จ่ายเงินแบบไร้สัมผัส (Contactless Payment) Save ตัวเองจากโควิด บ้านเราจ่ายกันได้กี่วิธีแล้ว ดูได้ที่นี่

icon 10 ม.ค. 65 icon 21,170
จ่ายเงินแบบไร้สัมผัส (Contactless Payment) Save ตัวเองจากโควิด บ้านเราจ่ายกันได้กี่วิธีแล้ว ดูได้ที่นี่
แต่ละวันเคยถามตัวเองกันไหมครับว่า ในกระเป๋าสตางค์มีเงินสดกันอยู่เท่าไหร่? กระแสการชำระเงินแบบไร้สัมผัส (Contactless Payment) มีมาเกือบ 10 ปีแล้ว แต่เริ่มจะมากระแสติดขึ้นเรื่อยๆ พร้อมๆ กับ SMARTPHONE ที่ฉลาด และทำอะไรได้มากขึ้น ประกอบกับ Covid-19 ก็เป็นตัวเร่งให้เราลดการสัมผัส หรือลดการเก็บเหรียญ หรือเงินสดไว้กับตัว พร้อมทั้งมาตรการรัฐอย่าง "คนละครึ่ง" ก็ทำให้การชำระเงินแบบไร้สัมผัสง่าย และทำได้หลายช่องทางมากขึ้นเรื่อยๆ วันนี้ เรามาดูกันครับว่า ถ้าไม่ต้องพกเงินสด และใช้เงินแบบไร้สัมผัสอย่างเดียว จะมีกี่วิธี หรือต้องมีอุปกรณ์อะไรบ้าง
 Contactless Payment คืออะไร
การชำระเงินแบบไร้สัมผัส (Contactless Payment) คือ การชำระเงินโดยไม่ต้องมีการส่งมอบบัตร เงินสด หรือเหรียญให้กับร้านค้า แต่จะเป็นวิธีการชำระเงินโดยใช้อุปกรณ์ (เช่น โทรศัพท์ Smartphone) กดเงินโอนผ่านแอปที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายธนาคาร หรือเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการ E-Wallet ในอุปกรณ์เหล่านั้นเพื่อทำธุรกรรมการเงินอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออีกวิธีก็คือการใช้บัตร หรืออุปกรณ์ (เช่น โทรศัพท์ Smartphone หรือนาฬิกา Smartwatch) แตะห่างๆ ในระยะไม่เกิน 5 ซม. (หรือ 2 นิ้ว) ค้างไว้ประมาณ 1-2 วินาที บนอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านเทคโนโลยีที่เรียกว่า RFID (Radio Frequency Identification หรือระบบการชี้เฉพาะด้วยคลื่นความถี่วิทยุ) หรือ NFC (Near Field Communication หรือเสาอากาศสื่อสารระยะใกล้) เพื่อให้มีการทำธุรกรรมทางการเงินอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทั้งหมดนี้ โดยไม่ต้องมีการลงลายมือชื่อ ไม่มีใครมาจับบัตร และไม่มีใครมาสัมผัสโทรศัพท์มือถือ หรือนาฬิกาของเรา
 จะจ่ายหรือโอนเงินแบบ Contactless ทำแบบไหนได้บ้าง
ปัจจุบันทำได้ 3 วิธีหลักๆ คือ (ก) จ่ายหรือโอนผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟน (Mobile Contactless) (ข) จ่ายผ่านบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต (Contactless Card) ที่ทั้งตัวบัตรเอง และร้านค้าจะต้องเป็นแบบรองรับการชำระแบบไร้สัมผัสได้ (ค) จ่ายผ่านอุปกรณ์สวมใส่ (Wearable Contactless) เช่น Fitbit หรือ Garmin

1. ใช้มือถือจ่ายผ่านแอปฯ ธนาคาร ด้วยคำสั่งโอนเงิน

วิธีนี้ง่ายที่สุด โดยฝั่งคนซื้ออย่างต่ำคือต้องมีบัญชีเงินฝากกับธนาคาร และดาวน์โหลดแอปฯ ของธนาคารนั้นๆ และเข้าไปลงทะเบียนในแอปให้เรียบร้อย จากนั้นเวลาไปที่ร้านค้าคนขาย ก็บอกเค้าว่าจ่ายแบบเงินโอน แต่ความยุ่งยากของวิธีนี้คือ ทางร้านค้าต้องคอยบอกเบอร์บัญชีเรา และเราก็ต้องค่อยๆ กรอกเลขบัญชีธนาคารของร้านค้า วิธีนี้เงินในบัญชีของเราจะโดนตัดทันทีตามจำนวนตัวเลขที่กรอก หรือชำระ 

2. ใช้มือถือจ่ายผ่านแอปฯ ธนาคาร ด้วยการยิง QR Code

วิธีนี้คล้ายกับวิธีแรก โดยขั้นตอนฝั่งคนซื้อก็คือต้องทำเหมือนวิธีแรกหมดเลย เพียงแต่ฝั่งคนขายจะต้องมีโทรศัพท์มือถือ หรือแผ่น QR Code ให้เรา (ตัวอย่าง QR Code ของจริงข้างล่างในปั๊มน้ำมัน Shell) ตอนซื้อของ เราก็แค่ส่องกล้องโทรศัพท์มือถือสแกน QR-Code หรือเปิดแอปฯ ธนาคาร แล้วหาฟังก์ชั่น Scan จากนั้นก็สแกน QR Code ของร้านค้า วิธีนี้เงินในบัญชีของเราจะโดนตัดทันทีตามจำนวนตัวเลขที่กรอก หรือชำระ  

ขอบคุณภาพจาก www.shell.co.th

3. ใช้มือถือจ่ายผ่านแอปฯ ธนาคาร ผ่าน PromptPay (พร้อมเพย์)

วิธีนี้คล้ายกับ 2 วิธีแรกเลย โดยขั้นตอนฝั่งคนซื้อก็คือต้องทำเหมือน 2 วิธีแรกเช่นกัน เพียงแต่ฝั่งคนขายบอกเราแค่เบอร์โทรศัพท์ หรือเลขบัตรประชาชนที่เชื่อมกับ Promptpay หรือยื่น QR Code ที่เขียนว่า Promptpay ให้เรา ตอนซื้อของ เราก็แค่ส่องกล้องโทรศัพท์มือถือสแกน QR-Code หรือเปิดแอปฯ ธนาคาร แล้วหาฟังก์ชั่นโอนแบบ Promptpay จากนั้นก็สแกน หรือกดเบอร์ได้เลย วิธีนี้เงินในบัญชีของเราจะโดนตัดทันทีตามจำนวนตัวเลขที่กรอก หรือชำระเช่นกัน

4. ใช้มือถือจ่ายผ่านแอปฯ ผู้ให้บริการ e-Wallet ในมือถือ 

วิธีนี้จะ Complicated ขึ้นนิดนึงกว่า 3 วิธีแรก คือต้องดาวน์โหลดแอปฯ ของผู้ให้บริการ e-wallet ในเมืองไทย ซึ่งหลักๆ ก็จะมี Rabbit Line Pay, TrueMoney, ShopeePay และ Dolfins (ดูตัวอย่างบางส่วนได้ที่นี่ "Rabbit LinePay และ True Money Wallet หรือ Dolfin e-Wallet) จากนั้นก็ต้องเติมเงินเข้ากระเป๋า e-Wallet หรือผูกกับบัตรเครดิต หรือผูกแอปฯ ธนาคารเพื่อโอนเงิน วิธีนี้จะมีข้อจำกัดนิดหน่อยคือ ร้านค้าริมทาง หรือตามตลาดสด อาจไม่สามารถรองรับ e-Wallet เหล่านี้ได้ แต่วิธีนี้ก็จะมีข้อดีคือ ผู้ให้บริการเหล่านี้จะมีโปรโมชั่น หรือส่วนลดเชื่อมต่อกับหลายๆ ร้านค้าให้เราได้ใช้ซื้อของลดราคา หรือสะสมแต้มอยู่เรื่อยๆ

5. ใช้บัตรเครดิตหรือเดบิตที่รองรับ CONTACTLESS แตะหรือลิ้งค์ผ่าน SAMSUNG / HUAWEI PAY

วิธีนี้เราต้องมีบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิตที่ใหม่นิดนึง โดยบัตรที่จะใช้แบบไร้สัมผัสจะต้องมีสัญลักษณ์ Contactless ตามรูปข้างล่างนี้ (จำง่ายๆ ว่าคล้ายเครื่องหมาย "Wifi" แต่เอียงข้าง) ทั้งบนตัวบัตร และบนเครื่องรับชำระที่รองรับ หรือตู้เอทีเอ็ม

บนทางด่วน เช่น เส้น "ด่วนศรีรัช-อุดรรัถยา" ก็สามารถจ่ายค่าผ่านทางด้วยบัตร VISA-MASTERCARD ได้แล้ว

เครื่องรับชำระเงิน EDC รุ่นใหม่ของธนาคารกรุงเทพ ที่ติดตั้งในห้างเทสโก้ โลตัสเพื่อรองรับการชำระเงินแบบไร้สัมผัส
การชำระเงินแบบไร้สัมผัสที่ใช้บัตรนี้ จะใช้เทคโนโลยีแบบไร้สายในพิกัดสั้นเพื่อทำการชำระเงินอย่างปลอดภัยระหว่างบัตรแบบไร้สัมผัสประกอบกับเครื่องรับชำระแบบไร้สัมผัส บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตที่รองรับก็จะเป็นบัตรในกลุ่ม วีซ่า เพย์เวฟ (VISA Paywave) มาสเตอร์การ์ด เพย์พาส (MasterCard PayPass) ยูเนี่ยนเพย์ ควิกพาส (UnionPay QuickPass) และเจ-สปีดี้ (J/Speedy) ของเจซีบี เป็นต้น โดยใช้เทคโนโลยี NFC หรือบัตรแบบไร้สัมผัสพวกนี้จะมีการฝังชิปการ์ดที่มีเสาอากาศสื่อสารระยะใกล้ และเมื่อแตะบัตรกับเครื่องรับชำระเงินแบบไร้สัมผัส ระบบจะส่งการชำระเงินของคุณไปเพื่อขออนุมัติ โดยที่ไม่จำเป็นต้องเสียบหรือรูดบัตร ให้ยุ่งยาก และไม่จำเป็นต้องเซ็นชื่ออีกด้วย (แต่ถ้าชำระเงินตั้งแต่ 1,500 บาท ขึ้นไป ต้องใส่ PIN 6 หลัก ที่เครื่องรับชำระเงินด้วย) นอกจากนี้เราสามารถเชื่อมบัตรบัตรเครดิต/เดบิตกับมือถือที่มีระบบ NFC เพื่อใช้มือถือในการแตะเพื่อจ่ายได้เช่นกัน ในประเทศไทยตอนนี้ใช้ได้อยู่ 2 ระบบ คือ Samsung Pay และ Huawei Pay แต่ก็ยังไม่เป็นที่นิยมกันมากนักในตอนนี้

6. ใช้อุปกรณ์ Wearable ที่รองรับ Contactless จ่ายเงิน

หากใครมีอุปกรณ์ Wearable ที่รองรับการจ่ายเงินแบบไร้สัมผัส เช่น นาฬิกา Garmin และ Fitbit เฉพาะรุ่นที่รองรับ (Garmin Fenix 6, Fitbit Versa เป็นต้น ("Fitbit pay" การชำระสินค้ารูปแบบใหม่ ของบัตรเครดิต KTC) และมีบัตรเครดิต หรือเดบิตที่สามารถจ่ายแบบไร้สัมผัสได้ (ซึ่งก็คือกลุ่มบัตร Visa Pay Wave และ Mastercard Pay Pass และอื่นๆ ที่พูดถึงในข้อ 5 ข้างบน) และนำบัตรเหล่านั้นมาผูกกับ Wearable พวกนี้ได้ ก็สามารถใช้ฟังก์ชั่น Pay แบบไร้สัมผัสใน Wearable ได้ผ่าน Garmin Pay และ Fitbit Pay ส่วนใหญ่จะใช้ระบบในการชำระเงินด้วย เทคโนโลยี NFC (Near Field Communication) และการสแกน QR Code (แต่ไม่ใช่ว่าบัตรทุกธนาคารจะทำได้นะครับ ตัวอย่างเช่น ถ้าใช้ Garmin Pay จะสามารถเชื่อมต่อได้กับเฉพาะ 3 ธนาคารเท่านั้นในขณะนี้ คือ SCB, KTC และ Kbank) โดยวิธีการก็คือใส่รายละเอียดบัตร และผูกบัตรนั้นเข้าไปใน Wearable นั้นๆ ผ่านแอปฯ Fitbit หรือ Garmin Connect Mobile จากนั้นเวลาใช้ก็ใช้ได้กับร้านค้าที่มีเครื่องหมาย การรับชำระแบบ Contactless บนเครื่องรับชำระ

ใครใส่นาฬิกา Garmin (เฉพาะรุ่นที่รองรับ) ก็สามารถผูกกับบัตรเครดิต KTC เพื่อใช้ระบบชำระแบบไร้สัมผัสได้
 ข้อดี และข้อควรรู้ในการชำระเงินแบบไร้สัมผัส
ปิดท้ายกันที่ข้อดี และข้อควรรู้ของการชำระเงินแบบไร้สัมผัส ที่ไม่ว่าจะสะดวก และมีข้อดีมากแค่ไหน ก็ยังคงมีข้อควรระวังในการใช้ด้วย ดังนี้

ข้อดี

  • ปลอดภัยในเชิงสุขภาพ คือปลอดภัยจากการที่คนอื่นสัมผัสบัตรของเรา และปลอดภัยจากการที่เราไม่ต้องจับเงินสดที่อาจไม่สะอาด หรือมีติดเชื้อมา
  • ปลอดภัยในเรื่องบัตรสูญหายหรือโดนลักลอบ คือเราไม่ต้องยื่นบัตรให้พนักงานนำไปรูดหรือสอดเข้าไปในเครื่อง ทำให้ไม่ต้องกลัวหาย หรือถูกนำไปปลอมแปลงหรือใช้ข้อมูลหน้าบัตรหลังบัตร เพราะบัตรจะอยู่กับเราตลอด

ข้อควรรู้

  • การเข้าถึงเทคโนโลยียังไม่เพียงพอ คือผู้บริโภคและผู้ประกอบการจำนวนมากยังเข้าไม่ถึงเทคโนโลยีที่จำเป็นในการทำ Contactless Payment ได้ เช่น กลุ่มผู้บริโภคที่ยังไม่มีอุปกรณ์ Smart Phone ที่รองรับ หรือร้านค้าที่ยังไม่มีเครื่องรองรับซึ่งส่วนมากเป็นธุรกิจขนาดเล็ก
  • ความไม่ปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล คือ เนื่องจากในปัจจุบันอุปกรณ์สื่อสารอย่างสมาร์ทโฟนเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลสำคัญหลายประเภทของผู้บริโภค การใช้อุปกรณ์ที่มีข้อมูลส่วนตัวจำนวนมากในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นนั้นอาจนำไปสู่ความเสี่ยงของการรั่วไหลของข้อมูลได้ ผู้พัฒนาเทคโนโลยีจึงควรเร่งสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคในประเด็นนี้เพื่อให้การชำระเงินรูปแบบนี้เติบโตต่อไปได้
เงินสด บัตรเครดิต หรือบัตรเดบิตที่เราใช้กันเป็นประจำ เป็นอีกหนึ่งแหล่งสะสมเชื้อโรค ที่เรามักมองข้ามเสมอ แต่เมื่อถึงเวลาที่เราต้องดูแลความสะอาดกันมากขึ้นในช่วงที่โควิดระบาด หรือจะเพื่อความปลอดภัย ตลอดจนความสะดวกที่ไม่ต้องพกพาเงินสดก็ตาม การจ่ายเงินแบบไร้สัมผัส ก็นับเป็นทางเลือกที่ดีมากๆ อีกทางเลือกหนึ่งนะครับ
แท็กที่เกี่ยวข้อง fitbit garmin pay true money wallet dolfin e-wallet shopeepay contactless payment
Money Guru
เขียนโดย ชัช อนุวัตรอุดม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)