ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

ไม่รู้ไม่ได้! เตรียมตัวรับมือ ร่าง"ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง"ที่จะใช้จริงปี 2562

icon 22 มิ.ย. 60 icon 77,767
ไม่รู้ไม่ได้! เตรียมตัวรับมือ ร่าง"ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง"ที่จะใช้จริงปี 2562

ไม่รู้ไม่ได้! เตรียมตัวรับมือ ร่าง"ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง"ที่จะใช้จริงปี 2562

ตามที่เราพอจะทราบข่าวกันมาบ้างแล้ว เกี่ยวกับ ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่คาดว่าจะใช้จริงในปี 2562 ที่จะนำมาใช้แทน พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และ พ.ร.บ.ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 ว่าจะมีการปรับปรุงในหลายๆ ส่วน ซึ่งขณะนี้ตัวร่าง พ.ร.บ.อยู่ในระหว่างเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อพิจารณา ซึ่งข้อมูลบางส่วนอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้นะคะ ว่าแต่...ทรัพย์สินอะไรบ้างที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีนี้ใครบ้างที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี และต้องเสียภาษีเท่าไหร่ และอะไรที่ควรรู้บ้าง เช็คราคาจะพามาเจาะลึกในรายละเอียดกันนะคะ (ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก เอกสารประกอบการบรรยาย "The Wisdom Wealth Avenue กลยุทธรับมือภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง" ของ บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด โดยศาสตราจารย์พิเศษ กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์)

จะเริ่มต้นเก็บภาษีเมื่อไหร่?

สำหรับร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับนี้คาดว่าจะเริ่มใช้จริงในปี 2562
ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนของการส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณา ซึ่งผ่านวาระแรกเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2560 และขณะนี้อยู่ในชั้นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา

ใคร...มีหน้าที่ต้องเสียภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง?

บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง หรือผู้ครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์สินของรัฐ 

ทรัพย์สินอะไรบ้างที่ต้องเสียภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง?

ที่ดิน, สิ่งปลูกสร้าง, ห้องชุด

การจัดแบ่งประเภทของที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างที่ต้องเสียภาษี

มีการแบ่งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างออกเป็น 4 ประเภท ตามลักษณะการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน และที่ต้องเสียภาษี ดังนี้
1. เกษตรกรรม หมายถึง การใช้ที่ดินในการทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ และกิจการอื่นตามที่รัฐมนตรีจะประกาศกำหนด (อาจต้องดำเนินการขึ้นทะเบียนเป็นเกษตรกร
2. บ้านพักอาศัย ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ประเภท
  • บ้านพักอาศัยหลังหลัก โดยดูจากเจ้าของต้องมีชื่ออยู่ในโฉนด เจ้าของใช้เป็นที่อยู่อาศัย และเจ้าของต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในวันที่ 1 มกราคม ของปีภาษีนั้นๆ
  • บ้านพักอาศัยหลังอื่นๆ หมายถึงกรณีที่เจ้าของมีชื่อในโฉนดเฉยๆ ไม่ได้มีชื่อในทะเบียนบ้าน
3. พาณิชยกรรม หมายถึง การใช้ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่ได้ใช้เพื่อการเกษตรกรรมหรือการอยู่อาศัย เช่น ใช้เพื่อพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรม เป็นต้น
4. ที่รกร้างว่างเปล่า หมายถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ หรือทิ้งไว้ว่างเปล่า

อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตามร่างล่าสุด

1. สำหรับกรณีที่เป็นที่ดินเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม จัดเก็บภาษีได้ในอัตราไม่เกิน 0.2% 
2. สำหรับกรณีที่เป็นที่พักอาศัย จัดเก็บภาษีในอัตราไม่เกิน 0.5%
3. สำหรับกรณีที่เป็นที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างเพื่อใช้ประโยชน์ด้าน พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และอื่นๆ จัดเก็บภาษีได้ในอัตราไม่เกิน 2%
4. สำหรับกรณีที่เป็นที่ดินที่ทิ้งว่างเปล่า ไม่ได้ทำประโยชน์ตามสภาพ จัดเก็บภาษีได้ในอัตราไม่เกิน 5% ของฐานภาษี

ฐานภาษีสำหรับที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง

คิดคำนวณจาก มูลค่าของทรัพย์สิน ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และห้องชุด ตามราคาประเมินทุนทรัพย์ ของทรัพย์สินนั้นๆ (*ราคาประเมินนี้จะเป็นไปตามราคาประเมินของกรมธนารักษ์)

การคำนวณภาระภาษีที่ต้องเสียในแต่ะปี

การคำนวณภาระภาษี จะแยกเป็น 3 กรณี ดังนี้
1. กรณีเป็นที่ดินไม่มีสิ่งปลูกสร้าง
ภาระภาษี =  (ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน (ต่อ ตร.ว.) x ขนาดพื้นที่ดิน) x อัตราภาษี  
2. กรณีเป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
 ภาระภาษี = (มูลค่าที่ดิน* + มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง**) x อัตราภาษี 
*กำหนดให้ มูลค่าที่ดิน = ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน (ต่อ ตร.ว.) x ขนาดพื้นที่ดิน
** กำหนดให้ มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง = ราคาประเมินทุนทรัพย์โรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง (ต่อ ตร.ม.) x ขนาดพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง - ค่าเสื่อมราคา
3. กรณีเป็นห้องชุด
 ภาระภาษี = (ราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุด (ต่อ ตร.ม.) x ขนาดพื้นที่ห้องชุด (ตร.ม.)) x อัตราภาษี 

การคิดค่าเสื่อมราคาของสิ่งปลูกสร้าง


ข้อควรรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอัตราภาษีสำหรับที่ดินที่ทิ้งไว้ว่างเปล่า 

กรณีที่ดินที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพที่ดิน จะถูกเก็บภาษีในอัตราที่สูง และปรับเพิ่มขึ้นทุกๆ 3 ปีเพื่อเป็นการกระตุ้นให้มีการใช้ประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยกำหนดอัตราภาษีที่ใช้จัดเก็บจริง
  • ใน 3 ปีแรกจะเก็บในอัตราร้อยละ 1 ของฐานภาษี 
  • ในปีที่ 4 - 6 เก็บในอัตราร้อยละ 2 ของฐานภาษี และ
  • ในปีที่ 7 เป็นต้นไป จะเก็บในอัตราร้อยละ 3 ของฐานภาษี 

การยื่นแบบ และชำระภาษี

เจ้าหน้าที่จะแจ้งการประเมินไปยังผู้มีหน้าที่ผู้เสียภาษี ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปี เพื่อเรียกให้ชำระภาษี และผู้เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษี พร้อมชำระภาษี ภายในเดือนเมษายนของปีนั้นๆ

การบรรเทาภาระภาษี (โดยพระราชกฤษฎีกา)

1. ลดภาระภาษีให้ไม่เกิน 75% เช่น 
  • บ้านพักอาศัยหลักซึ่งได้กรรมสิทธิ์มาจากการรับมรดกก่อน พ.ร.บ. ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างมีผลบังคับใช้ ภาระภาษีลดลง 50% 
  • กิจการสาธารณะ เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน เป็นต้น ภาระภาษีลดลงไม่เกิน 75% 
2. ลดภาระภาษี เช่น
  • ที่ดินเปล่าที่อยู่ระหว่างปลูกสร้างเป็นที่อยู่อาศัย 0% (1 ปี)
  • ทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างพัฒนาเพื่อทำโครงการที่พักอาศัย 0.05% (3 ปี)
  • ทรัพย์สินที่เป็น NPA ของสถาบันการเงิน 0.05% (5 ปี)

ตัวอย่างการคำนวณภาษี

นายมารวยมีบ้านหลังหลักที่ใช้เป็นที่พักอาศัยราคา 5 ล้านบาท ตามตารางอัตราภาษี บ้านหลังหลักที่ราคาไม่เกิน 50 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้นภาษี ดังนั้นบ้างหลังนี้ นายมารวยจึงไม่ต้องเสียภาษีค่ะ และนายมารวยมีบ้านหลังที่ 2 เป็นบ้านพักตากอากาศที่หัวหิน (ตึกครึ่งไม้) มูลค่า 10 ล้านบาท  มีพื้นที่ 50 ตร.ว. และเป็นพื้นที่ใช้สอยของบ้าน 100 ตร.ม. อายุบ้าน 10 ปี เราลองมาดูวิธีการคำนวณภาษีกันนะคะ
 ภาระภาษี = (มูลค่าที่ดิน* + มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง**) x อัตราภาษี 
*กำหนดให้ มูลค่าที่ดิน = ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน (ต่อ ตร.ว.) x ขนาดพื้นที่ดิน
** กำหนดให้ มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง = ราคาประเมินทุนทรัพย์โรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง (ต่อ ตร.ม.) x ขนาดพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง - ค่าเสื่อมราคา
สมมติให้ ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน = 40,000 บาทต่อตร.ว. , ราคาประเมินทุนทรัพย์สิ่งปลูกสร้าง = 6,500 บาทต่อ ตร.ม.



จากการคำนวณภาระภาษีข้างต้น นายมารวยต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
สำหรับบ้านพักตากอากาศที่หัวหินเป็นเงิน 1,312 บาท

ตัวอย่างคำถามที่ถามกันบ่อยเกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 

คำถามที่ 1 หากนายมารวย เป็นเจ้าของที่พักอาศัยหลายหลัง นายมารวยควรบริหารจัดการอย่างไร เพื่อลดภาระภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง 
คำตอบ (ตามร่างล่าสุด) เพื่อลดภาระภาษีนายมารวยควรเลือกที่พักอาศัยที่มีราคาประเมินสูงที่สุดเป็นที่พักอาศัยหลังหลัก ตามตัวอย่างด้านล่างนี้



จากตัวอย่างข้างต้น จะเห็นได้ว่าหากนายมารวยเลือกที่พักอาศัยที่มีราคาประเมินสูงที่สุดเป็นที่พักหลังหลัก
นายมารวยสามารถลดภาระภาษีลงได้ 607,000 - 367,000 = 240,000 บาท
คำถามที่ 2 หากนายมารวยมีที่อยู่อาศัยหลายแห่ง และมีบุตรหลายคน นายมารวยควรบริหารจัดการอย่างไร เพื่อลดภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
คำตอบ (ตามร่างล่าสุด) การโอนอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย (ไม่รวมบุตรบุญธรรม) ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 20 ล้านบาท ต่อปีภาษี ทั้งนี้ ผู้รับโอนจะเสียภาษี 5% เฉพาะส่วนที่มีมูลค่าเกินกว่า 20 ล้านบาท โดยการโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว อาจช่วยบรรเทาภาระภาษีมรดก หากนายมารวยมีทรัพย์สิน มีทรัพย์มรดกตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไป

* บุตรที่ได้รับโอนอสังหาริมทรัพย์จะต้องเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง แต่ อาจได้รับการยกเว้น หากใช้เป็นที่พักอาศัยหลัก และอสังหาริมทรัพย์นั้นมีราคาประเมินไม่เกิน 50 ล้านบาท
คำถามที่ 3 หากนายมารวยมีที่ดินรกร้างว่างเปล่า นายมารวยควรบริหารจัดการอย่างไร เพื่อลดภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
คำตอบ (ตามร่างล่าสุด) ในการจัดการที่ดินว่างเปล่าเพื่อลดภาระภาษี ก่อนอื่น นายมารวยต้องทราบก่อนว่า การใช้ที่ดินทำอะไร ต้องเสียภาษีเท่าไหร่ โดยแนวทางในการวางแผนภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มีดังนี้
 นำที่ดินเปล่ามาใช้ในทางเกษตรกรรม อัตราเพดานภาษี 0.2% 
 นำมาใช้เป็นที่พักอาศัยหลังหลัก หรือหลังอื่น อัตราเพดานภาษี 0.5% 
 นำไปใช้ประกอบธุรกิจ เช่น การให้เช่าที่ดิน อัตราเพดานภาษี 2% 
จากการจัดการที่ดินเพื่อลดภาระภาษีข้างต้น จะเห็นได้ว่าการใช้ที่ดินในการทำเกษตรกรรม กับการใช้เป็นที่ดินเพื่อที่พักอาศัยหลัก จะเสียภาษีถูกที่สุด และการใช้ที่ดินไปในเชิงพาณิชยกรรมจะเสียภาษีแพงที่สุด

สถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี และชำระภาษี

1. สำนักงานเทศบาล สำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในเขตเทศบาล
2. ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล สำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
3. สำนักงานเขตที่ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นตั้งอยู่ สำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
4. ศาลาว่าการเมืองพัทยา สำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในเขตเมืองพัทยา
5. ที่ทำการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่กฎหมายกำหนด สำหรับที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น
ในกรณีที่มีความจำเป็น ผู้บริหารท้องถิ่นอาจกำหนดให้ใช้สถานที่อื่นภายในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น เป็นสถานที่สำหรับยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีได้ตามที่เห็นสมควร และการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษี ให้ถือว่าวันที่พนักงานเก็บภาษีลงลายมือชื่อในใบเสร็จรับเงินเป็นวันที่ชำระภาษี

การคัดค้าน และการอุทธรณ์การประเมินภาษี

1. ผู้เสียภาษีมีสิทธิ์คัดค้าน และขอให้ผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาทบทวนการประเมิน หรือเรียกเก็บภาษีได้ภายใน 30 วัน และแจ้งคำสั่ง พร้อมด้วยเหตุผลไปยังผู้เสียภาษี

2. ผู้บริหารท้องถิ่นต้องพิจารณาคำร้องให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน และแจ้งคำสั่งพร้อมด้วยเหตุผลไปยังผู้เสียภาษี
3. กรณีผู้บริหารท้องถิ่นเห็นชอบกับคำร้องให้มีหนังสือแจ้งไปยังผู้เสียภาษี และให้ผู้เสียภาษีชำระภาษีภายใน 15 วัน 
4. กรณีผู้บริหารท้องถิ่นไม่เห็นชอบกับคำร้องของผู้เสียภาษี ให้ผู้เสียภาษีมีสิทธิ์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์การประเมินภาษีฯ 
5. คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ฯ มีอำนาจเรียกผู้อุทธรณ์ บุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำ ส่งเอกสาร หรือหลักฐานอื่นใดมาแสดง ไม่รับอุทธรณ์ ยกอุทธรณ์ เพิกถอน หรือแก้ไขการประเมินของพนักงานประเมิน หรือผู้ให้อุทธรณ์ได้รับลด หรือยกเว้นภาษีหรือได้คืนภาษี
6. คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ฯ ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่พนักงานประเมินได้รับอุทธรณ์
7. ผู้อุทธรณ์มีสิทธิ์อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30 วัน 

ประเด็นที่ยังอาจมีการเปลี่ยนแปลง

สำหรับร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนี้ จะมีการพิจารณาในอีกหลายขั้นตอน ข้อมูลต่างๆจึงอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ เช่น
1. การกำหนดอัตราขั้นต่ำของการยกเว้นภาษีให้กับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่อยู่อาศัยหลังหลัก ตามร่าง พ.ร.บ.ใหม่กำหนดไว้ที่ต่ำกว่า 50 ล้านบาทจะได้รับการยกเว้นภาษี ซึ่งอาจเกิดความไม่เป็นธรรม เช่น 
1.1 นายมารวยถือครองบ้าน 2 หลัง ในราคา 5 ล้านบาท และ 10 ล้านบาท
  • บ้านหลังที่ 1 ราคา 5 ล้านบาท นายมารวยจะได้รับการยกเว้นภาษี แต่
  • บ้านหลังที่ 2 ราคา 10 ล้านบาท นายมารวยจะต้องเสียภาษีในอัตรา 0.05%
1.2 นายรวยเลิศล้ำ ถือครองบ้าน 1 หลัง ราคา 40 ล้านบาท
  • บ้านหลังหลักราคา 40 ล้านบาทนี้ จะได้รับการยกเว้นภาษี 
2. มาตรการบรรเทาภาษีมีการพิจารณาถึงมูลเหตุแห่งการบรรเทาภาษีเพิ่มเติม เช่น ในกรณีที่เจ้าของที่ดินที่ประกอบกิจการ แต่กิจการอยู่ในสถานะขาดทุน หรือผลประกอบการไม่ดี จะมีการบรรเทาภาษีได้อย่างไรบ้าง 
3. กรณีที่บุคคลทั่วไปได้รับมรดกที่ดินราคาสูง ต้องมีการพิจารณาเรื่องรายได้ของวิชาชีพ ประกอบการพิจารณาการจัดเก็บภาษีด้วย 

แม้ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้คาดว่าจะใช้จริงในปี 2562 แต่สำหรับผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษี ก็ควรทราบถึงรายละเอียดที่จะมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อที่จะได้วางแผนลดภาระภาษีกันแต่เนิ่นๆ ขอให้ทุกคนโชคดี ประหยัดภาษีได้เยอะๆนะคะ ไว้พบกันใหม่บทความหน้าค่ะ
แท็กที่เกี่ยวข้อง ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่

แนะนำ Big bike ล่าสุด

ดูทั้งหมด
Suzuki | Burgman
ซูซูกิ Suzuki Burgman 400 ABS ปี 2024
Honda | Forza
ฮอนด้า Honda Forza 350 Special Edition H2C by Honda ปี 2025
Kawasaki | Ninja
คาวาซากิ Kawasaki Ninja ZX-6R ปี 2025
Yamaha | XMAX
ยามาฮ่า Yamaha XMAX Connected ปี 2025
Triumph | Tiger
ไทรอัมพ์ Triumph Tiger Sport 660 ปี 2025
Harley-Davidson | Pan America 1250
ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน Harley-Davidson Pan America 1250 ST ปี 2025
Ducati | Panigale
ดูคาติ Ducati Panigale V2 ปี 2025
Honda | ADV
ฮอนด้า Honda ADV 350 (Standard) ปี 2025



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)