ผู้สูงวัยทำประกันสุขภาพแบบไหนดี

icon 8 พ.ย. 66 icon 2,023
ผู้สูงวัยทำประกันสุขภาพแบบไหนดี
การทำประกันสุขภาพหรือประกันชีวิต กลายเป็นเรื่องจำเป็นไม่น้อยเลย เพราะในปัจจุบันมีโรคภัยไข้เจ็บเยอะไปหมด และยังช่วยให้เบาใจเรื่องค่ารักษาพยาบาลอีกด้วย หากเป็นประกันชีวิต เมื่อเกิดเรื่องไม่คาดฝัน คนในครอบครัวหรือคนข้างหลังก็สามารถใช้ชีวิตต่อไปได้อย่างไม่ลำบาก พูดถึงในมุมของผู้สูงวัย หรือวัย 50+ 60+ 70+ วัยนี้เริ่มเข้าสู่ช่วงเกษียณอายุ โรคภัยไข้เจ็บเริ่มถามหา หากวัยนี้จะซื้อประกันบ้าง ต้องเลือกแบบไหนดี เงื่อนไขประกันจะต่างจากวัยอื่น ๆ หรือเปล่า ผู้สูงวัยคนไหนหรือใครอยากซื้อประกันให้คุณพ่อคุณแม่ ไปทำความเข้าใจเบื้องต้นกันค่ะ
ประกันของผู้สูงอายุต่างจากวัยอื่นอย่างไร
1. ประกันชีวิตผู้สูงอายุจะรับประกันภัยบุคคลอายุตั้งแต่ 50 - 70 ปี โดยจะคุ้มครองยาว ๆ ไปจนถึงอายุ 90 ปี หรือตลอดชีพ 
2. ประกันชีวิตทั่วไป ส่วนใหญ่ต้องตรวจสุขภาพ แต่ประกันผู้สูงอายุไม่ต้องตรวจสุขภาพ ไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพใด ๆ
 
ประกันผู้สูงอายุคุ้มครองอย่างไร
จะแบ่งความคุ้มครองออกเป็น 2 กรณี คือ กรณีครบกำหนดสัญญาแล้วยังมีชีวิตอยู่ และกรณีเสียชีวิต

1. ประกันชีวิตผู้สูงอายุให้ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต 3 กรณี คือ
  • เสียชีวิตทุกกรณีในระหว่าง 2 ปีแรก บริษัทประกันจะจ่ายเบี้ยประกันภัยที่ชำระมาแล้ว พร้อมเงินเพิ่มพิเศษของเบี้ยประกันภัยที่ชำระมาแล้ว โดยปกติจะอยู่ที่ 1% - 5% ของเบี้ยประกันภัยที่ชำระมาแล้ว
  • เสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุในระหว่าง 2 ปีแรก บริษัทประกันจะจ่ายเพิ่มเติมจากข้อ 1. อีกเป็นจำนวนเท่ากับ 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
  • เสียชีวิตทุกกรณีไม่ว่าจะเสียชีวิตจากอุบัติเหตุหรือจากโรคภัยไข้เจ็บตั้งแต่ปีกรมธรรม์ที่ 3 เป็นต้นไป บริษัทประกันจะจ่ายผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ โดยปกติแล้วมักจะมากกว่าหรือเท่ากับ 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
2. สำหรับผลประโยชน์กรณีมีชีวิตอยู่แบ่งเป็น 2 กรณี คือ
  • มีชีวิตอยู่ระหว่างสัญญา อาจจะได้รับหรือไม่ได้รับเงินคืนระหว่างสัญญา ขึ้นอยู่กับความคุ้มครองของแบบประกันนั้นๆ
  • มีชีวิตอยู่ ณ วันครบกำหนดสัญญารับผลประโยชน์มากกว่าหรือเท่ากับ 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
ผู้สูงอายุควรเลือกประกันแบบไหน
1. ประกันชีวิตแบบเน้นความคุ้มครอง
บริษัทประกันจะจ่ายเงินต่อเมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตเท่านั้น เช่น ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ แต่ทำประกันสุขภาพหรือประกันอุบัติเหตุเป็นสัญญาเพิ่มเติม ก็จะได้ความคุ้มครองเรื่องค่ารักษาเมื่อผู้สูงอายุเข้าโรงพยาบาลด้วย

2. ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์
ประกันแบบออมเงินที่จะให้เงินปันผลคืนตามสัญญาที่ระบุไว้ เช่น 5 ปี 10 ปี หรือเมื่อครบกำหนดสัญญาเเล้วผู้สูงอายุยังเเข็งเเรง ก็จะได้รับเงินคืนตามสัญญาเช่นกัน ส่วนในกรณีที่ผู้สูงอายุเสียชีวิตภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดก็จะได้รับเงินก้อนเป็นมรดกส่งต่อให้ลูกหลานที่เป็นผู้รับผลประโยชน์
 
ประกันชีวิตผู้สูงอายุมีระยะเวลารอคอย
ประกันชีวิตผู้สูงอายุเน้นจุดขายเรื่องไม่ต้องตรวจสุขภาพ แต่ก็มักพ่วงเงื่อนไขเรื่อง “ระยะเวลารอคอย” ส่วนใหญ่จะกำหนดไว้ประมาณ 1-2 ปี นับจากวันที่กรมธรรม์อนุมัติ 
 
ซื้อประกันให้คุณพ่อคุณแม่สูงวัยดีมั้ย
สามารถซื้อได้ทั้งแบบประกันทั่วไปและแบบประกันผู้สูงอายุผซึ่งประกันที่ซื้อให้คุณพ่อคุณแม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ด้วย แต่จะต้องเป็นประกันสุขภาพเท่านั้น ลดหย่อนได้สูงสุด 15,000 บาทต่อปี แต่ก็มีเงื่อนไขเพิ่มเติมนะคะ คือ
 
1. เป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมาย
2. พ่อแม่ต้องมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท
3. ผู้ขอลดหย่อนหรือพ่อแม่คนใดคนหนึ่งต้องอยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันในปีนั้น ๆ 

ต้องบอกว่าประกันของผู้สูงอายุจะมีรายละเอียดยิบย่อยจากประกันของวัยอื่น ๆ นิดหน่อยนะคะ ดังนั้นก่อนที่เราจะตัดสินใจซื้อ ต้องอ่านข้อมูลกรมธรรม์ รายละเอียดเบี้ยประกัน ความคุ้มครองต่าง ๆ ไปจนถึงระยะเวลารอคอยด้วยนะคะ ไปดูข้อมูลกันแบบละเอียดเพิ่มเติม คลิก อยากซื้อประกันให้พ่อแม่สูงวัย ควรซื้ออย่างไร และต้องระวังอะไรบ้าง
 
yes ขอบคุณข้อมูล : Krungsri, Tokiomarine, ไทยสมุทร
แท็กที่เกี่ยวข้อง ประกันสุขภาพ ทำประกันสุขภาพ ซื้อประกันสุขภาพ ประกันสุขภาพผู้สูงอายุ ประกันสุขภาพผู้อาวุโส ประกันสุขภาพวัยเกษียณ
Money Guru
เขียนโดย ชไมพร มีศิริ Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)