ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

อยากซื้อประกันชีวิตและประกันสุขภาพ ควรเริ่มซื้อที่อายุเท่าไหร่

icon 23 พ.ค. 66 icon 5,907
อยากซื้อประกันชีวิตและประกันสุขภาพ ควรเริ่มซื้อที่อายุเท่าไหร่
คำถามธรรมดาๆ ที่หลายคนก็ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ยังมีคำถามในใจว่า เราจำเป็นต้องทำประกันสุขภาพหรือประกันชีวิตด้วยหรอ หรือทำไปทำไม มีประโยชน์อะไร ทั้งนี้อาจจะเพราะไม่มีความรู้ด้านประกัน ไม่เข้าใจประโยชน์ที่แท้จริง หรือไม่แน่ใจว่าควรเริ่มจากตรงไหนดี วันนี้อยากลองแบ่งประเภทประกันชีวิตให้เหมาะตามช่วงอายุ ให้ทุกคนเห็นภาพมากขึ้น เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจนะคะ
 
สำหรับพ่อแม่ ที่คิดวางแผนการเงินให้ลูกไว้ตั้งแต่เล็กๆ อาจจะทำเพิ่มในส่วนประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ระยะกลางๆ เช่น 10 ปี 15 ปี ยกตัวอย่าง ทำประกันสะสมทรัพย์ตอนลูกอายุ 5 ขวบ ระยะ 10 ปี ก็มีเงินก้อนให้ลูกเข้ามหาวิทยาลัย หรือทำระยะ 15 ปี ก็จะมีเงินก้อนเป็นของขวัญให้ลูกได้เรียนต่อปริญญาโท หรือเงินทุนทำธุรกิจต่อไปค่ะ สำหรับเบี้ยประกันขึ้นอยู่กับความพร้อม และเป้าหมายเงินก้อนเลยค่ะ 
 

วัยเด็ก  (0-20 ปี)

สำหรับเด็กๆ อาจจะไม่ใช่วัยที่เริ่มมองหาการทำประกันเอง แต่เป็นผู้ปกครองที่จัดการให้ วัยนี้เหมาะกับการทำประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุเอาไว้ เพราะภูมิคุ้มกันต่ำ และมีกิจกรรมในโรงเรียนมากมาย เบี้ยประกันสุขภาพในวัยเด็ก 0-5 ขวบ จะค่อยข้างสูง ประมาณ 40,000 บาทขึ้นไป แต่พอเด็กอายุ 6 ขวบไปแล้ว เบี้ยจะถูกลงอยู่ที่ประมาณหลัก 20,000 บาทค่ะ
 
สำหรับพ่อแม่ ที่คิดวางแผนการเงินให้ลูกไว้ตั้งแต่เล็กๆ อาจจะทำเพิ่มในส่วนประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ระยะกลางๆ เช่น 10 ปี 15 ปี ยกตัวอย่าง ทำประกันสะสมทรัพย์ตอนลูกอายุ 5 ขวบ ระยะ 10 ปี ก็มีเงินก้อนให้ลูกเข้ามหาวิทยาลัย หรือทำระยะ 15 ปี ก็จะมีเงินก้อนเป็นของขวัญให้ลูกได้เรียนต่อปริญญาโท หรือเงินทุนทำธุรกิจต่อไปค่ะ สำหรับเบี้ยประกันขึ้นอยู่กับความพร้อม และเป้าหมายเงินก้อนเลยค่ะ 

วัยทำงาน 21-30 ปี

ช่วงวัยแห่งการเริ่มต้นทำงาน First Jobber ส่วนใหญ่จะไม่เก็บเงิน รับเงินเดือนครั้งแรกมา ใช้หมดไปกับการซื้อของที่อยากได้ ได้ใช้เงินที่หามาด้วยตัวเอง มีความภาคภูมิใจ ใช้ชีวิตเต็มที่ เรียกว่า Work hard… Play harder กันไปเลย วัยนี้มักจะไม่มีเงินเก็บ หรือยังไม่คิดถึงอนาคตไกลๆ เช่น เกษียณ แนะนำเริ่มต้นในการเก็บเงินกับประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ที่มีระยะสัญญาหลายแบบ เช่น 10 ปี 15 ปี 20 ปี 25 ปี ทั้งนี้ อาจจะเริ่มต้นสะสมเงินในระดับที่ไหว เช่น เดือนละ 1,000 บาท สะสมไปเรื่อยๆ ก่อนได้ค่ะแล้วค่อยเพิ่มตามกำลัง ซึ่งประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการบังคับให้มนุษย์เงินเดือนมีวินัยมากขึ้นในการออมเงิน เพราะต้องจ่ายทุกปีตามระยะเวลาของสัญญาประกันค่ะ อีกทั้ง ยังสามารถนำเบี้ยประกันไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย มีแต่ได้กับได้

วัยสร้างครอบครัว 31-50 ปี

สำหรับคนมีครอบครัว

กำลังสร้างเนื้อสร้างตัว เป็นเสาหลักของบ้าน แนะนำให้ทำประกันชีวิตเอาไว้ ในกรณีที่มีเรื่องไม่คาดฝัน เงินทุนประกันสามารถส่งมอบต่อเป็นมรดกให้กับคนที่เรารักได้ค่ะ ส่วนใหญ่ประกันชีวิตจะมีระยะเวลาจ่ายเบี้ยประกันที่ 20 ปี แต่ให้ความคุ้มครองยาวถึงอายุ 90-99 ปีกันเลย ถือว่าเป็นการทำประกันระยะยาวเพื่อความมั่นคงของครอบครัว อีกเรื่องคือสุขภาพ ก็จำเป็นต้องใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะอยู่ในวัยเสี่ยงที่จะเกิดโรคร้ายแรง อาจจะทำเพิ่มในส่วนประกันสุขภาพเหมาจ่าย ประกันชดเชยรายได้ และโรคร้ายแรงเพิ่มเติม ซึ่งหลายๆ คนมักเริ่มทำประกันสุขภาพตอนเริ่มมีอายุแล้ว และตอนอายุยังไม่เยอะก็ทำแค่ประกันชีวิตเพื่อลดภาษีไว้ก่อน ซึ่งจริงๆ ก็ไม่ผิด แต่การทำประกันสุขภาพตอนอายุมากแล้ว จะมีข้อสังเกตเพิ่มเติม เช่น ค่าเบี้ยแพง โรคบางโรคอาจเริ่มไม่ครอบคลุม เพราะตัวเองมีประวัติสุขภาพ เป็นต้นค่ะ

สำหรับคนโสด

สมัยนี้คนแต่งงานช้าลง จนบางทีก็ไม่อยากมีลูกหรือสร้างครอบครัวอะไร อยากใช้ชีวิตโสดแบบมีความสุข ดังนั้น เราต้องรีบสะสมเงินให้ได้เท่าที่เราจำเป็นต้องใช้ตอนเกษียณ ประกันที่แนะนำคือ ประกันสะสมทรัพย์ หรืออาจจะเพิ่มประกันบำนาญด้วยก็ได้ค่ะ
 
ยังมีแบบประกันอื่นๆ ที่น่าสนใจสำหรับคนวัยนี้ เช่น Unit linked (ยูนิตลิงค์) ประกันควบการลงทุน ที่สามารถตอบโจทย์ในเรื่องความคุ้มครองและการลงทุนในกองทุนไปพร้อมๆ กัน พร้อมโอกาสในการได้ผลตอบแทนที่สูงจากการลงทุนด้วยค่ะ เช่น สะสมเงินไปเรื่อยๆ แล้วแต่กำลังที่มี เงินบางส่วนของเราจะนำไปลงทุนในกองทุนที่มีความเสี่ยงที่เรารับได้ พอสะสมได้ระยะยาว มูลค่าของกองทุนมีโอกาสเติบโตมากขึ้น แล้วเราก็สามารถนำเงินในส่วนกองทุนออกมาใช้ได้ในอนาคตค่ะ

วัยเก๋า 51 ปีขึ้นไป

ช่วงวัยก่อนเกษียณ เตรียมตัวเกษียณสบายๆ วัยนี้ควรเพิ่มเติมในส่วนประกันสุขภาพ IPD และ OPD และประกันอุบัติเหตุเพิ่มเติมค่ะ แนะนำให้ยังคงดูในส่วนประกันแบบเหมาจ่าย วงเงิน 1 ล้านบาทขึ้นไป เพื่อให้ครอบคลุมค่ารักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูงในโรคต่างๆ ในส่วนของการเก็บออมเงิน สามารถทำได้ต่อเนื่อง เพราะยังมีประโยชน์ทางภาษี ประกอบกับเป็นเงินไว้เกษียณได้ แต่คำนวนปีที่ต้องจ่ายเงินด้วยนะคะ ว่าสัญญากี่ปี หากเกินอายุ 60 ปี เราสามารถจ่ายได้ต่อเนื่องหรือไม่
 

สรุปตารางคำแนะนำ

หวังว่าบทความนี้พอจะเป็น Guideline ให้ทุกคนที่กำลังเริ่มสนใจทำประกันชีวิตได้นะคะ ซึ่งทุกอย่างไม่ได้จำเป็นต้องเป็นไปตามที่แนะนำเสมอไป ขึ้นอยู่กับว่า เราพร้อมแค่ไหน มีการวางแผนชีวิต วางแผนการเงินให้ตัวเองและครอบครัวอย่างไร การซื้อประกันเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่ง เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายในชีวิตของเราในแต่ละช่วงวัย ซึ่งแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน เช่น ทำเป็นมรดก ปกป้องเงินก้อนใหญ่ เพื่อเกษียณอายุ หรือเพื่อลดหย่อนภาษี ต้องลองวางแผนกันดูอีกที หรือปรึกษาผู้เชียวชาญด้านนี้ได้เช่นกันค่ะ
 
แท็กที่เกี่ยวข้อง วางแผนการเงิน ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ซื้อประกันสุขภาพ ข้อควรรู้ก่อนซื้อประกันสุขภาพ
Money Guru
เขียนโดย คุณป้อ (ประกันเข้าใจง่าย) Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่

แนะนำ Big bike ล่าสุด

ดูทั้งหมด
Suzuki | Burgman
ซูซูกิ Suzuki Burgman 400 ABS ปี 2024
Honda | Forza
ฮอนด้า Honda Forza 350 Special Edition H2C by Honda ปี 2025
Kawasaki | Ninja
คาวาซากิ Kawasaki Ninja ZX-6R ปี 2025
Yamaha | XMAX
ยามาฮ่า Yamaha XMAX Connected ปี 2025
Triumph | Tiger
ไทรอัมพ์ Triumph Tiger Sport 660 ปี 2025
Harley-Davidson | Pan America 1250
ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน Harley-Davidson Pan America 1250 ST ปี 2025
Ducati | Panigale
ดูคาติ Ducati Panigale V2 ปี 2025
Honda | ADV
ฮอนด้า Honda ADV 350 (Standard) ปี 2025



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)