ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

แจกโพย "รู้ทันบัญชีเงินฝาก"

icon 18 ส.ค. 65 icon 5,000
แจกโพย "รู้ทันบัญชีเงินฝาก"
บัญชีเงินฝากเป็นช่องทางการออมที่อยู่คู่กับเรามาเนิ่นนาน จนทำให้หลายคนมองข้ามความสำคัญของเงื่อนไขต่างๆ กันไป ซึ่งปัจจุบันการฝากเงินในบัญชีเงินฝากก็มีเงื่อนไขต่างๆ เพิ่มขึ้น ทั้งเงื่อนไขที่เราอาจจะมองข้ามไป หรือเงื่อนไขที่ธนาคารอาจจะไม่ได้บอกเราทั้งหมด วันนี้ เราได้รวบรวมเงื่อนไขบัญชีเงินฝากที่ควรรู้ มาฝากกันค่ะ กับ แจกโพย "รู้ทันบัญชีเงินฝาก" จะมีอะไรบ้าง เราทราบกันแล้วหรือไม่ หรือมีเรื่องอะไรที่เราเข้าใจผิดอยู่บ้าง ตามมาดูพร้อมๆ กันเลยค่ะ 
 
1. ถอนเงินเป็นศูนย์ ไม่ใช่การปิดบัญชี 
 
หลายๆ คนอาจจะเข้าใจว่า เมื่อเราไม่ต้องการใช้บัญชีเงินฝากเล่มนี้เราก็แค่ถอนเงินออกมาเป็นศูนย์บาท ก็เท่ากับเราปิดบัญชีเงินฝากเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดค่ะ เพราะโดยทั่วไปการฝากเงินในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยให้ผู้ฝากทุกวัน แต่จะจ่ายดอกเบี้ยให้ผู้ฝากปีละ 2 ครั้ง คือ ในเดือนมิถุนายน และธันวาคม ซึ่งดอกเบี้ยที่ได้รับในแต่ละงวด หากไม่มีการถอนเงินออกมา ก็จะมารวมเป็นเงินต้นสำหรับคิดดอกเบี้ยในแต่ละวันต่อไปด้วย 

ดังนั้น…ในความเป็นจริงของการฝากเงิน ตัวอย่างเช่น "บัญชีเงินฝากออมทรัพย์" 
  • ธนาคารจะมีการคิดคำนวณดอกเบี้ยให้ทุกวันตามยอดคงเหลือรายวัน แต่ธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยให้ผู้ฝากเมื่อถึงกำหนด คือ สิ้นเดือนมิถุนายน และสิ้นเดือนธันวาคมของทุกปี 
  • หากผู้ฝากถอนเงินเป็นศูนย์บาท ณ วันที่ 31 ตุลาคม ก็จะมีดอกเบี้ยคงค้างที่จะได้รับจากยอดเงินฝาก (ครึ่งปีหลัง) ก่อนหน้าการถอนเงิน คือ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม - 30 ตุลาคม ซึ่งธนาคารจะมีการคำนวณเก็บไว้ในระบบ เพื่อรอจ่ายตอนปลายปี (เดือนธันวาคม) อีกครั้งหนึ่ง 
  • สรุปจากกรณีตัวอย่าง การถอนเงินเป็นศูนย์บาท ก็ไม่เท่ากับการปิดบัญชีนะคะ เพราะสิ้นปีผู้ฝากจะได้รับดอกเบี้ยคงค้างโอนเข้าบัญชีมาอีก
หากต้องการปิดบัญชีเงินฝากจริงๆ สิ่งที่เราควรทำ คือ ต้องแจ้งความประสงค์กับพนักงานว่าเราต้องการปิดบัญชีเงินฝากเล่มนี้ ธนาคารจะคำนวณดอกเบี้ยคงค้างที่เหลือให้เราพร้อมกับถอนยอดเงินต้นในบัญชีทั้งหมดค่ะ 
 
2. บัญชีเงินฝากไม่เคลื่อนไหวเกิน 1 ปี ธนาคารจะปิดบัญชีนั้นทันที
 
สำหรับกรณีบัญชีเงินฝากไม่เคลื่อนไหว แต่ยังมียอดเงินฝากคงเหลือในบัญชีอยู่ ธนาคารจะไม่ได้ทำการปิดบัญชีเงินฝากนั้นทันที แต่จะมีเงื่อนไขการเก็บค่าธรรมเนียมรักษาบัญชีเงินฝาก เช่น ตัวอย่างค่าธรรมเนียมของธนาคารกรุงเทพ ธนาคารจะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมรักษาบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ 50 บาท/เดือน สำหรับบัญชีเงินฝากที่มียอดเงินคงเหลือต่ำกว่า 2,000 บาท และไม่เคลื่อนไหวตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป เป็นต้น 
 
ซึ่งสามารถสรุปได้เป็น 2 กรณี คือ

2.1 กรณีที่มียอดเงินฝากคงเหลือในบัญชีเกินยอดเงินฝากที่ธนาคารกำหนด เช่น มากกว่า 2,000 บาท ธนาคารจะไม่เก็บค่าธรรมเนียมรักษาบัญชี  และเมื่อเราต้องการใช้เงินก็สามารถนำสมุดบัญชีไปถอนเงินมาใช้ได้ตามปกติค่ะ 
 
2.2 กรณีมียอดเงินฝากคงเหลือน้อยกว่าที่ธนาคารกำหนด ธนาคารจะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการรักษาบัญชี เช่น 
  • บัญชีเงินฝากออมทรัพย์เล่มหนึ่ง มียอดเงินฝากคงเหลือในบัญชี 200 บาท 
  • เมื่อบัญชีไม่มีการเคลื่อนไหวเกิน 12 เดือน หรือตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ในเดือนที่ 13 ธนาคารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมรักษาบัญชีเงินฝาก เดือนละ 50 บาท 
  • เมื่อลูกค้ามีทำการเคลื่อนไหวบัญชีเงินฝาก ธนาคารก็จะระงับการเก็บค่าธรรมเนียมรักษาบัญชีในเดือนถัดไป และสามารถใช้บัญชีเงินฝากได้ตามปกติ
  • หากลูกค้ายังไม่การเคลื่อนไหวบัญชี ธนาคารก็จะหักค่าธรรมเนียมไปทุกเดือน และเมื่อยอดเงินคงเหลือในบัญชีเป็นศูนย์บาท ธนาคารถึงจะทำการปิดบัญชีเล่มนั้นค่ะ 
*ยอดเงินฝากคงเหลือขั้นต่ำ 2,000 บาทเป็นเพียงการยกตัวอย่างเท่านั้น แต่ละธนาคารอาจจะกำหนดยอดเงินฝากขั้นต่ำไม่เท่ากัน โปรดสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากธนาคารที่ใช้บริการอีกครั้ง
 
3. สมุดบัญชีเงินฝากหาย ต้องแจ้งความ และไปทำใหม่ที่สาขาที่เปิดบัญชีเท่านั้น 
 
 
สำหรับกรณี "สมุดบัญชีเงินฝากหาย" จากที่เราเคยทราบเงื่อนไขกันมา คือเจ้าของบัญชีต้องไปแจ้งความที่สถานีตำรวจในท้องที่เพื่อนำเอกสารใบแจ้งความ พร้อมบัตรประชาชนไปดำเนินการขอออกสมุดคู่ฝากเล่มใหม่ที่ธนาคารสาขาที่เปิดบัญชีไว้ และเสียค่าธรรมเนียมในการออกสมุดคู่ฝากเล่มใหม่ 50 - 100 บาท แล้วแต่ข้อกำหนดของธนาคารนั้นๆ 
 
ซึ่งการที่เจ้าของบัญชีต้องแจ้งความ และต้องไปดำเนินการที่สาขาที่เปิดบัญชี ก็เพื่อเป็นการยืนยันตัวตนว่าเป็นเจ้าของบัญชีตัวจริง เพราะเจ้าหน้าที่ธนาคารสาขาที่เปิดบัญชีย่อมสามารถพิสูจน์ตัวตนของลูกค้าได้ง่ายกว่า 

แต่ปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยี และการเชื่อมต่อของระบบต่างๆ ก็มีบางธนาคารที่เราสามารถขอออกสมุดคู่ฝากเล่มใหม่ต่างสาขาได้ โดยที่ไม่ต้องใช้เอกสารแจ้งความ ใช้เพียงบัตรประชาชนใบเดียว และชำระค่าธรรมเนียมการออกสมุดคู่ฝาก ก็จะได้รับสมุดคู่ฝากเล่มใหม่แล้วค่ะ เช่น ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นต้น 
 
4. บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ฝากเท่าไหร่ก็ได้ ไม่ต้องเสียภาษีดอกเบี้ยรับ
 
ตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร คือ คนที่ได้รับดอกเบี้ยจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์รวมกันทุกธนาคารไม่เกิน 20,000 บาท จะได้รับสิทธิ์ในการยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% แต่จะต้องยินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูลดอกเบี้ยให้กรมสรรพากร หากไม่ยินยอมก็จะหมดสิทธิ์ในการรับการยกเว้นภาษีดังกล่าว
  • เมื่อได้รับดอกเบี้ยจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์รวมทุกบัญชีจากธนาคารแห่งเดียวกันเกิน 20,000 บาทในปีภาษีนั้น ธนาคารมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย 15% และนำส่งกรมสรรพากร
  • หากมีการฝากออมทรัพย์หลายธนาคาร และมีดอกเบี้ยรับรวมกันทุกแห่งเกินกว่า 20,000 บาท ในปีภาษีนั้น ผู้ฝากมีหน้าที่แจ้งแก่ธนาคารผู้จ่ายดอกเบี้ย เพื่อให้ดำเนินการหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งกรมสรรพากร
     

สำหรับการฝากเงินไว้ในบัญชีเงินฝากประเภทต่างๆ ถึงจะไม่ได้มีความเสี่ยงมากเหมือนกับการลงทุน ในหุ้น หรือกองทุน แต่เราก็ควรศึกษาเงื่อนไข ข้อกำหนดต่างๆ เพราะหากเกิดปัญหา หรือข้อสงสัยอะไร ก็จะได้หาแนวทางแก้ไขที่ถูกต้องได้นะคะheart
แท็กที่เกี่ยวข้อง บัญชีเงินฝาก รู้ทันบัญชีเงินฝาก บทความบัญชีเงินฝาก เงื่อนไขบัญชีเงินฝาก บัญชีเงินฝากน่ารู้ การปิดบัญชีเงินฝาก สมุดบัญชีเงินฝากหาย การเสียภาษีดอกเบี้ย
Money Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่

แนะนำ Big bike ล่าสุด

ดูทั้งหมด
Suzuki | Burgman
ซูซูกิ Suzuki Burgman 400 ABS ปี 2024
Honda | Forza
ฮอนด้า Honda Forza 350 Special Edition H2C by Honda ปี 2025
Kawasaki | Ninja
คาวาซากิ Kawasaki Ninja ZX-6R ปี 2025
Yamaha | XMAX
ยามาฮ่า Yamaha XMAX Connected ปี 2025
Triumph | Tiger
ไทรอัมพ์ Triumph Tiger Sport 660 ปี 2025
Harley-Davidson | Pan America 1250
ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน Harley-Davidson Pan America 1250 ST ปี 2025
Ducati | Panigale
ดูคาติ Ducati Panigale V2 ปี 2025
Honda | ADV
ฮอนด้า Honda ADV 350 (Standard) ปี 2025



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)