ยุทธวิธีจัดการหนี้บัตรเครดิตให้อยู่หมัด

icon 20 มิ.ย. 59 icon 4,413
ยุทธวิธีจัดการหนี้บัตรเครดิตให้อยู่หมัด

ยุทธวิธีจัดการหนี้บัตรเครดิตให้อยู่หมัด

บัตรเครดิตช่วยสร้างความสะดวกสบายในการใช้จ่าย แต่ในขณะเดียวกัน บัตรเครดิตก็สามารถทำให้คนเราเป็นหนี้ได้ง่ายขึ้น เพราะเวลาที่ใช้บัตรเครดิตรูดซื้อสินค้า เรายังไม่ได้จ่ายเงินออกไปในทันที และโดยส่วนใหญ่เรามักได้รับอนุมัติวงเงินบัตรเครดิตประมาณ 3 - 5 เท่าของรายได้ต่อเดือน หลายคนจึงใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่มีอยู่ ส่งผลให้เมื่อถึงวันครบกำหนดชำระ จากเดิมเคยชำระแบบเต็มวงเงิน กลายเป็นชำระขั้นต่ำหรือชำระเพียงบางส่วน จนถึงขั้นไม่สามารถชำระหนี้ได้
ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามมา เช่น ดอกเบี้ยค้างชำระ ค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถามหนี้ ค่าปรับจากการผิดเงื่อนไขการชำระ ไม่เพียงเท่านี้ ยังมีผลเสียจากความเครียดที่เพิ่มขึ้น และสุขภาพจิตที่เสียไปเมื่อขาดเงินชำระหนี้ แน่นอนว่าไม่มีใครอยากเป็นหนี้บัตรเครดิต แต่หากเป็นหนี้แล้วจะทำอย่างไร มี 3 ขั้นตอนที่นำมาฝาก ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 : ใจแข็ง ไม่ก่อหนี้เพิ่ม เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด โดยใช้จ่ายเฉพาะสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น อาหาร ยารักษาโรค ค่าเดินทาง มาทำงาน เสื้อผ้าตามความจำเป็น ฯลฯ มีข้อคิดดีๆ สำหรับการประหยัดเงินเพื่อมาชำระหนี้เพิ่ม คือ "ถึงแม้ว่าจะถูกแค่ไหน ถ้าไม่ใช้ ก็ไม่ซื้อ"
ขั้นตอนที่ 2 : ชำระหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงๆ ก่อน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนลง หรือเลือกปิดบัตรที่มียอดหนี้คงเหลือต่ำๆ ก่อนเพื่อลดจำนวนเจ้าหนี้ที่มีลง ซึ่งช่วยสร้างขวัญและกำลังใจในการปลดหนี้ ทั้งนี้ ควรมีการบันทึกบัญชี รับ-จ่าย อย่างสม่ำเสมอควบคู่กันไป เพื่อควบคุมการใช้จ่ายให้ซื้อแต่สิ่งของที่จำเป็น และเมื่อมีเงินเหลือจะได้รีบนำเงินมาปิดหนี้บัตรเพิ่มขึ้น
ขั้นตอนที่ 3 : เพิ่มรายได้ หากมีเวลาว่างจากการทำงาน ลองมองหาอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ เช่น สมัครทำงาน Part Time ขายของตามตลาดนัด หรืออินเทอร์เนต เป็นต้น นอกจากนี้ การขายสินทรัพย์เพื่อนำมาชำระหนี้ โดยเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ หรือไม่ก่อให้เกิดรายได้ เช่น เฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้าน ของสะสมที่สามารถตีมูลค่าได้ เป็นต้น หากขายและนำมาชำระหนี้ จะช่วยให้ลดภาระหนี้ และดอกเบี้ยจ่ายลง ซึ่งเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ
แท็กที่เกี่ยวข้อง บัตรเครดิต ยุทธวิธี จัดการหนี้ หนี้บัตร
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)