รู้อะไรไม่เท่ารู้ทัน สารพัด "กลโกงบัตรอิเล็กทรอนิกส์" ที่ควรจำไว้ ก่อนกลายเป็นเหยื่อ

icon 30 มิ.ย. 65 icon 2,827
รู้อะไรไม่เท่ารู้ทัน สารพัด "กลโกงบัตรอิเล็กทรอนิกส์" ที่ควรจำไว้ ก่อนกลายเป็นเหยื่อ
ทุกครั้งที่เราต้องทำอะไรก็ตามเกี่ยวกับเรื่องเงินๆ ทองๆ สิ่งที่หลายคนมักจะกังวลคือเรื่องของ "ความปลอดภัย" เพราะการทำธุรกรรมทางการเงินแต่ละครั้งอาจจะต้องมีการใช้ข้อมูลส่วนตัว หรือรหัสผ่านต่างๆ เลยกลายเป็นช่องทางที่มิจฉาชีพใช้โจรกรรมข้อมูล เพื่อขโมยเงินในบัญชีของเราไป (ซึ่งบางทีอาจโชคร้าย โดนขโมยข้อมูลส่วนตัวไปใช้ด้วย) และแน่นอนว่าธุรกรรมยอดนิยมที่เหล่ามิจฉาชีพใช้กลโกงสารพัดวิธีจนสูญเงินกันไปหลายราย ก็คงไม่พ้นการใช้ "บัตรอิเล็กทรอนิกส์" ของเรานี่แหละค่ะ เนื่องจากมีขนาดเล็กกะทัดรัด เสี่ยงต่อการทำหาย และตกไปอยู่ที่มือโจรในที่สุด
 
บัตรอิเล็กทรอนิกส์ = บัตรเครดิตหรือไม่?
 
แม้บัตรเครดิตจะเป็นบัตรที่เราใช้กันบ่อยๆ แต่บัตรอิเล็กทรอนิกส์ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงแค่บัตรเครดิตเพียงอย่างเดียวนะคะ แต่ยังรวมไปถึงบัตรเอทีเอ็ม บัตรเดบิต หรือแม้กระทั่งเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) ด้วยค่ะ หรือถ้าให้อธิบายรวมๆ แล้วก็คือ "บัตรที่ใช้ชำระเงิน หรือทำธุรกรรมต่างๆ แทนเงินสด" นั่นเอง
 
ใช้ให้เป็นไม่พอ แต่ต้องใช้ให้ "ปลอดภัย" ด้วย
 
การที่เราไม่บอกรหัสบัตรกับใคร หรือไม่นำบัตรของเราไปให้คนอื่นใช้ ก็ถือว่าเป็นวิธีป้องกันมิจฉาชีพที่ถูกต้องแล้วค่ะ แต่รู้หรือไม่ว่าเดี๋ยวนี้ยังมีกลโกงอีกหลากหลายวิธีที่เราคาดไม่ถึง เรียกได้ว่าถึงบัตรจะอยู่กับตัวเราตลอด ก็มีโอกาสที่จะถูกมิจฉาชีพเชิดเงินไปได้เช่นกัน (To do List ใช้บัตรเครดิตอย่างไรให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ)
 
มิจฉาชีพใช้วิธีใดในการขโมยข้อมูลบัตรของเราไปใช้?
 
ปัจจุบันทางเว็บไซต์ของศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ที่ทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิพร้อมกับให้ความรู้แก่ผู้ที่ใช้บริการด้านการเงิน ได้ออกมาเปิดเผยลักษณะกลโกงบัตรต่างๆ ซึ่งมี 4 แบบหลักๆ ด้วยกันดังนี้ค่ะ
 

1. ใช้เครื่องสกิมเมอร์ (Skimmer)

เครื่องสกิมเมอร์ที่ว่านี้ก็คืออุปกรณ์ที่ใช้บันทึกข้อมูลจากบัตร มิจฉาชีพจะนำเครื่องสกิมเมอร์ไปติดตั้งบริเวณช่องเสียบบัตรเพื่อคัดลอกข้อมูลในบัตรของเรา รวมทั้งยังติดตั้งแป้นกดตัวเลขปลอมเพื่อขโมยรหัสผ่านของเราอีกด้วยค่ะ (ซึ่งบางทีอาจซ่อนกล้องบันทึกภาพเอาไว้ตามจุดต่างๆ ของตู้เอทีเอ็มอีกด้วย) นับว่าเป็นวิธีที่แนบเนียนเอามากๆ ถ้าเราไม่ได้สังเกตให้ดี ก็แทบจะไม่รู้ตัวเลยค่ะ แต่ในปัจจุบัน ได้เปลี่ยนจากบัตรแถบแม่เหล็กเป็นบัตรชิปการ์ดแล้ว จึงค่อนข้างปลอดภัยจากเครื่องสกิมเมอร์ค่ะ
 

2. เครื่องแฮนด์เฮลด์สกิมเมอร์ (Handheld Skimmer)

อีกวิธีที่ถูกใช้ตบตาเหยื่อมาหลายต่อหลายครั้ง เผลอๆ แล้วอาจจะสังเกตยากกว่าเครื่องสกิมเมอร์แบบปกติที่ใช้ติดตามตู้เอทีเอ็มอีกด้วยนะคะ เพราะว่าถ้าให้แปลแบบตรงตัว "แฮนด์เฮลด์สกิมเมอร์" คือเครื่องสกิมเมอร์แบบพกพาได้ โดยเหล่าคนร้ายอาจใช้วิธีแอบอ้างเป็นพนักงาน หรือเจ้าหน้าที่ตามสถานที่ต่างๆ เพื่อเรียกดูบัตรของเรา แล้วนำบัตรไปรูดกับอุปกรณ์นี้เพื่อคัดลอกข้อมูลในขณะที่เราไม่ได้สังเกต (แน่นอนว่าหลังจากที่เปลี่ยนมาใช้บัตรแบบชิปการ์ด ก็นำไปรูดไม่ได้แล้วค่ะ ค่อนข้างปลอดภัยอีกเช่นกัน)
 

3. การปลอมแปลงเอกสาร

หลังจากที่มิจฉาชีพขโมยข้อมูลส่วนตัวของเหยื่อมาด้วยวิธีต่างๆ แล้ว ข้อมูลเหล่านี้อาจถูกนำไปสู่ขั้นตอนการปลอมแปลงเอกสารเพื่อใช้แอบอ้างในการสมัครบัตรเครดิต จากนั้นบัตรเครดิตที่มีข้อมูลของเหยื่อก็จะถูกนำไปใช้ซื้อสินค้าต่างๆ โดยที่เหยื่อไม่รู้ตัว (ผู้เสียหายบางรายที่โดนโจรกรรมข้อมูลในรูปแบบนี้ ถึงกับสูญเงินหลักล้านเลยทีเดียว)
 

4. ขโมยข้อมูลจากใบบันทึกรายการตู้เอทีเอ็ม

ทุกครั้งที่เราทำธุรกรรมใดๆ ก็ตามที่ตู้เอทีเอ็ม ไม่ควรทิ้งใบบันทึกรายการหรือสลิปไว้ที่บริเวณใกล้เคียง เพราะข้อมูลที่ปรากฏบนใบบันทึกรายการ อาจเป็นช่องทางที่มิจฉาชีพนำไปสืบค้นเพิ่มเติมได้ โดยวิธีการอาจจะเป็นการสืบชื่อ-นามสกุล เพื่อแอบอ้างเป็นเหยื่อแล้วไปเปิดบัญชี จากนั้นจึงทำการโอนเงินจากบัญชีเหยื่อมายังบัญชีที่เปิดใหม่ของตนเองผ่านธนาคารออนไลน์ที่เชื่อมต่อกับทั้ง 2 บัญชีดังกล่าว

การเปลี่ยนจาก "แถบแม่เหล็ก" เป็น "ชิปการ์ด" ปลอดภัยกว่าเดิมหรือไม่?
 
อย่างที่ได้เกริ่นไปข้างต้นว่าการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์แบบชิปการ์ดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มีการรักษาความปลอดภัยอยู่ในระดับที่สูงกว่า และเข้าถึงข้อมูลได้ยากกว่า ทำให้ความเสี่ยงจากการถูกโจรกรรมโดยเครื่องสกิมเมอร์ลดน้อยลง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าปลอดภัย 100% นะคะ อย่างเมื่อปลายปีที่ผ่านมา หลายคนอาจอยู่ในเหตุการณ์ที่บัตรถูกตัดเงินออกไปหลายสิบครั้งภายในระยะเวลาไม่กี่วัน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างก็คาดเดาสาเหตุเอาไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นช่องโหว่จากการทำธุรกรรมออนไลน์ ระบบรักษาความปลอดภัยของธนาคาร การถูกหลอกถามข้อมูลจาก SMS หรือแม้กระทั่งการใช้โปรแกรมต่างๆ ของมิจฉาชีพ จึงสรุปได้ว่าการเปลี่ยนมาใช้บัตรแบบชิปการ์ดนั้นปลอดภัยกว่าเดิม แต่โอกาสการโดนโกงในวิธีอื่นๆ นอกเหนือจากเครื่องสกิมเมอร์ยังคงมีอยู่ค่ะ (รู้ก่อนเปลี่ยน : "ชิปการ์ด" ดีกว่าแถบแม่เหล็กอย่างไร? ต้องเสียเงินเปลี่ยนแค่ไหน?)
 
 
ทำยังไงถึงจะไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ?
 
จากกลโกงทั้ง 4 รูปแบบที่ได้นำมาแบ่งปันกันในบทความนี้ จะเห็นว่าสิ่งที่ควรระวังเป็นพิเศษคือ "การรั่วหลุดของข้อมูลส่วนตัว" จึงควรระวัง ไม่ควรบอกข้อมูลส่วนตัวแก่ผู้อื่น รวมทั้งรหัสผ่านกับรหัสหลังบัตรเองก็ควรเก็บไว้เป็นความลับ และต้องแจ้งอายัดบัตรทันทีเมื่อพบการใช้งานที่ผิดปกติ หรือทำบัตรหาย เพราะถึงแม้ว่าเราจะไม่พบข่าวการใช้เครื่องสกิมเมอร์มาสักพักใหญ่ๆ แล้ว ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจเป็นอันขาด เพราะเมื่อเวลาผ่านไป มิจฉาชีพมักมีวิธีการโกงในรูปแบบใหม่ๆ มาอีกเรื่อยๆ ดังนั้นจึงควรติดตามข่าวสารอยู่เสมอ ตราบใดที่เรารู้เท่าทัน โอกาสการตกเป็นเหยื่อก็แทบจะกลายเป็นศูนย์เลยล่ะค่ะ :-)
แท็กที่เกี่ยวข้อง มิจฉาชีพ กลโกงบัตรอิเล็กทรอนิกส์ กลโกงออนไลน์ มิจฉาชีพออนไลน์ บัตรอิเล็กทรอนิกส์
Money Guru
เขียนโดย สุทธิดา กาหา Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)