กสิกรไทยแนะวิธีวางแผนการเงิน หลังวิกฤตสังคมสูงวัยทำค่าใช้จ่ายหลังเกษียณพุ่งสูง

ข่าว icon 7 มี.ค. 65 icon 1,617
กสิกรไทย โดย K WEALTH แนะนำการวางแผนการเงิน รับความไม่มั่นคงของชีวิตวัยเกษียณจากวิกฤตสังคมผู้สูงวัย จากสาเหตุเด็กไทยเกิดน้อยสุดเป็นประวัติการณ์ ทำให้พึ่งพารัฐสวัสดิการและลูกหลานได้น้อยลง แนะให้เช็กสิทธิพื้นฐานต่างๆ ย้ำวางแผนเตรียมเงินและความคุ้มครองเพิ่มเติมจากการลงทุนและประกัน พร้อมแนะนำการปรับสัดส่วนการลงทุนในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นและความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน
นายวีระพล บดีรัฐ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายพัฒนาการให้คำปรึกษาลูกค้า และ K WEALTH GURU ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า จากสถิติเด็กไทยเกิดใหม่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ เพียง 544,570 คนในปี 2564 (ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ) เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ปัญหาสังคมสูงวัยในไทยน่าเป็นห่วงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะด้านการเงินที่มีความไม่มั่นคงในชีวิตหลังเกษียณ เนื่องจากขาดแคลนประชากรวัยทำงาน ทำให้สวัสดิการของรัฐอาจมีไม่เพียงพอ ผู้สูงอายุไม่มีลูกหลานให้พึ่งพา อีกทั้งอายุขัยเฉลี่ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประกอบกับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ทั้งค่าดูแลสุขภาพที่อาจเพิ่มขึ้น 100% ในปีประมาณ 30 ปีข้างหน้า (ข้อมูลจากสถาบันเพื่อสุขภาพตัวชี้วัดและการประเมินผล IHME) และค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่เพิ่มขึ้นจากเงินเฟ้อเฉลี่ย 3% ต่อปี K WEALTH มีคำแนะนำให้คนไทยเตรียมตัวรับมือวัยเกษียณตั้งแต่อายุยังน้อย ดังนี้
 
  1. ​เช็กสิทธิพื้นฐาน ได้แก่ บัตรทอง (สปสช.) ประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ สำหรับค่ารักษาพยาบาล รวมถึงเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เบี้ยบำเหน็จ/บำนาญชราภาพ (ประกันสังคม) เป็นเงินใช้หลังเกษียณ โดยดูว่าเพียงพอต่อความต้องการหรือไม่ หากไม่เพียงพอ ต้องเสริมด้วยการเก็บเงินให้ตัวเอง   
  2. สามารถพิจารณาประกันชีวิต และประกันสุขภาพเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มความคุ้มครองค่าดูแลค่ารักษาพยาบาลในส่วนที่มากกว่าสิทธิพื้นฐาน ให้สอดคล้องกับความต้องการ โดยเบี้ยประกันขึ้นอยู่กับวงเงินคุ้มครองและคุณภาพการรักษา 
  3. เตรียมเงินใช้หลังเกษียณเพิ่มเติมด้วยการลงทุน ทั้งในกองทุน หุ้น กองทุนลดหย่อนภาษี ประกันชีวิต ประกันแบบบำนาญ และสินทรัพย์ทางเลือกอื่น ๆ อาทิ ทองคำ น้ำมัน อสังหาริมทรัพย์ REIT ซึ่งสามารถจัดสรรสัดส่วนของสินทรัพย์แต่ละประเภทให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของแต่ละคน 
ผู้ที่ต้องการเริ่มต้นการออมเพื่อเก็บเงินสำหรับค่าใช้จ่ายวัยเกษียณ ควรกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน ทั้งเงินที่ต้องการใช้จ่ายช่วงเวลาเกษียณ ระยะเวลาที่มีก่อนถึงวันเกษียณ วางแผน และเริ่มลงมือ เพื่อให้มั่นใจว่าจะเข้าสู่วัยเกษียณโดยไม่ต้องกังวล นอกจากนี้ควรศึกษาประกันและการลงทุนที่เหมาะกับความต้องการและความสามารถในการรับความเสี่ยง

สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการลงทุนในช่วงนี้ K WEALTH วิเคราะห์ว่ามี 2 เรื่องหลักๆ ที่ต้องติดตาม ได้แก่ ดอกเบี้ยขาขึ้น และความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ซึ่งมีคำแนะนำในการปรับแผนการลงทุน ดังนี้ 
 
  • ​​​ดอกเบี้ยขาขึ้น: ลดสัดส่วนตราสารหนี้ และกองทุนอสังหาฯ เนื่องจากมีโอกาสได้ผลกระทบเชิงลบ และเพิ่มสัดส่วนหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการขึ้นดอกเบี้ย เช่น หุ้นกลุ่มสถาบันการเงิน และ หุ้นที่มีการนำเข้าเป็นหลัก 
  • รัสเซีย-ยูเครน: ทองคำ เงินดอลลาร์ และพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น มีโอกาสเพิ่มมูลค่า เพราะเป็นกลุ่มสินทรัพย์ปลอดภัย  
ทั้งนี้ คำแนะนำสำหรับการจัดพอร์ตเพื่อการเกษียณ ควรมีสินทรัพย์ทางเลือก ไม่เกิน 10% ของพอร์ต และเมื่อมีอายุเพิ่มขึ้น ควรลดสัดส่วนของสินทรัพย์เสี่ยงสูงให้น้อยลง เพื่อเพิ่มความมั่นคงของพอร์ต สามารถติดตามเรื่องราวลงทุน การจัดการเงินดี ๆ เพิ่มเติมจาก K WEALTH ได้ที่ www.kasikornbank.com/kwealth
 
ดูข่าว/อีเว้นท์เศรษฐกิจอื่นๆ ที่น่าสนใจ
 
 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

การลงทุน ธนาคารกสิกรไทย วางแผนการเงิน วัยเกษียณ สังคมผู้สูงอายุ สังคมสูงวัย วิธีวางแผนการเงิน ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ

ข่าวและอีเว้นท์เศรษฐกิจล่าสุด



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)