ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

ทำไมนักลงทุนถึงควรปรับพอร์ต (Rebalancing)? ควรทำเมื่อไหร่?

icon 22 มิ.ย. 65 icon 3,362
ทำไมนักลงทุนถึงควรปรับพอร์ต (Rebalancing)? ควรทำเมื่อไหร่?
สถานการณ์การลงทุนในปี 2565 นี้ เกิดความผันผวนกับตลาดหุ้นทั่วโลก หลังจากที่เงินเฟ้อสหรัฐฯพุ่งสูง ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น เพื่อควบคุมสถานการณ์ ซึ่งสิ่งที่นักลงทุนคาดหวังจากการลงทุนคือผลตอบแทนที่เติบโตขึ้น แต่เมื่อเกิดความผันผวน แล้วนักลงทุนควรจะทำอย่างไรกับพอร์ตการลงทุนตัวเอง บทความนี้จะพาเพื่อนๆ ไปรู้จักถึงความสำคัญของการปรับพอร์ต
 
 
การปรับพอร์ตคืออะไร?
 
การปรับพอร์ต หรือ Rebalancing คือ การปรับสัดส่วนของสินทรัพย์ ให้กลับมาอยู่ในสัดส่วนที่เราตั้งเป้าหมายการลงทุนไว้ตั้งแต่แรก สามารถทำได้โดยการขายสินทรัพย์ที่มีสัดส่วนเกินเป้าหมาย และซื้อสินทรัพย์ที่มีสัดส่วนต่ำกว่าเป้าหมาย เพื่อรักษาพอร์ตให้กลับมาสมดุลเหมือนเดิม
 
ยกตัวอย่าง นาย A สามารถรับความเสี่ยงได้ในระดับปานกลาง จึงจัดพอร์ตการลงทุนโดยลงทุนในหุ้น 50% และตราสารหนี้ 50%
 
สมมติว่าในปีนั้นตลาดหุ้นเกิดความผันผวน เป็นขาลง ทำให้สัดส่วนพอร์ตกลายเป็น หุ้น 30% และตราสารหนี้ 70% ซึ่งทำให้พอร์ตนี้กลายเป็นพอร์ตความเสี่ยงต่ำ ไม่ตรงกับเป้าหมายของนาย A ในตอนแรก หากสถานการณ์ยังเป็นแบบนี้ และนาย A ไม่ปรับพอร์ต โอกาสในการสร้างผลตอบแทนจะลดลงไปเรื่อยๆ
 
ในทางกลับกัน หากในปีนั้นตลาดหุ้นเป็นขาขึ้น ทำให้สัดส่วนพอร์ตกลายเป็น หุ้น 70% และตราสารหนี้ 30% พอร์ตนี้จะกลายเป็นพอร์ตความเสี่ยงสูงในทันที แน่นอนว่าช่วยให้นาย A ได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น แต่เป็นพอร์ตที่ไม่ตรงกับความเสี่ยงของนาย A เมื่อตลาดหุ้นพลิกกลับเป็นขาลง จะทำให้พอร์ตมีความเสี่ยงที่จะเสียหายหนักขึ้น อาจทำให้นาย A รับความเสี่ยงตรงนี้ไม่ไหว
 
ดังนั้นการปรับพอร์ตในปีที่ตลาดหุ้นเป็นขาลง คือ นาย A ควรทำการขายตราสารหนี้ และซื้อหุ้นกลับมา และในปีที่ตลาดเป็นขาขึ้น นาย A ควรทำการขายหุ้น และซื้อตราสารหนี้ เพื่อรักษาพอร์ตให้สมดุล อยู่ในระดับความเสี่ยงปานกลางเช่นเดิม
 
ทำไมต้องปรับพอร์ต?
 
จากตัวอย่างด้านบน เพื่อนๆ จะเห็นแล้วว่าการปรับพอร์ต เป็นการลดความเสี่ยงโดยรวมของพอร์ต ไม่ให้เสี่ยงสูงเกินไป เพราะในวันที่สภาวะตลาดเปลี่ยนแปลง อาจทำให้มูลค่าพอร์ตลดลง จนส่งผลกระทบต่อเป้าหมายด้านอื่นๆ ในชีวิต เช่น สภาพคล่อง เพราะเมื่อมูลค่าของพอร์ตไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ทำให้เราอาจจะต้องดึงเงินส่วนอื่นมาใช้แทน ซึ่งจะส่งผลต่อสภาพคล่องในอนาคต
 
อีก 1 เหตุผลที่นักลงทุนควรปรับพอร์ต คือ ช่วยเพิ่มโอกาสในการรับผลตอบแทนที่มากขึ้นด้วยเช่นกัน ในวันที่ตลาดเป็นขาลง เราสามารถมองหาหุ้นหรือกองทุนหุ้นที่น่าสนใจ ในราคาที่ลดต่ำลงมาได้มากขึ้น เมื่อตลาดกลับมาเป็นขาขึ้น แล้วเราได้ลงทุนในหุ้นและกองทุนที่มีคุณภาพแล้ว จะช่วยให้เรามีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้น
 
ทำไมนักลงทุนบางคนถึงไม่อยากปรับพอร์ต?
 
ถ้าลองนึกภาพว่า เราลงทุนด้วยเงิน 1,000,000 บาท แบ่งเป็นหุ้น 500,000 บาท และตราสารหนี้ 500,000 บาท ในวันที่ตลาดหุ้นเป็นขาขึ้น ได้กำไรเพิ่มมา 100,000 บาท รู้ทั้งรู้ว่าเกินสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสม แต่เราก็ไม่อยากขายกำไรส่วนนี้ออกไปซื้อตราสารหนี้
 
หรือในวันที่ตลาดหุ้นเป็นขาลง ขาดทุนไป 100,000 บาท เราก็อยากลงทุนในสินทรัพย์ที่ปลอดภัยอย่างตราสารหนี้มากกว่า ไม่อยากขายออกมาเพื่อไปซื้อหุ้นในตลาดขาลงแบบนี้ ทั้งๆ ที่เป็นโอกาสที่ดีในได้เพิ่มสัดส่วนหุ้นในวันที่ราคากำลังน่าสนใจ
 
Source: vanguard.com
 
ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นกับเรา เราเองก็คงไม่อยากปรับพอร์ตเหมือนกัน แต่ในเมื่อเราตั้งใจจะลงทุนในระยะยาว การที่เราปรับพอร์ตให้สัดส่วนเป็นไปตามที่ตั้งใจไว้ จะช่วยให้ไปถึงเป้าหมายได้ดีกว่า จากภาพด้านบนแสดงให้เห็นการเปรียบเทียบกันระหว่างปรับพอร์ตรายปี (คอลัมน์ซ้าย) กับ ไม่ปรับพอร์ตเลย (คอลัมน์ขวา) จะเห็นว่าหากไม่ปรับพอร์ตเลย มีช่วงที่มีสัดส่วนของหุ้นสูงถึง 97% แต่สุดท้ายแล้วผลตอบแทนเฉลี่ยของพอร์ตกลับใกล้เคียงกันมากๆ อยู่ที่ 8.1% และ 8.9% ต่อปี สิ่งที่แตกต่างอีก 1 อย่างคือค่าความผันผวน เมื่อเราปรับพอร์ตให้ใกล้เคียงกับสัดส่วนที่ตั้งใจไว้ทุกปี พอร์ตเราจะมีความผันผวนที่ 9.9% ในขณะที่ถ้าไม่ปรับพอร์ตเลยจะมีความผันผวนมากกว่าอยู่ที่ 13.2%
 
เป็นข้อสรุปได้ว่าการปรับพอร์ตเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่เราควรปรับเมื่อไหร่ล่ะ?
 
ควรปรับพอร์ตเมื่อไหร่?
  • กำหนดเป็นช่วงเวลา เช่น ทุก 6 เดือน หรือ ทุก 1 ปี โดยไม่ได้สนใจว่าสัดส่วนของพอร์ตเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยเพียงใด
  • กำหนดเป็นเป้าหมายกำไรและขาดทุน เช่น จะปรับพอร์ต 1 ครั้ง เมื่อพอร์ตของเรากำไรหรือขาดทุน 10% หรือ 15%
  • กำหนดทั้งช่วงเวลาและเป้าหมาย เช่น จะปรับพอร์ตทุกๆ 6 เดือน หากพอร์ตกำไรหรือขาดทุน 10% แต่เมื่อถึงเวลานั้นแล้วพอร์ตไม่ได้กำไรหรือขาดทุนตามที่ตั้งเป้าไว้ จะยังไม่ปรับพอร์ตในรอบนั้น รอรีวิวพอร์ตอีกครั้งในอีก 6 เดือนถัดไป

โดยสรุปแล้วจะเห็นว่าการปรับพอร์ตนั้นสามารถควบคุมความเสี่ยงได้ดีกว่าการไม่ปรับพอร์ตเลย ซึ่งความถี่ในการปรับพอร์ตขึ้นอยู่กับพอร์ตของนักลงทุนว่าสัดส่วนเป็นอย่างไร เมื่อเวลาผ่านไปแล้วเปลี่ยนแปลงจากที่ตั้งเป้าหมายไว้มากน้อยแค่ไหน แต่เราไม่จำเป็นต้องปรับพอร์ตทุกเดือน เพราะทุกครั้งที่มีการซื้อขาย เท่ากับเราจะต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่ม ทำให้ผลตอบแทนที่ควรได้รับ ลดน้อยลงไปอีกsmiley
แท็กที่เกี่ยวข้อง ลงทุนหุ้น Rebalancing ปรับพอร์ตการลงทุน
Economy Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Economy Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่

แนะนำ Big bike ล่าสุด

ดูทั้งหมด
Suzuki | Burgman
ซูซูกิ Suzuki Burgman 400 ABS ปี 2024
Honda | Forza
ฮอนด้า Honda Forza 350 Special Edition H2C by Honda ปี 2025
Kawasaki | Ninja
คาวาซากิ Kawasaki Ninja ZX-6R ปี 2025
Yamaha | XMAX
ยามาฮ่า Yamaha XMAX Connected ปี 2025
Triumph | Tiger
ไทรอัมพ์ Triumph Tiger Sport 660 ปี 2025
Harley-Davidson | Pan America 1250
ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน Harley-Davidson Pan America 1250 ST ปี 2025
Ducati | Panigale
ดูคาติ Ducati Panigale V2 ปี 2025
Honda | ADV
ฮอนด้า Honda ADV 350 (Standard) ปี 2025



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)