สินเชื่อบ้าน "ผ่อนนาน 70 ปี" จาก ธอส. ที่พร้อมเตรียมวงเงินหมื่นล้าน พ่อแม่กู้ ลูกผ่อนต่อ

ข่าว icon 17 ก.ย. 63 icon 2,459
สินเชื่อบ้าน "ผ่อนนาน 70 ปี" จาก ธอส. ที่พร้อมเตรียมวงเงินหมื่นล้าน พ่อแม่กู้ ลูกผ่อนต่อ


สินเชื่อบ้าน ผ่อนนาน 70 ปี ธอส. เตรียมวงเงิน หมื่นล้านบาท ให้พ่อแม่กู้ ลูกผ่อนต่อ ช่วยผู้มีรายได้น้อยให้มีบ้านง่ายขึ้น คาดปล่อยสินเชื่อได้ไตรมาส 4 ปีนี้

นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ธอส. เตรียมมาตรการสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือ ผู้มีรายได้น้อย "ทูเจน" (Two Gen's) วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท โดยเป็นสินเชื่อบ้าน ผ่อนนาน 70 ปี เพื่อทำให้ผู้มีรายได้น้อย สามารถขอสินเชื่อเพื่อให้มีบ้านได้ง่ายขึ้น
ทั้งนี้ ธอส. จะเสนอให้ รมว. การคลังคนใหม่, ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และคณะกรรมการธนาคาร พิจารณาเห็นชอบ โดยคาดว่า จะเริ่มเปิดให้ยื่นคำขอสินเชื่อได้ภายในไตรมาส 4 ปีนี้
สำหรับหลักการเบื้องต้น สินเชื่อทูเจนจะปล่อยกู้ในอายุสัญญานานถึง 70 ปี ซึ่งเป็นครั้งแรกจากปกติ 30-40 ปี เพื่อเป็นการลดภาระเงินงวดให้กับลูกค้า โดยหากต้องการกู้ 1 ล้านบาท ต้องมีเงินเดือนสุทธิ 1 หมื่นบาท เงินงวดต่อเดือน คาดว่าอยู่ที่ 3,000-4,000 บาท เพดานการปล่อยกู้สูงสุด รายละ 5 ล้านบาท ดอกเบี้ยคงที่ 3 ปีแรก อัตราต่ำสุดในตลาด แต่จะไม่ต่ำกว่าปัจจุบันของ ธอส. ที่ 1.99%
โครงการสินเชื่อผ่อนชำระ 70 ปี จะต้องเป็นการกู้ร่วม โดยพิจารณารายได้ จากผู้กู้หลักก่อน เช่น บิดา มารดา จากนั้นผู้กู้ร่วมที่บรรลุนิติภาวะ เช่น บุตรที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรีจะต้องเป็นผู้รับหน้าที่ผ่อนชำระ หลังผู้กู้หลักเกษียณ โดยแนวทางนี้จะทำให้ผู้มีรายได้น้อยมีบ้านง่ายขึ้น
อย่างไรก็ตาม ผู้กู้ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ยิ่งผ่อนนาน ภาระดอกเบี้ยจ่ายเมื่อเทียบเงินต้นก็จะสูงตามไปด้วย แต่ถ้าลูกหนี้มีศักยภาพก็สามารถปรับโครงสร้างหนี้เพื่อลดภาระดอกเบี้ย ปรับลดงวดผ่อนชำระลงได้ในอนาคต
ด้านภาพรวมการปล่อยสินเชื่อ ธอส. ในปีนี้ คาดว่าจะเป็นไปตามเป้าหมายเดิมที่วางไว้ 2.1 แสนล้านบาท แม้ว่าจะมีการขอปรับลดเหลือ 1.7 แสนล้านบาทก็ตาม เนื่องจากทิศทางตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้ไม่ได้ชะลอตัวกว่าที่คาด โดยเห็นได้จากการทำกำไรของกลุ่มบริษัทที่ยังดีอยู่
นอกจากนี้ยังคาดการณ์ว่าในช่วงที่เหลือของปีนี้จะปล่อยสินเชื่อใหม่ได้ไม่ต่ำกว่า 1.8 หมื่นล้านบาทต่อเดือน โดยล่าสุด 8 เดือนที่ผ่านมาสามารถปล่อยสินเชื่อได้แล้วรวม 1.35 แสนล้านบาท
ส่วนมาตรการพักชำระหนี้ให้ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 รวมกว่า 4 แสนล้านบาท ในส่วนของมาตรการที่ 5 ที่ขยายเวลาพักนี้ 9.8 หมื่นล้านบาท พบว่า มีลูกค้ากลับเข้ามาจ่ายเงินงวดตามปกติแล้ว 87% ส่วนที่เหลืออาจจะมีปัญหาการผ่อนชำระ จึงสั่งให้เร่งติดตามดูแล โดยคาดว่าสิ้นปีนี้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) จะอยู่ที่ 4.8%
จากสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น ธอส. ยังได้จัดโครงการเงินกู้ที่อยู่อาศัยเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติปี 2563 ได้แก่
  1. การลดดอกเบี้ยเหลือ 0% ต่อปี นาน 4 เดือนแรก
  2. ให้กู้เพิ่มหรือกู้ใหม่ ดอกเบี้ย 3.00% ต่อปี คงที่ 3 ปีแรก
  3. ประนอมหนี้ระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี 4 เดือน ดอกเบี้ย 0% ต่อปี 4 เดือน ไม่ต้องชำระเงินงวด
  4. ประนอมหนี้ไม่เกิน 1 ปี ดอกเบี้ย 1% ต่อปี
  5. เสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวรให้ผ่อนชำระดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี
  6. สำหรับที่อยู่อาศัยเสียหายทั้งหลังซ่อมแซมไม่ได้ให้ปลอดหนี้ในส่วนของราคาอาคาร
  7. พิจารณาสินไหมเร่งด่วน (Fast Track) สำหรับลูกค้าที่ทำกรมธรรม์ประกันภัย จ่ายค่าสินไหมเร่งด่วนกรณีกรมธรรม์เริ่มคุ้มครองตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2562 และ
  8. เพิ่มความคุ้มครองตามความเสียหายจริงแต่ไม่เกินภัยละ 30,000 บาทต่อปี ติดต่อขอใช้มาตรการได้ตั้งแต่บัดนี้ถึง 30 ธันวาคม 2563
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0-2645-9000

แท็กที่เกี่ยวข้อง

สินเชื่อบ้านดอกเบี้ยต่ำ สินเชื่อบ้านผ่อนนาน โครงการสินเชื่อบ้าน ธอส.

ข่าวและอีเว้นท์การเงินล่าสุด



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)