เริ่มต้นจัดพอร์ตลงทุน ต้องรู้อะไรบ้าง?

icon 21 เม.ย. 65 icon 2,040
เริ่มต้นจัดพอร์ตลงทุน ต้องรู้อะไรบ้าง?
 
หลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินคำว่า “อย่าใส่ไข่ไว้ในตะกร้าเดียวกัน” เพราะเมื่อตะกร้าหล่น เราอาจไม่เหลือไข่เลยสักใบ เปรียบเทียบกับการลงทุนได้ว่า เราไม่ควรลงทุนแค่เพียงสินทรัพย์เดียว เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่มากระทบกับสินทรัพย์นั้น อาจทำให้เงินของเราหายไปด้วย บทความนี้จะพาเพื่อนๆ มารู้จักกับการจัดพอร์ตการลงทุน ว่าคืออะไร สำคัญอย่างไร และควรจัดพอร์ตแบบไหนเพื่อให้แผนการลงทุนของเราประสบความสำเร็จ
 

การจัดพอร์ตการลงทุนคืออะไร?


การจัดพอร์ตการลงทุน หรือ Asset Allocation คือ การที่เรากระจายความเสี่ยงด้วยการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ ทั้งหุ้น ตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ ทองคำ เป็นต้น เพื่อประคองให้พอร์ตการลงทุนโดยรวมของเราสามารถผ่านพ้นไปได้ทุกวิกฤตทางการเงิน 
 
ยกตัวอย่าง หากเราลงทุนในหุ้นเพียงสินทรัพย์เดียว เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ อาจทำให้ราคาหุ้นลดลง 50% แต่เมื่อจัดเป็นพอร์ตการลงทุน แน่นอนว่าเกิดการขาดทุนได้ แต่จะไม่ขาดทุนเท่าการถือครองหุ้นเพียงสินทรัพย์เดียว ในทางกลับกัน เมื่อราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 50% พอร์ตของเราก็จะกำไรไม่ถึง 50% เพราะสินทรัพย์อื่นๆ ไม่ได้ขึ้นตามไปด้วย
แต่หัวใจหลักของการจัดพอร์ตการลงทุน ก็คือการกระจายความเสี่ยง ป้องกันไม่ให้พอร์ตโดนกระทบมากนักเมื่อเกิดเหตุการณ์เข้ามา
 

ความสำคัญของการจัดพอร์ตการลงทุน

 

ภาพตารางผลตอบแทนสินทรัพย์จาก Novel Investor

ที่มา: Novelinvestor.com

จากตารางด้านบน เป็นตารางที่แสดงผลตอบแทนของแต่ละสินทรัพย์ในแต่ละปีของสินทรัพย์เฉลี่ยทั่วโลก โดยในแต่ละปี จะเรียงสินทรัพย์ที่มีผลตอบแทนมากที่สุดไปน้อยที่สุด จากด้านบนลงล่าง จะเห็นว่า...

ในปี 2007 สินทรัพย์ที่มีผลตอบแทนที่ดีที่สุดคือ Emerging Market (EM) หรือหุ้นตลาดเกิดใหม่ ได้ผลตอบแทนที่ 39.8% แต่ในปีถัดมา กลับเป็นสินทรัพย์ที่มีผลตอบแทนต่ำที่สุด โดยขาดทุนอยู่ที่ -53.2%

ในปี 2008 และ 2018 ที่เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ สินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุด กลับเป็นกลุ่มตราสารหนี้และเงินสด จากเหตุการณ์จริงเหล่านี้ ทำให้เห็นว่าไม่มีสินทรัพย์ใดที่ให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดตลอดเวลา และไม่มีสินทรัพย์ใดที่ให้ผลตอบแทนต่ำที่สุดตลอดเวลาเช่นกัน

ในตารางจะเห็นตัวอักษร AA ย่อมาจาก Asset Allocation Portfolio หรือการจัดพอร์ตการลงทุนนั่นเอง โดยมีการลงทุนในตราสารทุน 50% ทั้งหุ้นขนาดใหญ่ หุ้นขนาดเล็ก อสังหาริมทรัพย์ 10% และตราสารหนี้ 40% การจัดพอร์ตแบบนี้ทำให้ผลตอบแทนอยู่ในระดับกลาง ไม่สูงที่สุดแต่ก็ไม่ต่ำที่สุด ในปี 2008 แต่หุ้นตลาดเกิดใหม่ติดลบไปถึง -53.2% แต่การจัดพอร์ตช่วยประคองให้พอร์ตติดลบที่ -22.4%

 

ควรจัดพอร์ตการลงทุนอย่างไร

 

พอร์ตการลงทุนสามารถแบ่งได้ 3 ระดับความเสี่ยง

  1. พอร์ตการลงทุนเสี่ยงต่ำ เหมาะกับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ในระดับต่ำ หรือมีเป้าหมายการลงทุนระยะสั้น ไม่เกิน 3 ปี
  2. พอร์ตการลงทุนเสี่ยงปานกลาง เหมาะกับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ในระดับปานกลาง หรือมีเป้าหมายการลงทุนระยะปานกลาง 3-7 ปี
  3. พอร์ตการลงทุนเสี่ยงสูง เหมาะกับผู้ที่รับความเสี่ยงได้สูง หรือมีเป้าหมายการลงทุนระยะยาวมากกว่า 7 ปีขึ้นไป
 


ผลตอบแทนที่คาดหวังจากแต่ละสินทรัพย์
 

  • กองทุนตลาดเงินเฉลี่ย 1% ต่อปี
  • กองทุนตราสารหนี้เฉลี่ย 3% ต่อปี
  • กองทุนตราสารทุนเฉลี่ย 8% ต่อปี
 
 

ดังนั้นผลตอบแทนที่คาดหวังของแต่ละพอร์ตการลงทุนคือ

 
  • พอร์ตเสี่ยงต่ำ คาดหวังผลตอบแทนที่ 3.4% ต่อปี
  • พอร์ตเสี่ยงกลาง คาดหวังผลตอบแทนที่ 5.1% ต่อปี
  • พอร์ตเสี่ยงสูง คาดหวังผลตอบแทนที่ 7.1% ต่อปี
และนี่ก็คือสิ่งที่ควรรู้สำหรับการจัดพอร์ตการลงทุน เพื่อนๆ สามารถนำไปปรับใช้กับแผนการลงทุนตามเป้าหมายของเพื่อนๆ ได้ ทีมงานหวังว่าบทความนี้จะมีส่วนช่วยให้เพื่อนๆ ประสบความสำเร็จในการลงทุนกันทุกคน
 
 
แท็กที่เกี่ยวข้อง การลงทุน วางแผนการเงิน ตลาดหุ้น พอร์ตหุ้น
Economy Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Economy Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)