วางแผนภาษีฉบับมนุษย์เงินเดือน ทำไมถึงต้องทำประกันชีวิต?

icon 14 ก.ย. 65 icon 3,529
วางแผนภาษีฉบับมนุษย์เงินเดือน ทำไมถึงต้องทำประกันชีวิต?
สำหรับมนุษย์เงินเดือน พนักงานที่มีรายได้ประจำ หรืออาชีพอิสระอื่นๆ พลาดไม่ได้เลยที่จะต้องวางแผนภาษีกันนะคะ หากคุณมีรายได้ (ทั้งเงินเดือนประจำและรายได้ฟรีแลนซ์อื่นๆ) เกินประมาณ 26,583 บาทต่อเดือนในแต่ละปีแล้ว จะเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีนั้นๆ โดยต้องจ่ายภาษีตามระยะเวลาที่กำหนด  สำหรับคนที่มีฐานภาษีสูงๆ แนะนำให้วางแผนหาตัวช่วยลดหย่อนภาษี ประโยชน์ส่วนหนึ่งคือได้ประหยัดภาษีเพิ่มขึ้น อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือการวางแผนการเงินที่ดี และมีการออมเงินเพิ่มมากขึ้นค่ะ 
 

ถ้าลองดูรายได้กับตัวเลือกลดหย่อน แนะนำเบื้องต้นได้ดังนี้

  • รายได้อยู่ในระดับต่ำกว่า 310,000 บาทต่อปี ไม่ต้องเสียภาษีเพิ่มเติม

  • รายได้เฉลี่ยต่อปี 310,000 – 1ล้านบาท แนะนำการซื้อประกันชีวิตและประกันสุขภาพ 

  • รายได้ตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป อาจจะต้องพิจารณาเพิ่มการซื้อประกันบำนาญ หรือ กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เพื่อให้ได้สิทธิในการลดหย่อนภาษีที่มากขึ้นกว่าเดิม 

ในบทความนี้ เราจะมาเจาะลึกถึงการลดหย่อนภาษีด้วยประกันชีวิตและประกันสุขภาพกันค่ะ

สำหรับประกันชีวิต เราสามารถซื้อได้สูงสุดของการลดหย่อนภาษีคือ 100,000 บาทต่อปี ทั้งนี้หากเรามีการซื้อประกันสุขภาพด้วย จะสามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 25,000 บาท แต่เมื่อรวมกับประกันชีวิตแล้วจะลดหย่อนรวมกันได้ไม่เกิน 100,000 บาทเช่นกันค่ะ

โดยเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญที่ทำให้ตัวเอง ก็จะสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุดอีกไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี

ตารางสิทธิลดหย่อนภาษีของประกันชีวิต

 

วิธีคำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ขั้นตอนแรก หาเงินได้สุทธิก่อน จากสูตรนี้

เงินได้สุทธิ = รายได้ (ทั้งปี) - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน
 
จากนั้น นำเงินได้สุทธิ มาคำนวนกับอัตราภาษีแบบขั้นบันได ก็จะได้ภาษีที่ต้องจ่าย
 
เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย
 

การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบบอัตราภาษีแบบขั้นบันได

 

จะเห็นว่า ยิ่งมีรายได้สูงเท่าไหร่ ภาษีจะมากขึ้นตามขั้นอัตราภาษี

วิธีคิดง่ายๆ ในการประหยัดภาษีคือ การทำให้ขั้นภาษีของเราอยู่ในอัตราที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ เราจะได้เสียภาษีน้อยลง โดยการหาค่าใช้จ่าย หรือค่าลดหย่อน มาหักออกจากรายได้ทั้งปี นั่นเองค่ะ

เงินได้สุทธิ = รายได้ (ทั้งปี) - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน
 
ลองคำนวนว่า เราควรซื้อประกันชีวิตที่เท่าไหร่ ถึงจะพอดีกับการลดหย่อนภาษี

ก่อนวางแผน

คุณเอ มีรายได้ปีละ 550,000 บาท

หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 100,000 บาท หักค่าลดหย่อนผู้มีเงินได้ 60,000 บาท 

คุณเอ จะตกอยู่ในภาษีขั้นที่ 3 และจะต้องเสียภาษีรวมทั้งหมด 16,500 บาท

         ค่าใช้จ่าย                ผู้มีเงินได้

เงินได้สุทธิ    = 550,000 – (100,000) – (60,000)

= 390,000 บาท

เงินได้สุทธิ (บาท) เงินได้สุทธิจำนวนสูงสุดของขั้น อัตราภาษี ภาษีสูงสุดในแต่ละขั้นเงินได้ ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น
1 - 150,000 150,000 ยกเว้น ยกเว้น 0
150,001 - 300,000 150,000 5% 7,500 7,500
300,001 - 500,000 90,000 10% 9,000 16,500

หลังวางแผน

คุณเอ มีการซื้อประกันชีวิตเพิ่ม จำนวน 100,000 บาท เต็มแม็กซ์ที่จะซื้อได้ สามารถทำไปหักเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้

เมื่อลองคำนวนใหม่ คุณเอจะตกอยู่ในภาษีขั้นที่ 2 และจะเสียภาษีน้อยลงจากเดิม 9,500 บาท

          ค่าใช้จ่าย                ผู้มีเงินได้            ประกันชีวิต

เงินได้สุทธิ    = 550,000 – (100,000) – (60,000) - (100,000)

= 290,000 บาท

เงินได้สุทธิ (บาท) เงินได้สุทธิจำนวนสูงสุดของขั้น อัตราภาษี ภาษีสูงสุดในแต่ละขั้นเงินได้ ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น
1 - 150,000 150,000 ยกเว้น ยกเว้น 0
150,001 - 300,000 140,000 5% 7,000 7,000
 

กูรูป้อบอก Tips  เราไม่จำเป็นต้องซื้อประกันหรือกองทุนเพื่อลดหย่อนภาษีมากจนทำให้ได้คืนภาษีเยอะๆ แต่ซื้อให้เพียงพอกับการที่ไม่ต้องเสียภาษีเพิ่มก็เพียงพอแล้ว 

ข้อดีของการวางแผนลดหย่อนภาษี

  1. ช่วยในการวางแผนการออม การลงทุน เพิ่มความมั่นคง และมั่งคั่งให้ชีวิตมากขึ้น เช่น จากการที่เราทำประกันชีวิต นอกจากจะได้ลดหย่อนภาษีแล้ว ยังได้รับความคุ้มครองชีวิตเป็นมรดกอีกด้วย

  2. ช่วยให้เราไม่พลาดที่จะใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ควรได้รับ เช่น รัฐออกแคมเปญช้อปดีมีคืน ถ้าเรามีฐานภาษีสูงๆ และมีการใช้จ่ายอยู่แล้ว การขอใบกำกับภาษีเพื่อนำมาลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม จะมีประโยชน์มากขึ้น

  3. ป้องกันและลดความเสี่ยงเรื่องค่าปรับ หากชำระภาษีได้อย่างถูกต้องครบถ้วน


จากทั้งหมดที่กล่าวมา การวางแผนภาษีค่อนข้างมีความสำคัญกับคนมีรายได้ เพราะนอกจากจะช่วยให้เราประหยัดภาษีได้แล้ว ยังเป็นตัวช่วยในการเก็บออมเงินในระยะยาวได้ดีอีกด้วย ดังนั้น ใกล้ปลายปีอีกแล้ว เราเริ่มวางแผนภาษีกันเถอะ ก่อนจะสายเกินไปค่ะ ?

แท็กที่เกี่ยวข้อง มนุษย์เงินเดือน ภาษี ประกันชีวิต วางแผนภาษีฉบับมนุษย์เงินเดือน
Money Guru
เขียนโดย คุณป้อ (ประกันเข้าใจง่าย) Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)