ประกันโรคร้ายแรงจำเป็นต้องทำหรือไม่ ถ้ามีประกันสุขภาพอยู่แล้ว

icon 23 พ.ค. 66 icon 3,720
ประกันโรคร้ายแรงจำเป็นต้องทำหรือไม่ ถ้ามีประกันสุขภาพอยู่แล้ว
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า ประกันสุขภาพ และประกันโรคร้ายแรงนั้นแตกต่างกันนะคะ ถึงแม้จะเป็นเรื่องประกันที่เกี่ยวกับสุขภาพเหมือนกัน แต่การเคลม หรือรูปแบบความคุ้มครองจะแตกต่างกันชัดเจนเลยค่ะ
 
ประกันสุขภาพ คือ ประกันที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลครอบคลุมและคุ้มครองโรคทั่วไป โรคร้ายแรง และอุบัติเหตุต่างๆ เช่น ไข้หวัด กระเพาะ ลำไส้อักเสบ (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแบบประกันสุขภาพที่ทำ) เคลมค่ารักษาได้ตามที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งจะครอบคลุมเรื่องค่าห้อง ค่าพยาบาล ค่าแพทย์ ค่าผ่าตัด และอื่นๆ โดยขึ้นอยู่กับวงเงินที่เราทำเอาไว้ ถ้าเกินวงเงิน เราจะต้องรับผิดชอบเองค่ะ

เบี้ยประกัน ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย 1 ล้านบาท ของผู้ชายอายุ 30 ปี จะอยู่ที่ประมาณ 15,000 บาท ต่อปี จ่ายทิ้ง
 
ส่วนประกันโรคร้ายแรง จะมีลักษณะเป็นเงินชดเชย ซึ่งจะจ่ายเป็นเงินก้อนเมื่อเราตรวจเจอโรคร้ายตามแบบและเงื่อนไขประกันที่เราได้ทำเอาไว้ เช่น เราได้ทำประกันโรคร้ายครอบคลุม 44 โรคร้ายแรง ไว้ 1 ล้านบาท เมื่อตรวจเจอโรคร้ายจะสามารถเคลมเงิน 1 ล้านบาท โดยเงินก้อนนี้จะเอาไว้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษาตัวต่อ หรืออื่นๆ ตามที่เราต้องการ เป็นค่าชดเชยเมื่อเจอโรคร้ายค่ะ

เบี้ยประกัน ประกันโรคร้ายแรง มีหลายหลายแบบมากในตลาด ยกตัวอย่าง ที่ครอบคลุม 44 โรคร้ายแรงทุนประกัน 1 ล้านบาท ของผู้ชายอายุ 30 ปี จะอยู่ที่ประมาณ 2,000 บาท ต่อปี จ่ายทิ้งนะคะ ไม่เคลมไม่ได้คืน

ตัวอย่างกลุ่มโรคร้ายแรง เช่น กลุ่มโรคมะเร็งและเนื้องอก กลุ่มโรคหัวใจและระบบการหายใจ กลุ่มโรคหลอดเลือดสมองระบบประสาทและกล้ามเนื้อ กลุ่มโรคอวัยวะและระบบการทำงานที่สำคัญของร่างกาย เช่น ตับวาย ไตวาย ลำไส้อักเสบ กลุ่มโรคภาวะติดเชื้อการบาดเจ็บร้ายแรงและภาวะทุพพลภาพ ซึ่งจะครอบคลุมโรคหลักๆ ที่คนไทยเป็นกันบ่อยๆค่ะ
 
 

มีประกันสุขภาพแล้ว จำเป็นต้องซื้อประกันโรคร้ายแรงหรือไม่?

จากความแตกต่างเรื่องความคุ้มครองที่ได้เล่าไปแล้วข้างต้น จะเห็นว่า การทำประกันโรคร้ายแรงกับประกันสุขภาพจะไม่เหมือนกัน อยากลองแชร์มุมมองแนวความคิดให้เห็นภาพดังนี้ค่ะ

มุมมองแรก
ทำเฉพาะประกันสุขภาพอย่างเดียว จะครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าเราจะเป็นโรคอะไร ประกันจะคุ้มครองอยู่แล้ว อาจจะยังไม่จำเป็นต้องทำประกันโรคร้ายที่เป็นค่าชดเชยเพิ่มเติมก็ได้ ข้อเสีย คือ พลาดโอกาสได้รับเงินชดเชยก้อนใหญ่ ในขณะที่เบี้ยประกันไม่ได้แพงมาก หลักพันต่อปี

มุมมองที่สอง
ทำเฉพาะประกันโรคร้ายแรงอย่างเดียว สำหรับทางเลือกนี้ อาจจะเหมาะกับคนที่ยังไม่พร้อมจะจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพที่มีราคาค่อนข้างสูงกว่าแบบโรคร้ายแรงอยู่ไม่น้อย ข้อเสียคือ จะได้เพียงค่าชดเชย แต่ไม่ได้คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นจริง  
 
มุมมองที่สาม
ทำทั้งประกันสุขภาพและประกันโรคร้ายแรง ทางเลือกนี้ จะช่วยให้เราเบาใจ ทั้งเรื่องค่ารักษาพยาบาล และแถมยังได้เงินชดเชยกลับมาด้วย เจ็บป่วยแบบไหนก็พร้อมสู้ มั่นใจ ไม่ต้องกังวลเรื่องเงินค่ะ ข้อเสียคือ ต้องจ่ายเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ตามโรคที่เราต้องการความคุ้มครองค่ะ
 
ยกตัวอย่าง นาย A อายุ 30 ปี เป็นโรคโรคมะเร็งปอด ค่ารักษาเฉลี่ยประมาณ 150,000 บาท และหากรักษาแบบพุ่งเป้า หรือ Targeted Therapy จะมีค่ารักษาเพิ่มประมาณ 1,700,000 บาท 

ถ้านาย A ทำประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายไว้ทุน 1 ล้านบาท จ่ายเบี้ยเพียงปีละ 15,000 บาท ก็จะสามารถครอบคลุมการรักษาได้ แต่อาจจะไม่สามารถครอบคลุมการรักษาแบบพุ่งเป้าทั้งหมด เพราะราคาจะเกินทุนประกัน แต่ถ้านาย A ได้ทำประกันโรคร้ายแรงไว้อีก 1 ล้านบาท เป็นค่าชดเชย ก็จะสามารถนำค่าชดเชยนั้นมาจ่ายค่ารักษาแบบพุ่งเป้าได้ นาย A ก็จะรู้สึกสบายใจมากขึ้นที่ไม่ต้องแบกรับค่ารักษาที่สูงไว้เอง
 
หมายเหตุ : ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง
 
อย่างไรก็ตาม การทำประกันสุขภาพสักเล่มนึง เป็นสิ่งที่แนะนำอย่างยิ่งเลยนะคะ เพราะจะช่วยให้เราอุ่นใจ สบายใจมากยิ่งขึ้นในยามที่เราเจ็บป่วย ถือว่าเป็นการแบ่งเบา และกระจายความเสี่ยงได้ดีอีกทางหนึ่งค่ะ
 
แท็กที่เกี่ยวข้อง ประกัน ประกันสุขภาพ ประกันโรคร้ายแรง การซื้อประกัน
Money Guru
เขียนโดย คุณป้อ (ประกันเข้าใจง่าย) Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)