ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

ซื้อประกันออมทรัพย์ กับ ฝากเงินธนาคาร อันไหนดีกว่ากัน? เหมาะกับใครบ้าง?

icon 16 พ.ย. 64 icon 7,176
ซื้อประกันออมทรัพย์ กับ ฝากเงินธนาคาร อันไหนดีกว่ากัน? เหมาะกับใครบ้าง?
เป็นธรรมเนียมทุกปลายปีที่หลายๆ คนต้องตัดสินใจว่าจะเอาเงินที่เหลือใช้ในปีนั้นๆ ไปฝากธนาคาร ซื้อประกัน หรือเอาไปลงทุนดี ... ระหว่างการออมเงินกับการลงทุนส่วนใหญ่จะตัดสินใจไม่ยากเพราะความแตกต่างมันชัดเจนอยู่แล้ว ออมเงิน เอาดอกเบี้ยไป 0.5%-1.5% ต่ำหน่อยแต่จ่ายชัวร์ ส่วนลงทุนอาจได้ผลตอบแทนสูง 5-10% แต่ไม่ค่อยชัวร์เพราะการลงทุนมีความเสี่ยง

ในอีกมุมนึงถ้าเทียบระหว่างฝากเงินออมทรัพย์กับประกันออมทรัพย์ ตรงนี้แหละที่คนเข้าใจผิดกันเยอะมาก วันนี้...ทีมงานจะขอเอาประสบการณ์ในการซื้อประกันออมทรัพย์มาฝากกัน ว่าทำไม ถึงเลือกซื้อประกันออมทรัพย์ (สะสมทรัพย์) แทนการฝากเงินออมทรัพย์ (หรือฝากประจำ!)
 

มาดูเรื่องข้อดีของประกันออมทรัพย์กันก่อน !

  1. ฝากเงินออมทรัพย์โดนภาษี แต่ประกันออมทรัพย์ไม่โดนภาษี เชื่อไหมว่าทุกครั้งที่ฝากเงินแล้วได้ดอกเบี้ยเนี่ย ไม่เคยได้ครบตามที่ธนาคารบอกเลย แต่ไม่ใช่ธนาคารโกง แต่เป็นเรื่องของภาษีล้วนๆ ถ้าฝากเงินไม่มาก ได้ดอกเบี้ยไม่ถึง 20,000 ต่อปีอันนี้ยังไม่โดนภาษี แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ได้ดอกเบี้ยเกิน 20,000 บาทต่อปี จะต้องเสียภาษี 15% 

    ในมุมกลับกันถ้าเอาเงินไปซื้อประกันออมทรัพย์แทน เงินที่ได้ไม่ต้องจ่ายภาษี เพราะได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขของกรมธรรม์
     
  2. ฝากออมทรัพย์ลดหย่อนภาษีไม่ได้ แต่ประกันออมทรัพย์ลดหย่อนภาษีได้ ไม่โดนเก็บภาษีจากผลตอบแทน แถมยังลดหย่อนภาษีได้ ส่วนลดได้เท่าไหร่นั้นก็ตามฐานภาษีของแต่ละคนเลย สูงสุดไม่เกิน 1 แสนบาท
     
  3. ฝากเงินธนาคารไม่มีประกันคุ้มครองชีวิตให้ แต่ประกันออมทรัพย์ส่วนใหญ่มีคุ้มครองชีวิตให้ด้วย ลองนึกภาพว่าเราฝากเงินไปเรื่อยๆ แต่เกิดอุบัติเหตุทำให้เราเสียชีวิตระหว่างทาง คนข้างหลังจะได้เงินเท่าที่เราออมไว้ แต่ถ้าเป็นประกันออมทรัพย์ คนข้างหลังจะได้เงินตามผลประโยชน์กรมธรรม์ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมากกว่าเงินที่ออม มากกว่าน้อยกว่าเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับแต่ละกรมธรรม์
     
  4. ฝากเงินธนาคารได้ดอกเบี้ยต่ำ ในขณะที่ประกันออมทรัพย์มักให้ผลตอบแทนสูงกว่าในระยะยาว ผลตอบแทนจะมากกว่าฝากเงินธนาคารมากแค่ไหน อยู่ที่รายละเอียดของแต่ละกรมธรรม์ และระยะเวลาการส่งเบี้ย / คุ้มครองของผู้ซื้อประกันแต่ละคน
ทั้ง 4 ข้อนี้คือข้อดีมากๆของการซื้อประกันออมทรัพย์ แต่การซื้อประกันก็ไม่ใช่จะไม่มีข้อจำกัดเลย

ข้อจำกัดและข้อควรระวังในการซื้อประกันออมทรัพย์

  1. สภาพคล่องของการฝากเงินธนาคารดีกว่า สำหรับการฝากเงิน ถ้าเป็นบัญชีออมทรัพย์เราอยากถอนเงินมาใช้เมื่อไหร่ก็ได้ เสียโอกาสแค่ดอกเบี้ยที่ได้รับ แต่ถ้าเป็นประกันจะไม่สามารถถอนออกมาก่อนหมดอายุกรมธรรม์ เงินที่ได้ระหว่างทางจะมีเพียงเงินคืนณ.สิ้นปี และขึ้นอยู่กับเงื่อนไขแต่ละที่ด้วย

    ทางเดียวที่จะเอาเงินคืนมาได้คือการเวนคืนกรมธรรม์ นอกจากเงินที่ได้กลับมาไม่เต็มจำนวน น้อยกว่าเงินที่ส่งประกันไป นอกจากนั้นยังต้องเตรียมเอกสาร แล้วถ้าคิดจะกลับไปซื้อใหม่อาจจะต้องเสียเบี้ยประกันเพิ่มมากขึ้นจากอายุที่มากขึ้นด้วย

    ดังนั้นการจะซื้อประกันออมทรัพย์ต้องคิดให้ดีว่า สามารถส่งเบี้ยตามสัญญาได้หรือไม่?
     
  2. ประกันต้องส่งเบี้ยทุกปีต่างกับเงินฝาก การฝากเงินถ้าปีไหนไม่มีเงินเหลือก็ไม่ต้องฝากก็ได้ แต่ประกันต้องส่งเบี้ยตามกรมธรรม์อย่างต่อเนื่อง ถ้าวางแผนมาไม่ดีอาจมีปัญหาในการส่งเบี้ยได้
     
  3. การฝากเงินค่อนข้างเรียบง่าย เงื่อนไขน้อย ต่างกับประกัน ถ้าจะซื้อประกันออมทรัพย์ต้องศึกษาเงื่อนไข รวมถึงความมั่นคงของบริษัทที่กำลังจะซื้อประกันด้วย ว่ามั่นคงมากน้อยแค่ไหน มีศักยภาพในการจ่ายเงินคืนเมื่อครบกรมธรรม์หรือไม่?

เลือกประกันออมทรัพย์ให้เหมาะกับตนเองเลือกอย่างไร?

การเลือกประกันออมทรัพย์ที่เหมาะกับตนเองนั้น ต้องคิดถึง 4 อย่างด้วยกันคือ
  1. กำลังทรัพย์ในการส่งเบี้ยทุกปี – ไม่ควรเลือกประกันที่ต้องส่งเบี้ยเกินตัว ควรเป็นจำนวนเงินที่ไม่ทำให้ลำบาก เพราะการส่งเบี้ยประกันคือแผนระยะยาว 10-20 ปีขึ้นไป
     
  2. ระยะเวลาในการส่งเบี้ย - ประกันจะมีระยะเวลาในการส่งเบี้ย และระยะเวลาในการคุ้มครอง ควรมีการวางแผน และล็อกวงเงินไว้เลย ว่าเงินก้อนนี้จะใช้ในการส่งประกัน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลัง
     
  3. อายุ – การทำประกันแต่อายุยังน้อยจะช่วยให้เบี้ยถูกลง และความคุ้มครองที่มากขึ้น ควรทำประกันตั้งแต่อายุยังน้อย
     
  4. มูลค่าการลดหย่อนภาษี – ลดหย่อนภาษีแล้วคุ้มค่าหรือไม่กับโอกาสการลดหย่อนภาษีด้วยทางเลือกอื่นเช่นการซื้อกองทุน SSF RMF หรือการผ่อนบ้าน
ในภาพรวมการลดหย่อนภาษีด้วยประกันออมทรัพย์มีประโยชน์มากกว่าการฝากเงินธนาคาร แต่ก็มีเงื่อนไขและข้อจำกัดต่างๆ ที่ต้องยอมรับ ซึ่งคนที่เหมาะกับการซื้อประกันออมทรัพย์จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
  • มีรายได้ส่วนเกินที่สามารถส่งเบี้ยประกันอย่างต่อเนื่องได้
  • ปลอดภาระทางการเงินอย่างอื่น
  • ไม่มีความต้องการใช้เงินในระยะสั้น
  • ต้องการลดหย่อนภาษี 
หากเงื่อนไขตรงตามนี้ ยินดีด้วย ประกันออมทรัพย์อาจเป็นทางเลือกในการลดหย่อนภาษี และสร้างความมั่นคงในอนาคตที่เหมาะสมกับคุณ !
แท็กที่เกี่ยวข้อง ประกันออมทรัพย์ ประกันสะสมทรัพย์ เงินฝากธนาคาร วางแผนการออม
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่

แนะนำ Big bike ล่าสุด

ดูทั้งหมด
Suzuki | Burgman
ซูซูกิ Suzuki Burgman 400 ABS ปี 2024
Honda | Forza
ฮอนด้า Honda Forza 350 Special Edition H2C by Honda ปี 2025
Kawasaki | Ninja
คาวาซากิ Kawasaki-Ninja ZX-6R-ปี 2025
Yamaha | XMAX
ยามาฮ่า Yamaha XMAX Connected ปี 2025
Triumph | Tiger
ไทรอัมพ์ Triumph Tiger Sport 660 ปี 2025
Harley-Davidson | Pan America 1250
ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน Harley-Davidson Pan America 1250 ST ปี 2025
Ducati | Panigale
ดูคาติ Ducati Panigale V2 ปี 2025
Honda | ADV
ฮอนด้า Honda ADV 350 (Standard) ปี 2025



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)