ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

การเลือกกองทุน REIT ต้องดูอะไรบ้าง?

icon 11 ก.ย. 60 icon 279
การเลือกกองทุน REIT ต้องดูอะไรบ้าง?

การเลือกกองทุน REIT ต้องดูอะไรบ้าง?

การลงทุนใน REIT หรือ Property Fund นั้น คือการลงทุนโดยอ้อมในอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิการเช่า ซึ่งมีปัจจัยที่จะต้องพิจารณา ดังนี้

1. อัตราเงินปันผลตอบแทน

คือเงินปันผลต่อปีที่มักจะจ่ายให้กับนักลงทุน เมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของราคาขายหน่วยลงทุน ซึ่งอาจจะดูได้จากอัตราที่เคยจ่ายในปีก่อนๆ หรืออัตราที่สัญญาว่าจะจ่าย (ในกรณีที่เป็นกองออกใหม่) ผู้ลงทุนจะต้องพิจารณาว่าอัตราผลตอบแทนที่จะได้รับนั้นเพียงพอหรือไม่
อย่างไรก็ตาม มีข้อควรระวังก็คือ
  • อัตราที่เคยจ่ายได้ในอดีตอาจจะไม่สามารถจ่ายได้ในปีต่อๆ ไป นักลงทุนต้องวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการจ่ายในอนาคตเอง
  • อัตราที่สัญญาว่าจะจ่าย มักจะสัญญาไว้เป็นระยะเวลานึงเท่านั้น (ส่วนมากจะแค่ 2 - 3 ปี) หลังจากนั้นการจ่ายปันผลจะขึ้นอยู่กับกำไรในการประกอบการ ซึ่งอาจจะต่ำกว่าอัตราที่สัญญาว่าจะจ่าย

2. ดูงบการเงินในอดีต และคาดการณ์ในอนาคต

ควรพิจารณาว่าผลประกอบการในอดีต (และในอนาคต)นั้นมีกำไร สอดคล้องกับการจ่ายปันผลหรือไม่ ถ้ามีกำไรต่ำ (หรือขาดทุน) แต่ปันผลสูง ก็มีแนวโน้มว่าในอนาคตปันผลอาจจะลดลงมาได้

3. ทำเล และศักยภาพในการสร้างรายได้ของอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนนั้นๆ

นักลงทุนควรที่จะพิจารณาว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นๆ อยู่ในทำเลที่ดีหรือไม่ เช่น ห้างสรรพสินค้าหรืออาคารสำนักงานก็ควรที่จะอยู่ในย่านธุรกิจหรือที่ชุมชนที่การเดินทางไปมาสะดวก นอกจากนี้ต้องดูว่าการแข่งขันในทำเลรอบๆเป็นอย่างไร มีคู่แข่งเยอะหรือไม่ และมีอุปทานล้นตลาดหรือไม่ อัตราค่าเช่าเป็นอย่างไร และมีโอกาสที่จะปรับค่าเช่าขึ้นได้หรือไม่

4. เป็นการขายกรรมสิทธิ์ขาด (Free Hold) หรือเป็นสัญญาเช่าระยะยาว (Lease Hold)

ถ้าอสังหาริมทรัพย์ในกองนั้นเป็น Free Hold จะสามารถมีมูลค่าเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต เมื่อที่ดินรอบๆ มีการพัฒนาขึ้น และ อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ในอนาคตกองทุน REIT นั้นๆ อาจขายทรัพย์ออกมาโดยที่มีกำไรจากมูลค่าที่เพิ่มขึ้นได้
ส่วนถ้าอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็น Lease Hold ถ้าระยะเวลาในการเช่าลดลงเรื่อยๆตามเวลา นั้นหมายถึงโอกาสในการเก็บค่าเช่าหรือได้รับรายได้จากทรัพย์นั้นๆ จะลดลงไปด้วย และมูลค่าจะกลายเป็นศูนย์เมื่อหมดสัญญาเช่า ดังนั้นมูลค่าของกองทุนประเภทนี้จะลดลงตามเวลา แต่มักจะให้อัตราเงินปันผลที่สูงกว่า แต่ต้องไม่ลืมว่าด้วยมูลค่ากองทุนที่ลดลงเรื่อยๆ เปรียบเสมือนเป็นการจ่ายคืนเงินต้นมาด้วยนั่นเอง (พอหมดมูลค่าไปตามเวลา เท่ากับว่าเงินต้นเหลือศูนย์)

5. บริษัทที่เป็นผู้รับบริหารกองทุน และโครงการอสังหาริมทรัพย์นั้นมีความสามารถในการบริหารจัดการได้หรือไม่

บุคลากรที่บริหารนี้จะต้องทำหน้าที่ที่สำคัญต่างๆ ที่มีผลต่อมูลค่าและรายได้ของทรัพย์นั้นๆ ในอนาคตด้วย เช่น
  • การคัดเลือกหาผู้เช่า
  • การเจรจาต่อรองค่าเช่า และเก็บค่าเช่า
  • การดูแลรักษา และปรับปรุงซ่อมแซมอสังหาริมทรัพย์ให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ
  • การควบคุมค่าใช้จ่าย และต้นทุนในการดำเนินงาน
  • การพิจารณาจ่ายเงินปันผล
  • โครงการลงทุนใหม่ๆ ที่จะสร้างมูลค่าเพิ่ม

6. สภาพคล่องของกองทุนนั้นๆ

ในกรณีที่ต้องการจะซื้อขาย จะต้องพิจารณาว่ากองทุนนั้นมีปริมาณการซื้อขายมากน้อยเพียงใด ซึ่งถ้ามีปริมาณการซื้อขายน้อยเกินไป การที่จะซื้อหรือขายก็จะทำได้ยาก ไม่เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการสภาพคล่อง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก TERRABKK
แท็กที่เกี่ยวข้อง
Economy Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Economy Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่

แนะนำ Big bike ล่าสุด

ดูทั้งหมด
Suzuki | Burgman
ซูซูกิ Suzuki Burgman 400 ABS ปี 2024
Honda | Forza
ฮอนด้า Honda Forza 350 Special Edition H2C by Honda ปี 2025
Kawasaki | Ninja
คาวาซากิ Kawasaki Ninja ZX-6R ปี 2025
Yamaha | XMAX
ยามาฮ่า Yamaha XMAX Connected ปี 2025
Triumph | Tiger
ไทรอัมพ์ Triumph Tiger Sport 660 ปี 2025
Harley-Davidson | Pan America 1250
ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน Harley-Davidson Pan America 1250 ST ปี 2025
Ducati | Panigale
ดูคาติ Ducati Panigale V2 ปี 2025
Honda | ADV
ฮอนด้า Honda ADV 350 (Standard) ปี 2025



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)