ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

10 คำถามประกันภัย ไขข้อข้องใจที่คุณต้องรู้

icon 29 ก.พ. 67 icon 27,376
10 คำถามประกันภัย ไขข้อข้องใจที่คุณต้องรู้
ปัจจุบันคนหันมาให้ความสนใจที่จะซื้อประกันชีวิต ประกันสุขภาพกันมากขึ้น เพราะนอกจากจะเป็นตัวช่วยค่ารักษาพยาบาลยามเจ็บป่วย หรือเป็นทุนสำรองให้กับคนข้างหลังหากผู้ทำประกันเสียชีวิต หรือยังได้รับสิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีประจำปีอีกด้วย ซึ่งการทำประกันจะมีทั้งในรูปแบบออนไลน์ หรือการตกลงซื้อประกันภัยโดยตรงกับตัวแทนต่างๆ ซึ่งก่อน หรือหลังจากที่เราตัดสินใจซื้อประกันภัยแล้วยังมีเรื่องอะไรที่เราต้องรู้อีกบ้าง  ตามไปดูกันค่ะ 
 
1. หากซื้อประกันอุบัติเหตุ (PA) มากกว่า 1 กรมธรรม์ สามารถเคลมได้ทุกกรมธรรม์หรือไม่
 
ในกรมธรรม์อุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) ส่วนของค่ารักษาพยาบาลบริษัทจะจ่ายตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง แต่ในส่วนของค่าสินไหมทดแทนมรณกรรม สูญเสียอวัยวะ และทุพพลภาพ หรือค่าชดเชยรายวันกรณีรักษาในโรงพยาบาล ผู้เอาประกันภัยซื้อกี่กรมธรรม์จะสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้ทุกกรมธรรม์

2. การชื้อประกันชีวิตและ/หรือการประกันสุขภาพ มีการชำระเบี้ยประกันภัยล่าช้า บริษัทประกันชีวิตไม่จ่ายค่าสินไหมทดแทน ต้องทำอย่างไร
 
โดยทั่วไปการประกันชีวิตจะมีรูปแบบการชำระเบี้ยประกันภัยตามที่ตกลงไว้กับบริษัทประกันภัย เช่น รายเดือน ราย 3 เดือน ราย 6 เดือน รายปี หรือชำระครั้งเดียว ผู้เอาประกันภัยควรชำระเบี้ยประกันภัยให้ตรงตามเวลาที่กำหนด แต่อย่างไรก็ตาม ในเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันชีวิตจะกำหนดระยะเวลาผ่อนผันการชำระเบี้ยประกันภัยไว้ เช่น 31 วัน 30 วัน (ให้ดูในเงื่อนไขกรมธรรม์) ซึ่งหากมีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในช่วงระยะเวลาดังกล่าว บริษัทประกันภัยก็จะจ่ายผลประโยชน์ให้โดยหักค่าเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ได้ชำระในช่วงระยะเวลาผ่อนผันออก

หากผู้เอาประกันภัยยังไม่ได้ชำระเบี้ยประกันภัยจนพ้นระยะเวลาผ่อนผัน ถ้ากรมธรรม์ประกันชีวิตมีมูลค่ากรมธรรม์แล้ว บริษัทประกันภัยจะกู้ชำระเบี้ยประกันภัยให้โดยอัติโนมัติ เมื่อมีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน บริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนโดยหักเบี้ยประกันภัยที่ค้างทั้งหมดบวกดอกเบี้ย และถ้ากรมธรรม์ประกันชีวิตไม่มีมูลค่ากรมธรรม์ กรมธรรม์จะสิ้นผลบังคับผู้เอาประกันภัยไม่สามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้

3. บริษัทประกันภัยสามารถปฏิเสธการคุ้มครองโรค ภายหลังจาการตรวจร่างกายหรือไม่
 
หากตรวจพบว่าเป็นโรค บริษัทประกันภัยอาจพิจารณารับประกันชีวิตโดยมีการเพิ่มเบี้ยประกันชีวิต หรือไม่รับประกันชีวิตได้

4. การซื้อประกันชีวิตแบบออนไลน์แตกต่างจากการซื้อผ่านตัวแทนประกันชีวิตอย่างไร
 
การซื้อประกันชีวิตแบบออนไลน์ ประชาชนผู้เอาประกันภัยต้องศึกษาแบบประกันชีวิตด้วยตัวเอง ซึ่งเบี้ยประกันภัยจะถูกกว่าซื้อผ่านตัวแทน/นายหน้าประกันชีวิต แต่จะไม่มีผู้ให้บริการที่อำนวยความสะดวกในเรื่องต่างๆ ให้ ซึ่งในประเทศไทยยังไม่ได้เป็นการขายออนไลน์อย่างแท้จริง

5. ในกรณีที่นายหน้าหรือตัวแทนประกันชีวิต ไม่ดำเนินการแจ้งยกเลิกกรมธรรม์ประกันชีวิตของลูกค้าต่อบริษัทประกันภัย ควรทำอย่างไร
 
การยกเลิกกรมธรรม์ประกันชีวิตกับนายหน้าหรือตัวแทนประกันชีวิต ควรเก็บสำเนาหนังสือแจ้งการขอยกเลิก เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันกับบริษัท และสอบถามการดำเนินการจากบริษัทโดยตรง หากบริษัทไม่ได้รับเรื่องหรือผู้เอาประกันภัยไม่มีหลักฐานการขอยกเลิกกรมธรรม์ควรร้องเรียนที่บริษัทก่อน และหากบริษัทไม่ได้ดำเนินการใดๆ ผู้เอาประกันภัยสามารถมาร้องเรียนที่สำนักงาน คปภ. ได้

6. ในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนตัวผู้รับประโยชน์ต้องทำอย่างไร
 
ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยต้องการเปลี่ยนตัวผู้รับประโยชน์ จะต้องแจ้งกับบริษัทประกันภัย แต่ถ้ามีการส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปแล้ว และผู้รับประโยชน์ได้ทำหนังสือแจ้งบริษัทประกันภัยว่าตนจะเป็นผู้รับประโยชน์จากสัญญาประกันชีวิตนั้น เมื่อเกิดกรณีดังกล่าวข้างต้น ผู้เอาประกันภัยย่อมไม่สามารถโอนประโยชน์ใด ๆ ตามสัญญาประกันชีวิตไปยังบุคคลอื่นได้
 
7. บริษัทประกันภัยสามารถบอกยกเลิกการประกันสุขภาพได้หรือไม่
 
สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพเป็นสัญญาปีต่อปี หากบริษัทประกันภัยพบว่าผู้เอาประกันภัยทุจริต หรือแถลงข้อมูลเท็จ บริษัทอาจบอกเลิกได้ทันที และไม่จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้
 
8. การขอยกเลิกกรมธรรม์ประกันชีวิตที่เสนอขายผ่านทางโทรศัพท์ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
 
หากผู้เอาประกันภัยประสงค์จะขอยกเลิกกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ซื้อผ่านทางโทรศัพท์ สามารถแจ้งบริษัทประกันภัยเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมแนบกรมธรรม์ประกันชีวิต และส่งไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงบริษัทที่รับประกันภัย ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับกรมธรรม์ประกันภัย 
 
โดยจะได้รับเบี้ยประกันภัยที่จ่ายไปทั้งหมดคืน อย่างไรก็ดี ในกรณีขอยกเลิกภายหลัง 30 วัน ต้องพิจารณาระยะเวลาที่ขอยกเลิกภายหลัง 30 วันนั้นว่าเกิดขึ้นเมื่อใด ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะได้รับเงินส่วนหนึ่ง เรียกว่า เงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในตารางมูลค่ากรมธรรม์ในกรมธรรม์ ซึ่งคำนวณจากการนำเบี้ยประกันภัยหักค่าคุ้มครองและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานในช่วงเวลาที่ความคุ้มครองเกิดขึ้นแล้ว
 
9. การขอยกเลิกกรมธรรม์ประกันชีวิต ต้องทำอย่างไร
 
การขอยกเลิกกรมธรรม์ประกันชีวิตสามารถทำได้ ซึ่งต้องดำเนินการภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับกรมธรรม์ โดยผู้เอาประกันภัยจะได้รับเบี้ยประกันภัยคืน แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายฉบับละ 500 บาท และค่าตรวจสุขภาพ (ถ้ามี) สำหรับการยกเลิกการทำประกันภัย ผู้เอาประกันภัยต้องส่งหนังสือแจ้งการยกเลิกทำประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยคืนทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงบริษัทโดยตรงในกรณีขอยกเลิกภายหลัง 15 วัน ต้องพิจารณาว่ากรมธรรม์ประกันชีวิต มีเงินค่าเวนคืนหรือยัง ถ้ายังไม่มีจะไม่ได้รับเงินคืนเลย แต่ถ้ามีเงินค่าเวนคืนเกิดขึ้นแล้ว ผู้เอาประกันภัยจะได้รับเงินค่าเวนคืน ซึ่งจะน้อยกว่าเบี้ยประกันภัยที่ส่งไป

10. การทำประกันชีวิตสามารถใช้หักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้เท่าไหร่บ้าง
 
เบี้ยประกันภัยชีวิต และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากรได้ดังนี้
  1. เบี้ยประกันชีวิตสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิต สามารถนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้สูงสุด 100,000 บาท
     
  2. เบี้ยประกันชีวิตสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้ ดังนี้

    ขั้นตอนที่ 1 นำเบี้ยประกันชีวิตรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ใช้หักลดหย่อนภาษีเงินได้ 100,000 บาท

    ขั้นตอนที่ 2 นำเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญที่เหลือจากขั้นที่ 1 ไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมินสูงสุด แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับเงินได้ที่จ่ายเข้ากองทุนเพื่อการเกษียณ อื่นๆ เช่น กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนสงเคราะห์โรงเรียนเอกชน ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
ขอบคุณข้อมูลจาก www.oic.or.th
แท็กที่เกี่ยวข้อง ประกันสุขภาพ ประกันภัย ประกันชีวิต ประกันอุบัติเหตุ
Money Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่

แนะนำ Big bike ล่าสุด

ดูทั้งหมด
Suzuki | Burgman
ซูซูกิ Suzuki Burgman 400 ABS ปี 2024
Honda | Forza
ฮอนด้า Honda Forza 350 Special Edition H2C by Honda ปี 2025
Kawasaki | Ninja
คาวาซากิ Kawasaki-Ninja ZX-6R-ปี 2025
Yamaha | XMAX
ยามาฮ่า Yamaha XMAX Connected ปี 2025
Triumph | Tiger
ไทรอัมพ์ Triumph Tiger Sport 660 ปี 2025
Harley-Davidson | Pan America 1250
ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน Harley-Davidson Pan America 1250 ST ปี 2025
Ducati | Panigale
ดูคาติ Ducati Panigale V2 ปี 2025
Honda | ADV
ฮอนด้า Honda ADV 350 (Standard) ปี 2025



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)