ประกันสุขภาพ - ตัวช่วยค่าใช้จ่าย "ออฟฟิศซินโดรม" ภัยใกล้ตัว พนักงานออฟฟิศ

icon 27 ธ.ค. 66 icon 9,433
ประกันสุขภาพ - ตัวช่วยค่าใช้จ่าย "ออฟฟิศซินโดรม" ภัยใกล้ตัว พนักงานออฟฟิศ
ออฟฟิศซินโดรม ภัยเงียบใกล้ตัวพนักงานออฟฟิศ นั่งทำงานกันทุกวันๆ รู้ตัวอีกทีก็ปวดบ่า คอเคล็ด หันคอไม่ได้ ซึ่งอาการปวดเหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดจากการนั่งผิดท่า ยิ่งถ้านั่งผิดท่าเป็นเวลานาน อาจถึงขั้นปวดเรื้อรังจนถึงขั้นเป็นออฟฟิศซินโดรมเลยก็ว่าได้ หากเป็นออฟฟิศซินโดรมแล้วอาจมีค่าใช้จ่ายอะไรเกิดขึ้นบ้าง แล้วเราจะสามารถหาตัวช่วยอะไรมา Support ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้ ไปดูกันค่ะ 

ค่าใช้จ่ายรักษาออฟฟิศซินโดรม  
 
สำหรับค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม ส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาเชิงกายภาพบำบัด โดยเราจะขอยกตัวอย่าง BEST SELLER 2023 รักษาออฟฟิศซินโดรม ของโรงพยาบาลเปาโล โดยมีรายละเอียดดังนี้
 
รายละเอียด ราคา
รักษาอาการปวดคอ บ่า สะบัก ออฟฟิศซินโดรม 900 บาท/ครั้ง 
(รวมค่าบริการนักกายภาพ และบริการโรงพยาบาล)
รักษาอาการปวดคอ บ่า สะบัก ออฟฟิศซินโดรม 4,900 บาท/ครั้ง
(รวมค่าบริการนักกายภาพ และบริการโรงพยาบาล)
 
บริการประกอบด้วย
  • ประเมินร่างกาย ค้นหาปัญหา สาเหตุของอาการปวด/ เจ็บ โดยนักกายภาพบำบัดที่เชี่ยวชาญในระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
  • รักษาด้วยเครื่องมือทางกายภาพบำบัด ตามอาการที่ตรวจพบ เช่น เครื่อง Ultrasound , Interference Currents Combined, Hot Compress หรือเครื่องมือที่สอดคล้องตามอาการที่ตรวจพบ
  • ให้คำแนะนำ/ สาธิต พร้อมลงมือปฏิบัติในการดูแลตนเองพร้อมกัน การออกกำลังกาย การยืดกล้ามเนื้อ และอื่นๆ การจัดโต๊ะทำงาน การเลือกเก้าอี้ ให้เหมาะสม เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ
จากข้อมูลตัวอย่างจะเห็นได้ว่าค่ารักษาพยาบาลแต่ละครั้งก็มีราคาสูงพอสมควร และโรคออฟฟิศซินโดรมก็เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ในครั้งเดียว ดังนั้น จะดีแค่ไหนหากเรามีตัวค่าใช้จ่ายส่วนนี้คอยรองรับ ซึ่งปัจจุบันบริษัทประกันหลายเจ้าก็ออกแผนประกันสำหรับการรักษาออฟฟิศซินโดรมกันมามากมาย เราจะขอยกตัวอย่างบางส่วนมาให้เพื่อนๆ ได้ลองหาข้อมูลเปรียบเทียบ และตัดสินใจกันนะคะ

ตัวอย่างประกันภัยออฟฟิศซินโดรม
 
1. ประกันภัยออฟฟิศซินโดรม จากกรุงเทพประกันภัย : เพิ่มความอุ่นใจให้คนทำงานออฟฟิศด้วยความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยในกลุ่มโรคออฟฟิศซินโดรม
2. ประกันภัย ออฟฟิศซินโดรม สมาร์ท แคร์ จากธนาคารกรุงไทย : ดูแลชาวออฟฟิศด้วยความคุ้มครอง 14 กลุ่มโรคออฟิศซินโดรม ครอบคลุมค่ารักษาด้วยแพทย์ทางเลือก
  • สมัครง่าย ไม่ต้องตรวจสุขภาพ เพียงตอบคำถามสุขภาพ 3 ข้อ
  • ให้ความคุ้มครองทั้ง IPD และ OPD โรคที่มีสาเหตุจาก Office Syndrome
  • ให้ความคุ้มครองการรักษาแพทย์ทางเลือก
  • มีผลประโยชน์ชดเชยเงินเป็นรายวันจากอุบัติเหตุและการเจ็บป่วย
  • ซื้อได้ที่ช่องทาง Krungthai Next และธนาคารกรุงไทย ทุกสาขา
 
ก่อนจะมาถึงขั้นตอนการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม เราชาวพนักงานออฟฟิศควรตระหนักอยู่เสมอว่า โรคนี้เป็นภัยเงียบ หากไม่อยากต้องรักษากันต่อเนื่องยาวนาน ก็ควรปรับพฤติกรรมเวลานั่งทำงาน เปลี่ยนอริยาบถบ่อยๆ เป็นวิธีที่จะช่วยลด และป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อที่ต้องใช้งานซ้ำๆ ตลอดเวลาได้ และที่สำคัญควรหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
 
ทั้งนี้ เราอาจเตรียมพร้อมด้วยการซื้อประกันสุขภาพตั้งแต่ที่เรายังมีสุขภาพแข็งแรง เพื่อที่จะได้รับความคุ้มครองได้อย่างเต็มที่ เพราะหากมีการเจ็บป่วยเกิดขึ้นแล้วจะไม่สามารถซื้อประกันภัยเพื่อคุ้มครองโรคที่เกิดขึ้นไปแล้วได้นะคะ 
 
สอบถามข้อมูลความรู้เรื่องสินเชื่อเพิ่มเติม ทักมาพูดคุยกับ GURU ได้ที่นี่!! https://page.line.me/uht3147t
แท็กที่เกี่ยวข้อง ประกันสุขภาพ ออฟฟิศซินโดรม ค่ารักษาออฟฟิศซินโดรม แผนประกันออฟฟิศซินโดรม
Money Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)