อย่าลืม!! ลูกจ้าง-ลูกจ้างชั่วคราว-อาชีพอิสระ ลงทะเบียนขอรับ 5,000 บาท เยียวยาหยุดงานจากวิกฤต COVID-19 เริ่ม 28 มี.ค. 63 นี้

ข่าว icon 26 มี.ค. 63 icon 2,070
อย่าลืม!! ลูกจ้าง-ลูกจ้างชั่วคราว-อาชีพอิสระ ลงทะเบียนขอรับ 5,000 บาท เยียวยาหยุดงานจากวิกฤต COVID-19 เริ่ม 28 มี.ค. 63 นี้


จากสถานการณ์ไวรัส COVID-19 ที่ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบทั้งในด้านสุขภาพ และเศรษฐกิจ ทำให้สถานประกอบการหลายแห่งต้องประกาศปิด หรือหยุดกิจการชั่วคราว เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อ ทั้งนี้ จึงส่งผลทำให้แรงงานที่อยู่นอกระบบประกันสังคม และลูกจ้างรายวัน หรือลูกจ้างชั่วคราว ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก
เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 63 ทางรัฐบาลนำโดย นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลัง นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และนายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร ร่วมกันเปิดเผยถึงมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากไวรัส COVID-19 ต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ระยะที่ 2
โดยมีมาตรการช่วยเหลือผู้รับผลกระทบกลุ่มนี้ ด้วยมาตรการชดเชยรายได้แก่แรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม หรือผู้ได้รับผลกระทบอื่นๆ ของการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เพื่อช่วยเหลือเยียวยาให้กับกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวที่ได้รับผลกระทบจากการหยุดประกอบกิจการของสถานประกอบการที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีคนแออัด เบียดเสียด ง่ายต่อการแพร่เชื้อ เช่น สนามมวย สนามกีฬา ผับ สถานบันเทิง โรงภาพยนตร์ โรงมหรสพ นวดแผนโบราณ สปา ฟิตเนส สถานบริการอื่นๆ เป็นต้น หรือผู้ได้รับผลกระทบอื่นๆ ทั้งนี้ ไม่รวมผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่มีคุณสมบัติครบตามเงื่อนไขการได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากสำนักงานประกันสังคมไม่รวมข้าราชการ และข้าราชการบำนาญ และไม่รวมเกษตรกร (กลุ่มเกษตรกรได้รับความช่วยเหลืออื่นๆ จากรัฐบาลอยู่แล้ว) ทั้งนี้ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จะเป็นผู้รับลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการ เป้าหมายรวมทั้งสิ้น 3 ล้านคน โดยการสนับสนุนเงินช่วยเหลือรายละ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน (เมษายน - มิถุนายน 2563) ผ่านการลงทะเบียนแสดงความจำนงตรวจสอบคุณสมบัติและการโอนเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น พร้อมเพย์ตามเลขบัตรประจำตัวประชาชน โอนเข้าบัญชีธนาคาร กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ส่วนวิธีการขอรับความช่วยเหลือจะเป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงการคลังกำหนด

สรุปคือ... ลูกจ้างที่เดือดร้อนจากการสั่งปิดกิจการ หรือหยุดกิจการชั่วคราว ในช่วงที่เกิดเหตุระบาดของไวรัส COVID-19 นี้ รัฐบาลจะชดเชยรายได้ให้ 5,000 บาทต่อคนต่อเดือน ระยะเวลา 3 เดือน (เมษายน - มิถุนายน 2563) โดยครอบคลุมแรงงาน 3 กลุ่ม คือ
  1. แรงงาน
  2. ลูกจ้างชั่วคราว
  3. อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม
เอกสารที่ต้องเตรียม คือ
  1. บัตรประจำตัวประชาชน
  2. ข้อมูลส่วนบุคคล
  3. ข้อมูลนายจ้าง
วิธีการลงทะเบียนเพื่อรับเงิน มี 2 วิธี คือ
  1. ลงทะเบียนในเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้แรงงานนอกระบบได้ลงทะเบียนใน วันที่ 28 มีนาคม 2563
  2. ลงทะเบียนผ่านสาขาธนาคารรัฐ ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารกรุงไทย
หลังจากนั้นจะได้รับเงินภายใน 5 วันหลังลงทะเบียน (คุณสมบัติครบตามเงื่อนไข) ซึ่งช่องทางการรับเงิน มีให้เลือกทั้งพร้อมเพย์ (PromptPay) ที่ผูกกับเลขบัตรประชาชน หรือผ่านบัญชีธนาคารของตัวเอง

แท็กที่เกี่ยวข้อง

วิกฤตไวรัส covid-19 รับเงินชดเชย 5,000 บาท ลงทะเบียนเงินชดเชยรายได้ สำนักงานประกันสังคม มาตรการเยียวยาจากวิกฤต covid-19

ข่าวและอีเว้นท์การเงินล่าสุด



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)