งคั่งในทำเนียบเศรษฐีหุ้นไทยปีหน้าคงฟื้นกลับมาได้อีกอย่างแน่นอน 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เศรษฐีหุ้นไทย 10 อันดับ เศรษฐีหุ้นไทย ปี 2563 เศรษฐีหุ้นไทย 2020

ข่าวและอีเว้นท์การเงินล่าสุด



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)