ลดหย่อนภาษีด้วยประกันชีวิต vs. SSF / RMF แบบไหนเหมาะกับเรา

icon 23 พ.ค. 66 icon 5,905
ลดหย่อนภาษีด้วยประกันชีวิต vs. SSF / RMF แบบไหนเหมาะกับเรา
สำหรับคนที่ซื้อประกัน ทั้งประกันชีวิตและประกันสุขภาพ เข้าปลายปีทีไร ก็ถึงเวลาของ Tax season เป็นช่วงเวลาที่เราจะต้องมานั่งคิดคำนวนแล้วว่า รายได้ทั้งปีของเรานั้นจะต้องเสียภาษีเท่าไหร่ เสียเพิ่มมั้ย มีตัวช่วยอะไรที่จะประหยัดหรือลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมได้บ้างมั้ย 

ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนว่า มีตัวเลือกอะไรบ้างที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้บ้าง ในแง่สิทธิลดหย่อนภาษีประเภทการออม และการลงทุน ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ในส่วนของประกันชีวิต และในส่วนของกองทุน
 
 
ในส่วนของประกันชีวิต

ค่าเบี้ยประกันชีวิตและประกันสะสมทรัพย์

กรมธรรม์ประกันชีวิตต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป สามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิต ประกันสะสมทรัพย์จากกรมธรรม์ทุกฉบับ มาใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

กรณีทำประกันชีวิตให้คู่สมรสที่ไม่มีรายได้ สามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรสมาใช้ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

หมายเหตุ : หากมีการเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปี จะไม่สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้อีกและจะต้องเสียภาษีส่วนต่างพร้อมดอกเบี้ยทางภาษีย้อนหลังเพิ่มเติมด้วย หากในอดีตเคยใช้สิทธิค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตจากกรมธรรม์นั้นไปแล้ว

ค่าเบี้ยประกันสุขภาพของตนเอง
ใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงแต่สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาทต่อปี เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปต้องไม่เกิน 100,000 บาท
 
ค่าเบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดา

ค่าเบี้ยประกันสุขภาพทั้งของบิดามารดาตนเองและบิดามารดาของคู่สมรส (กรณีคู่สมรสไม่มีรายได้) ใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงแต่รวมกันสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาทต่อปี
 
บิดามารดาทั้งของตนเองและของคู่สมรสต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี แต่ไม่จำเป็นต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป
 
ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ

ใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี และรวมกันกับ RMF กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กบข. แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท 

กรณีที่ยังไม่ได้ใช้สิทธิเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป ประกันบำนาญสามารถลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บาทต่อปี 
 
ในส่วนของกองทุน

กองทุนรวมเพื่อการออม (Super Saving Funds: SSF) ใช้ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท 

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund: RMF) ใช้ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

ทั้ง SSF, RMF, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันบำนาญ กบข. รวมกันทั้งหมดลดหย่อนได้ไม่เกิน 500,000 บาท

สำคัญ!!! ใครที่ซื้อกองทุน SSF/RMF เพื่อลดหย่อนภาษีไว้ อย่าลืมไปลงทะเบียนขอลดหย่อนภาษีกับ บลจ. ที่ซื้อไว้ มิเช่นนั้น จะเอายอดไปลดหย่อนภาษีไม่ได้นะคะ (ดูเพิ่มเติม...สรุปพิกัด...แจ้งสิทธิขอลดหย่อนภาษี SSF / RMF และประกันภัย จะทำตรงไหน ยังไงได้บ้าง เช็กเลย!)
 
แล้วเราจะเลือกอะไรดี ที่นำมาลดหย่อนภาษีระหว่างประกันหรือกองทุน

จริงๆ แล้วไม่มีใครจะกำหนดให้ได้ว่าต้องซื้อประกัน หรือกองทุนแบบไหนเท่าไหร่ดี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการออมเงินของแต่ละคน ความชอบส่วนตัวหรือไลฟ์สไตล์ก็มีส่วนที่การตัดสินใจ  ซึ่งทั้งประกันและกองทุน จำเป็นต้องถือยาวตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปเหมือนกัน

วันนี้เลยขอแนะนำสรุปข้อดีข้อเสีย หรือความเหมาะสมในการเลือกตัวเลือกเพื่อลดหย่อนภาษีเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจกันค่ะ
กองทุน SSF, RMF ที่น่าสนใจ  เช่น
 
  • กองทุนเสี่ยงสูง เช่น KFGGSSF, KFGGRMF กระจายในหุ้นทั่วโลก SCBVIET(SSF), KVIETNAMRMF ลงทุนในหุ้นเวียดนาม B-INNOTECHSSF B-INNOTECHRMF ลงทุนในหุ้นเทคโนโลยี
  • กองทุนเสี่ยงกลาง เช่น PRINICIPAL iPROPEN-SSF B-IR-FOFRMF ที่ลงทุนในกลุ่มกุ้นอสังหาริมทรัพย์ KTMEE-SSF KGARMF เป็นสินทรัพย์ผสม
  • กองทุนเสี่ยงต่ำ เช่น UGIS-SSF UGISRMF ลงทุนในตราสารหนี้โลก K-FIXEDPLUS-SSF KFIRMF ลงทุนในตราสารหนี้ไทย
แนะนำสำหรับคนที่มีรายได้ต่อเดือน 50,000 บาทขึ้นไป ก็สามารถซื้อประกันหรือกองทุนไว้ลดหย่อนภาษีได้ แต่อาจจะไม่ต้องซื้อในจำนวนมาก ยกตัวอย่าง นาย เอ อายุ 30 ปี เงินเดือน 55,000 บาท นาย เอ อาจจะแบ่ง 5% ของเงินเดือน ประมาณ 2,750 บาท มาซื้อ SSF ได้ในลักษณะ DCA เฉลี่ยซื้อในทุกๆเดือน รวมทั้งปี คือ 33,000 บาท ซึ่งจะทำให้นาย เอ ประหยัดภาษีได้เพิ่มขึ้นประมาณ 3,300 บาทต่อปี 

ทั้งนี้ จำนวนเงินในการซื้อ ขึ้นอยู่กับสัดส่วนการใช้ และการเก็บออมของแต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกัน บริหารการเงินให้ดี เราจะได้ทั้งเงินออมเพื่ออนาคต และประหยัดภาษีได้อีกด้วยค่ะ
แท็กที่เกี่ยวข้อง ประกันสุขภาพ ลดหย่อนภาษี กองทุน rmf วางแผนภาษี กองทุน SSF ค่าเบี้ยประกันภัย การวางแผนการเงิน วางแผนภาษีฉบับมนุษย์เงินเดือน บทความประกันภัย 2565
Money Guru
เขียนโดย คุณป้อ (ประกันเข้าใจง่าย) Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)