จัดมาให้แล้ว! แยกให้ออก เลือกให้เป็น...จะซื้อประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 2 3 แบบมี + หรือไม่มี + ต่างกันยังไง? ที่นี่มีคำตอบ

icon 21 มี.ค. 65 icon 2,516
จัดมาให้แล้ว! แยกให้ออก เลือกให้เป็น...จะซื้อประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 2 3 แบบมี + หรือไม่มี + ต่างกันยังไง? ที่นี่มีคำตอบ
ประกันภัยรถยนต์ในปัจจุบันมีอยู่หลายแบบ หลายแผน ให้เลือกซื้อตามความพอใจของเจ้าของรถแต่ละคน จะเลือกซื้อแบบไหน? ควรดูยังไง? วันนี้ CheckRaka มีคำตอบ และขอนำข้อมูลรายละเอียดของ "ประกันภัยรถยนต์" มาให้เพื่อนๆ ได้ทำความรู้จัก เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเลือกซื้อให้เหมาะกับเราที่สุด จะได้เป็นการจ่ายเงินแบบคุ้มค่า ไม่เสียเปล่า ไม่รอช้อแล้วนะคะ...ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ

ทำความรู้จักกับประกันภัยรถยนต์

"ประกันภัยรถยนต์" เป็นการที่ "ผู้เอาประกันภัย" โอนความเสี่ยงภัยเกี่ยวกับรถยนต์ไปให้ "ผู้รับประกันภัย" รับความเสี่ยงภัยนั้นแทน โดยผู้เอาประกันภัยจะต้องจ่าย "เบี้ยประกันภัย" ให้กับผู้รับประกันภัย เพื่อเป็นการตอบแทนที่ผู้รับประกันภัยยอมรับความเสี่ยงภัยไว้แทน หากรถยนต์คันที่เอาประกันภัยไว้เกิดอุบัติเหตุ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ตัวรถยนต์ หรือแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลที่โดยสารอยู่ภายในรถยนต์ ตลอดจนบุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายจากรถยนต์ที่เอาประกันภัยคันดังกล่าว ผู้เอาประกันภัยจะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายที่เรียกว่า "ค่าสินไหมทดแทน" โดยผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ตามจำนวนค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินที่ได้ตกลงทำสัญญาไว้

"ประกันภัยรถยนต์" มีกี่ประเภท?

ถ้าพูดถึงประกันภัยรถยนต์ สามารถแบ่งประเภทประกันภัยที่ควรรู้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
  1. ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (Compulsory Motor Insurance)
    ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือ "ประกันภัย พ.ร.บ." เป็นประกันภัยที่รถยนต์ทุกคันทุกชนิดจะต้องทำ เนื่องจากเป็นกฎหมายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยประกันภัยประเภทนี้ได้ความคุ้มครองและรับผิดชอบต่อความสูญเสียของชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของผู้ประสบภัยจากรถยนต์เท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น พนักงานบริษัทคนหนึ่ง ขับรถไปทำงานตามปกติ แต่เกิดเหตุการณ์ชนคนที่กำลังเดินข้ามถนนได้รับบาดเจ็บ ซึ่งประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับนี้จะรับผิดชอบเฉพาะค่ารักษาพยาบาลของคนเดินถนนที่ได้รับบาดเจ็บเท่านั้น แต่จะไม่รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดกับรถยนต์ หากมีความเสียหายเกิดขึ้นไม่ว่าจะกรณีใดๆ
  2. ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ (Voluntary Motor Insurance)
    "ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ" เป็นการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อ (ผู้เอาประกันภัย) และผู้ขาย (บริษัทประกันภัย) ด้วยการเลือกซื้อความคุ้มครองประกันภัยตามความต้องการของผู้ซื้อโดยไม่มีผู้ใดบังคับซึ่งประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจนี้จะรับผิดชอบต่อความเสียหายส่วนที่เกิดจากความรับผิดชอบของประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (ประกันภัย พ.ร.บ.) นั่นเอง

"ประกันภัยรถยนต์" คุ้มครองอะไรบ้าง?

ประเภทความคุ้มครองของ "ประกันภัยรถยนต์" ที่จะคุ้มครองความเสียหายแก่ร่างกาย และทรัพย์สิน ให้กับผู้เอาประกันภัยและผู้อื่น สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภทความคุ้มครอง ดังนี้
 

"ประกันภัยรถยนต์" มีประโยชน์ยังไง?

มีคนเคยบอกว่า...การซื้อประกันภัยภาคสมัครใจนั้นมีประโยชน์สำหรับคนใช้รถใช้ถนน ควรมีไว้เพื่อให้อุ่นใจ แต่สงสัยกันมั้ยคะว่า ประโยชน์ของ "ประกันภัยรถยนต์" ที่แท้จริงคืออะไร? มีอะไรบ้าง? วันนี้ไปไขข้อสงสัยนั้นกันค่ะ
 
  1. ประโยชน์ด้านบุคคล
    สร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อประกันภัยรถยนต์ว่าหากเกิดอุบัติเหตุ ได้รับความเสียหายก็จะได้รับการชดใช้จากผู้รับประกันภัย ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายที่เกิดกับทรัพย์สิน การบาดเจ็บต่อร่างกาย ทั้งของผู้ขับขี่รถยนต์ และบุคคลภายนอก เป็นการช่วยบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ ทำให้ผู้เอาประกันภัยได้รับความสะดวก ไม่ต้องเสียเวลากับการโต้แย้งในกรณีที่รถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้เป็นฝ่ายผิด ทางผู้รับประกันภัยก็จะเป็นผู้ชดใช้ค่าเสียหายแทนให้ แต่ถ้ารถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้เป็นฝ่ายถูก ทางผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เอาประกันภัย หรือทำการซ่อมแซมรถยนต์ให้ผู้เอาประกันภัยก่อนจนสามารถนำรถไปใช้ได้โดยไม่ต้องเสียเวลา และผู้รับประกันภัยก็จะดำเนินการเรียกร้องค่าเสียหายแทนผู้เอาประกันภัยให้อีกด้วย ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้เอาประกันภัยในการดำเนินงานหรือดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก
     
  2. ประโยชน์ด้านสังคมและประเทศชาติ
    2.1 เป็นการสร้างความมั่นคงให้กับสังคมและประเทศชาติ ทำให้สังคมมีหลักประกันความปลอดภัย มีความมั่นใจว่าเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นแล้วจะได้รับการชดใช้ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันของคนทั่วไปมีความเป็นอยู่พอกินพอใช้ มีเงินออมไม่มากนัก แถมยังมีวิกฤตทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด อย่างเช่น วิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อรายได้ของคนส่วนใหญ่ เป็นต้น ซึ่งเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนมาก เป็นเหตุทำให้ส่งผลกระทบต่อสังคม และเศรษฐกิจของชาติ แต่เมื่อมีการทำประกันภัยไว้ก็ย่อมทำให้อุ่นใจได้ว่าจะมีผู้บรรเทาความเดือดร้อนให้แน่นอน
    2.2 การประกันภัยเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยบังคับให้ประชาชน ในชาติประหยัดทางอ้อม คือ นำเงินส่วนหนึ่งมาประกันภัยไว้กับผู้รับประกันภัย ในรูปของเบี้ยประกันภัย เพื่อลดการเสี่ยงภัยที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและผู้รับประกันภัย นำเงินดังกล่าวไปลงทุนหาดอกผล ซึ่งเป็นการช่วยพัฒนาประเทศในการเพิ่มการลงทุนของประเทศนั่นเอง
    2.3 ทำให้คนกล้าลงทุนในเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม โดยไม่ต้องกังวลว่าทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบธุรกิจอยู่นั้นจะเสียหายทำให้สิ้นเนื้อประดาตัว เนื่องจากได้ทำประกันภัยไว้แล้ว ดังนั้นหากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้นและทำให้ธุรกิจ ต้องได้รับความเสียหาย ผู้รับประกันภัยจะเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น ทำให้การค้าและอุตสาหกรรมเติบโตมากขึ้น ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญขึ้นได้
     
  3. ประโยชน์ด้านธุรกิจ
    3.1 เมื่อมีการประกันภัยรถยนต์ส่งผลให้มีผู้ประกอบการเข้ามาดำเนินการในธุรกิจประกันภัยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งธุรกิจประกันภัยมีความสำคัญไม่น้อยกว่าธุรกิจอื่นๆการเติบโตของธุรกิจ ประกันภัยช่วยทำให้คนมีงานทำมากขึ้นและมีภาวะการครองชีพที่ดีขึ้น
    3.2 ก่อให้เกิดเสถียรภาพและประสิทธิภาพในการประกอบธุรกิจ การลงทุนประกอบธุรกิจนั้น เมื่อผู้ลงทุนสามารถลดการเสี่ยงภัย ด้วยการโอนความเสี่ยงภัยไปให้ผู้รับประกันภัย โดยเสียเบี้ยประกันภัยจำนวนหนึ่งตามที่ตกลงกันไว้ก็จะทำให้ต้นทุนการผลิตมีความแน่นอนมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจมีเสถียรภาพมั่นคงยิ่งขึ้นและทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพเพิ่มสูงขึ้น

"ประกันภัยรถยนต์" มีกรมธรรม์กี่ประเภท? อะไรบ้าง?

ก่อนจะเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ เราควรรู้ก่อนว่า...ควรจะซื้อกรมธรรม์ประเภทไหนดี? แบบไหนเหมาะ? เพราะในปัจจุบันสำหรับการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจนั้นมีให้เลือกหลากหลายกรมธรรม์ ซึ่งการที่จะเลือกแบบไหนนั้น จะต้องดูที่ความต้องการ ความจำเป็น ความเหมาะสม และค่าใช้จ่ายของผู้ซื้อประกันภัยนั้นๆ ด้วย เพื่อให้การจ่ายเงินในทุกครั้งได้รับความคุ้มค่า และเหมาะสมกับการใช้รถใช้ถนนของเรามากที่สุด ดังนั้น วันนี้ทางทีมงานจึงรวบรวมสรุปข้อมูลประเภทกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ที่มีทั้งหมดมาให้เพื่อนๆ ได้ใช้เป็นข้อมูลในการเลือกซื้อ "ประกันภัยรถยนต์" แบบละเอียด และเข้าใจง่ายตามนี้เลยค่ะ
 
ประเภทกรมธรรม์ประกันภัยที่ควรรู้
  1. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 (Comprehensive)
    กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองมากกว่าการประกันภัยรถยนต์ประเภทอื่นๆ โดยมีความคุ้มครองหลักครบทั้ง 4 ประเภท ดังนี้
    1) คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย
    2) คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
    3) คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์
    4) คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์
     
  2. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2 (Third Party Liability, Fire and Theft)
    กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2 เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองใกล้เคียงกับการประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 แตกต่างเพียงไม่มีความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถยนต์ โดยมีความคุ้มครองหลัก ดังนี้
    1) คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย
    2) คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
    3) คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์
     
  3. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 (Third Party Liability)
    กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองน้อยกว่าการประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 และประเภท 2 โดยบริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก ดังนี้
    1) คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย
    2) คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
     
  4. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 4 (Third Party Property Damage Only)
    กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 4 ให้ความคุ้มครองต่อบุคคลภายนอกเท่านั้น โดยคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก 100,000 บาทต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง
     
  5. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5
    กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5 เป็นแบบคุ้มครองภัยเฉพาะที่พัฒนาใช้งานขึ้นมาในภายหลัง แบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้
    แบบประกัน 2 พลัส (2+) ให้ความคุ้มครองรับผิดชอบต่อความเสียหายแบบประกันภัยชั้น 2 แต่เพิ่มความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และต้องมีคู่กรณี โดยให้ความคุ้มครอง ดังนี้
    1) คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
    2) คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
    3) คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบก
    4) คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
    แบบประกัน 3 พลัส (3+) ให้ความคุ้มครองรับผิดชอบต่อความเสียหายแบบประกันภัยชั้น 3 แต่เพิ่มความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และต้องมีคู่กรณี โดยให้ความคุ้มครอง ดังนี้
    1) คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
    2) คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
    3) คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบก
ของกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5 ทั้งประกัน 2 พลัส และประกัน 3 พลัส คือ
  1. ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น
  2. ต้องมีคู่กรณี ถ้าชนแล้วหนี หาพยานหลักฐานไม่ได้ จะไม่ได้รับความคุ้มครอง

สุดท้ายนี้....จากรายละเอียด "ประกันภัยรถยนต์" ที่นำเสนอข้างต้น ทีมงานหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ที่กำลังมองหาประกันดีๆ คุ้มๆ เหมาะกับการใช้งานของเราเองนะคะ จ่ายเบี้ยประกันเท่าที่จำเป็น ดีกว่าจ่ายเยอะแล้วไม่ได้ใช้นะคะ เลือกดี เลือกคุ้ม ต้องเลือก "ประกันภัยรถยนต์" ที่เหมาะกับเราค่ะ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก คปภ.
 
แท็กที่เกี่ยวข้อง เบี้ยประกัน ประกันภัยรถยนต์ ความคุ้มครอง ซื้อประกันภัย ความเสียหาย
Money Guru
เขียนโดย สินีนาฏ มากทองหลาง Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)