สุดต๊าช!! 10 ข้อต้องรู้ สำหรับสายช้อปออนไลน์ ที่คิดจะใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิต วีซ่า

icon 3 ธ.ค. 64 icon 2,288
สุดต๊าช!! 10 ข้อต้องรู้ สำหรับสายช้อปออนไลน์ ที่คิดจะใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิต วีซ่า
 

สุดต๊าช!! 10 ข้อต้องรู้ สำหรับสายช้อปออนไลน์ ที่คิดจะใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิต วีซ่า

เมื่อเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน การใช้ชีวิต หรือไลฟ์สไตล์ก็ต้องปรับเปลี่ยนไปด้วย อย่างเช่น การซื้อของ ใช้จ่าย ช้อปปิ้ง จากที่เคยออกไปหาซื้อตามร้านค้า หรือห้างสรรพสินค้าต่างๆ ก็มีการปรับเปลี่ยนมาเป็นระบบออนไลน์ที่มากขึ้น เมื่อไม่สะดวกในการออกไปข้างนอก 

1. ลงทะเบียน Verified by Visa

เป็นบริการที่อนุญาตให้ใช้รหัสผ่าน หรือรหัสที่ปกป้องบัตร วีซ่า เมื่อมีการซื้อสินค้าออนไลน์ เป็นการเพิ่มความมั่นใจว่าจะมีแต่เฉพาะเจ้าของบัตรฯ เท่านั้นที่สามารถใช้บัตรวีซ่าได้ และมีธนาคารผู้ออกบัตรฯ บางแห่งอาจลงทะเบียนบัตรกับ Verified by Visa ไว้ล่วงหน้าแล้ว เพราะฉะนั้น เราควรตรวจสอบกับธนาคารผู้ออกบัตรฯ เพื่อทราบรายละเอียดก่อนค่ะ

2. เข้าชมเว็บไซต์ที่ปลอดภัย

ควรมองหาอักษร "s" หลังคำว่า "http" ในที่อยู่ของหน้าเว็บหรือ URL ของร้านค้าออนไลน์ที่กำลังเข้าชม และเมื่อชำระเงินออนไลน์ เพื่อเป็นตัวบ่งชี้ถึงความปลอดภัย

3. เก็บรักษารหัสผ่านของคุณไว้เป็นความลับ

เก็บรักษารหัสผ่านไว้เป็นความลับ หากร้านค้าออนไลน์ขอให้เราลงทะเบียนชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านก่อนชำระเงิน เราจะต้องเก็บรหัสผ่าน Verified by Visa ไว้เป็นความลับ ไม่เปิดเผยโดยเด็ดขาด

4. เปรียบเทียบแล้วจึงซื้อ

เปรียบเทียบ ตรวจสอบสินค้า และราคาจากร้านค้าออนไลน์หลายๆ ร้านก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ

5. ปกป้องรายละเอียดของบัตร

รายละเอียดบนบัตร วีซ่า ควรแจ้งหรือเปิดเผยก็ต่อเมื่อดำเนินการชำระเงินเท่านั้น ห้ามเปิดเผยรายละเอียดบนบัตรฯ กับคนอื่นหรือเหตุผลอื่นโดยเด็ดขาด

6. ตรวจสอบนโยบายการจัดส่งและการคืนสินค้า

เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นขั้นตอนการทำธุรกรรมออนไลน์แล้ว ควรอ่านนโยบายการจัดส่ง รวมถึงการส่งคืนสินค้าในหน้าหลักของร้านค้าออนไลน์ด้วย เพื่อตรวจสอบดูรายละเอียดว่าสามารถคืนสินค้าได้หรือไม่ และใครจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการส่งคืน หากสินค้าที่ได้รับไม่ตรงตามเงื่อนไข หรือมีการผิดเงื่อนไขจากทางร้านค้าเกิดขึ้น

7. ห้ามส่งข้อมูลการชำระเงินผ่านทางอีเมล์เป็นอันขาด

ทุกข้อมูลที่ส่งผ่านอินเทอร์เน็ต เช่น ข้อมูลที่ส่งผ่านอีเมล์ ไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะไม่ถูกอ่านจากบุคคลอื่น แต่ร้านค้าที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่จะมีการใช้เทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูลเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอยู่แล้ว เพื่อไม่ให้คนอื่นเข้าถึงการทำธุรกรรมออนไลน์ของเรา

8. เก็บรักษาบันทึกการทำธุรกรรมของคุณเอาไว้

ควรเก็บรักษาบันทึกการชำระเงินออนไลน์ไว้ เหมือนกับที่เก็บใบเสร็จรับเงินจากร้านค้า สำรองข้อมูลการทำธุรกรรมโดยการบันทึก และ/หรือ พิมพ์ข้อความยืนยันคำสั่งซื้อ

9. ตรวจสอบใบแจ้งยอดบัญชีบัตรเครดิตรายเดือนของคุณโดยละเอียด

ตรวจสอบใบแจ้งยอดบัญชีรายเดือน โดยเฉพาะหลังจากที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ ตรวจสอบธุรกรรมทั้งหมด แม้แต่ในร้านค้าเล็ก ๆ เพราะพวกมิจฉาชีพมักทดสอบการใช้บัญชีที่ขโมยมา โดยการซื้อสินค้าในราคาที่ไม่สูงนัก แทนที่จะซื้อสินค้ารายการใหญ่ๆ ให้รายงานกิจกรรมที่น่าสงสัยในทันที เพื่อป้องกันการฉ้อโกงที่อาจเกิดขึ้น แจ้งสถาบันการเงินในทันทีหากมีการใช้งานอีเมล์ที่น่าสงสัย

10. เปิดและตอบอีเมล์แต่เฉพาะอีเมล์ที่ผ่านเกณฑ์การทดสอบเบื้องต้นเท่านั้น

ตรวจสอบอีเมล์ที่ได้รับว่าเป็นอีเมล์จากคนที่คุณรู้จักหรือไม่ เราเคยได้รับอีเมล์จากผู้ส่งรายนี้มาก่อนหรือไม่ หรือเรากำลังรออีเมล์พร้อมสิ่งที่แนบจากผู้ส่งรายนี้หรือไม่ อีเมล์จากผู้ส่งรายนี้มีชื่อเรื่องที่อธิบายถึงเนื้อหาในอีเมล์ และชื่อสิ่งที่แนบที่สมเหตุสมผลหรือไม่ อีเมล์นี้มีไวรัสหรือไม่
แท็กที่เกี่ยวข้อง ช้อปออนไลน์ บัตรเครดิต วีซ่า
Money Guru
เขียนโดย สินีนาฏ มากทองหลาง Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)