x
icon-filter ค้นหาโทรศัพท์มือถือ
product filter
product filter
product filter
product filter

วีซ่า เผยเก้าในสิบของคนไทยสนใจใช้เวอร์ชวลแบงก์ (Virtual Bank)

ข่าว icon 15 มี.ค. 66 icon 2,966
วีซ่า ผู้นำการให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก เผยข้อมูลที่น่าสนใจจากการศึกษาเรื่องทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปีของวีซ่า (Visa Consumer Payment Attitudes Study)  โดยผู้บริโภคชาวไทยส่วนใหญ่มากถึงเก้าในสิบ โดยเฉพาะในกลุ่ม Gen Y, Gen X และประชาชนทั่วไปมากถึง 90% ให้ความสนใจในธนาคารเสมือนจริง หรือเวอร์ชวลแบงก์ (Virtual Bank)
การศึกษาของวีซ่า ซึ่งจัดทำขึ้นเป็นประจำปีทุกปีเพื่อให้เข้าใจถึงพฤติกรรมการใช้จ่าย และทัศนคติของผู้บริโภคชาวไทยให้ดียิ่งขึ้น ยังเผยให้เห็นว่ามากกว่าสี่ในห้าของผู้ตอบแบบสอบถาม (85%) มีความพยายามที่จะใช้จ่ายแบบไม่พึ่งเงินสด โดยมากกว่าหนึ่งในสาม (36%) ปรับไปใช้ชีวิตประจำวันโดยไม่พึ่งเงินสดได้นานกว่าหนึ่งสัปดาห์
ซีรีน เกย์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า "การชำระเงินแบบดิจิทัลได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคในประเทศไทยมากขึ้น อย่างไรก็ตามเรายังเห็นโอกาสอีกมากในการทำให้การจ่ายและรับชำระเงินแบบดิจิทัลเป็นเรื่องที่ทุกคนเข้าถึงได้ ตลอดจนร่วมสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับผู้ใช้ดิจิทัลแบงก์กิ้ง และคิดค้นวิธีการให้ผู้บริโภคทำธุรกรรมทางการเงินได้สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ในทุกๆ ที่และทุกเวลา"
จากการศึกษาพบว่ากิจกรรมที่ผู้บริโภคสนใจเกี่ยวกับเวอร์ชวลแบงก์มากที่สุด คือ พวกเขาสามารถฝากและถอนเงินได้ (72%) การโอนเงินให้กับครอบครัวและเพื่อน (67%) และการชำระค่าสาธารณูปโภคต่างๆ  (64%) 
แม้จะมีข้อดีมากมายอย่างการใช้บริการได้ตลอดเวลาและมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า กระนั้นผู้ตอบแบบสอบถาม มากกว่าสามในห้า (65%) ระบุว่าจะเลือกใช้บริการธนาคารทั่วไปเป็นบัญชีหลักมากกว่า เนื่องจากการบริการที่ดี ประสบการณ์การใช้บริการ และความน่าเชื่อถือที่ธนาคารเหล่านี้มอบให้กับลูกค้า
เมื่อพิจารณาด้านพฤติกรรมการใช้จ่ายแบบไร้เงินสด มากกว่าครึ่งของผู้ตอบแบบสอบถาม (55%) กล่าวว่าพวกเขาถือเงินสดน้อยลง ซึ่งเหตุผลสามอันดับแรก ได้แก่ การใช้ระบบชำระเงินแบบไร้สัมผัส หรือคอนแทคเลสที่เพิ่มสูงขึ้น (59%) สามารถเข้าถึงบริการเบิกถอนเงินสดได้สะดวก (47%) และมองว่าการชำระเงินในรูปแบบดิจิทัลเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยในแง่สุขอนามัยมากกว่า (45%)
นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (71%) เชื่อว่าประเทศไทยสามารถเป็นสังคมไร้เงินสดได้ภายในปี 2573 โดยหมวดการใช้จ่ายอันดับแรกๆ ที่จะเป็นแบบไร้เงินสดเต็มรูปแบบคือ การชำระค่าสาธารณูปโภคและบริการต่างๆ  (53%) การชำระเงินที่ร้านสะดวกซื้อ (53%) และการชำระเงินในซูเปอร์มาร์เก็ต (49%)
การชำระเงินแบบไร้สัมผัส หรือคอนแทคเลส กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นในประเทศไทย โดยจากผลสำรวจพบว่ามากกว่าเก้าในสิบ (92%) ของผู้บริโภคชาวไทยสนใจที่จะใช้จ่ายด้วยวิธีนี้  ปัจจุบันนี้ระบบขนส่งมวลชนหลายรูปแบบในกรุงเทพฯ รับชำระค่าโดยสารผ่านบัตรเครดิตแบบแตะเพื่อจ่าย และประมาณหนึ่งในสามของชาวไทย (32%) ชำระค่าโดยสารด้วยวิธีนี้
"ด้วยความแพร่หลายของเทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านการชำระเงิน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราร่วมงานกับลูกค้าของเราเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมการชำระเงินที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค และผู้ประกอบการ  เราหวังว่าผลการศึกษานี้จะช่วยให้ภาคธุรกิจ  รวมทั้งอุตสาหกรรมการชำระเงินในประเทศไทยสามารถปรับตัวให้เข้ากับเทรนด์ที่เปลี่ยน และสร้างโอกาสที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น รวมทั้งสนับสนุนให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นประเทศที่เป็นดิจิทัลยิ่งขึ้น" ซีรีน กล่าวสรุป

แท็กที่เกี่ยวข้อง

visa เทคโนโลยี วีซ่า technology ธนาคารเสมือนจริง Virtual Bank เวอร์ชวลแบงก์

ข่าวและอีเว้นท์โทรศัพท์มือถือล่าสุด




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)