เปิดค่าบริการ "ทำฟัน" เราจ่ายแค่ไหน ประกันสังคมจ่ายเท่าไหร่ มาดูคำตอบกัน!

icon 20 ก.ค. 61 icon 226,523
เปิดค่าบริการ "ทำฟัน" เราจ่ายแค่ไหน ประกันสังคมจ่ายเท่าไหร่ มาดูคำตอบกัน!

เปิดค่าบริการ "ทำฟัน" เราจ่ายแค่ไหน ประกันสังคมจ่ายเท่าไหร่ มาดูคำตอบกัน!

เช็คสุขภาพการเงินกันมาก็เยอะแล้ว วันนี้เรามาเช็คสุขภาพช่องปากกันบ้างดีกว่าค่ะ ปกติแล้วเพื่อนๆ เช็คสุขภาพช่องปากกันกี่ครั้งต่อปีคะ? สำหรับคนที่ไม่ได้จัดฟัน ปกติก็เช็คปีละ 2 ครั้ง และแต่ละครั้งขอบอกเลยค่ะ ถ้ามีต้องซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอนี่ก็คงโดนไปหลายบาทเลยทีเดียว แต่ก็ยังดีที่เรายังสามารถเบิกบางส่วน (ที่ไม่เคยจะพอ 555) กับหน่วยงานประกันสังคมที่เราจ่ายเงินสมทบเข้าไปทุกเดือนนั่นแหละค่ะ วันนี้เช็คราคาเลยอยากพามาเช็คข้อมูลกันหน่อยว่า ถ้าจะทำฟันต้องทำที่ไหนถึงจะเบิกประกันสังคมได้ และจะสามารถเบิกได้เท่าไหร่ อย่างน้อยๆ เราจะได้เตรียมวางแผนการเงินในส่วนของค่าทำฟันนี้ไว้ล่วงหน้าได้นะคะ 

ใครมีสิทธิ์เบิกประกันสังคมได้

ผู้ที่จะสามารถรับสิทธิ์ทำฟันประกันสังคมต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 และต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันรับบริการทำฟัน โดยสามารถทำเดือนไหนของปีก็ได้ ทั้งนี้หากผู้ประกันตนส่งเงินสมทบครบ 3 เดือน แล้ว แต่ได้ลาออกจากงาน ก็ยังสามารถรับบริการทันตกรรมได้ เพราะสิทธิ์ประกันสังคมยังคงคุ้มครองต่อให้อีก 6 เดือน นับจากวันที่ลาออกนะคะ

ทำฟันที่ไหน ใช้สิทธิ์เบิกประกันสังคมได้

สำหรับการใช้สิทธิ์ประกันสังคม ผู้ประกันตนสามารถรับบริการได้ทั้งโรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชน คลินิกทันตกรรม ที่เป็นสถานพยาบาลที่ประกันสังคมระบุไว้ นอกจากนี้ ทางสำนักงานประกันสังคมได้เพิ่มสิทธิประโยชน์ กรณีทันตกรรมให้กับผู้ประกันตน กรณี อุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน ผ่าฟันคุด ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 900 บาท ต่อราย ต่อปี โดยไม่ต้องสำรองจ่าย สำหรับสถานพยาบาล หรือคลีนิคที่มีสติกเกอร์ หรือป้าย "สถานพยาบาลแห่งนี้ให้บริการผู้ประกันตนกรณีทันตกรรม ทำฟัน ไม่ต้องสำรองจ่าย" (เช็ครายชื่อสถานพยาบาลที่ทำความตกลงกับสำนักงานประกันสังคมในการให้บริการทางการแพทย์กรณีทันตกรรมแก่ผู้ประกันตน)

ตัวอย่างสติกเกอร์

วงเงินที่สามารถเบิกได้จากหน่วยงานประกันสังคมกรณี "ทำฟัน" 

ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาทางทันตกรรมทั้งการขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน ผ่าฟันคุด ในวงเงินรวมไม่เกิน 900 บาทต่อปี หากค่ารักษามากกว่า 900 บาท ผู้ประกันตนต้องรับผิดชอบในส่วนที่เกินนั้นเองค่ะ

เปิดราคาค่า "ทำฟัน" พร้อมเช็คสิทธิ์ที่สามารถเบิกได้จากหน่วยงานประกันสังคม

ไหนๆ ก็จะต้องตรวจเช็คสุขภาพช่องปากกันทุกปีอยู่แล้ว การเลือกสถานพยาบาลก็มีผลกับอัตราค่าบริการด้วยเช่นกันนะคะ วันนี้เช็คราคาขอเปิดค่าบริการทันตกรรมของโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมข้อมูลสิทธิ์ที่เราสามารถเบิกได้จากสำนักงานประกันสังคม ตามรายละเอียดในตารางด้านล่างนี้นะคะ
 รายการให้บริการ       โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ประกันสังคม
                               
                             อัตราค่าบริการ                                                
อัตราค่าบริการที่เบิกได้  
 ระบบการเรียนการสอน  ระบบค่าตอบแทน
 นักศึกษาทันตแพทย์  นักศึกษาหลังปริญญา นายแพทย์ 
 1.ขูดหินปูนทั้งปาก ครั้งละ 100 บาท ครั้งละ 200 บาท  ครั้งละ 700 บาท   400 บาท
2. อุดฟันด้วยวัสดุ Amalgam ด้านละ 50 - 350 บาท ด้านละ 300 - 900 บาท  ด้านละ 400 - 1,800 บาท 
  • 1 ด้าน 300 บาท
  • 2 ด้าน 450 บาท 
3. อุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน ด้านละ 100 - 500 บาท  ด้านละ 350 - 1,000 บาท  ด้านละ 500 - 1,400 บาท 
  •  1 ด้าน
    (ฟันหน้า) 350 บาท
    (ฟันหลัง) 400 บาท


  • 2 ด้าน
    (ฟันหน้า) 400 บาท
    (ฟันหลัง) 500บาท
4. ถอนฟันธรรมดา ซี่ละ 100 บาท  ซี่ละ 100 บาท  ซี่ละ 400 - 700 บาท  (ฟันแท้) 250 บาท 
5. ถอนฟันธรรมดาโดยวิธีผ่าตัด  ซี่ละ 200 บาท ซี่ละ 300 บาท  ซี่ละ 800 - 900 บาท  (ถอนฟันที่ยาก) 450 บาท
6. ผ่าฟันคุด  ซี่ละ 200 บาท  ซี่ละ 300 - 500 บาท  ซี่ละ 2,500 - 4,000 บาท   900 บาท
7. ใส่ฟันเทียมบางส่วนแบบถอดได้ 
  •  ฐานพลาสติก
360 - 800 บาท 800 - 2,000 บาท 1,800 - 4,000 บาท กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้บางส่วน** 
  • 1-5 ซี่ ได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,300 บาท
  • มากกว่า 5 ซี่ เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,500 บาท
 
  •  ฐานโลหะ
1,000 - 1,400 บาท 2,000 - 6,000 บาท  5,000 - 12,000 บาท 
 8. ใส่ฟันเทียมทั้งปาก* 2,000 - 3,000 บาท  2,500 - 7,500 บาท  5,000 - 15,000 บาท   กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปาก**
  • ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปากบน หรือ ล่าง เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 2,400 บาท
  • ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปากบน และ ล่าง เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 4,400 บาท
หมายเหตุ :
  1. อัตราค่าบริการของโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นอัตราค่าบริการโดยประมาณ ทั้งนี้อัตราค่ารักษาที่แท้จริง ทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาจะแจ้งให้ทราบก่อนการรักษา (ข้อมูล ณ วันที่ 13 กรกฎาคม 2561)
  2. *หมายถึง การใส่ฟันไม่รวมค่าวัสดุ และค่า Lab
  3. **เป็นกรณีใช้สิทธิ์ใส่ฟันเทียมแล้ว สามารถเบิกฟันเทียมชุดใหม่ได้อีกเมื่อพ้นระยะเวลา 5 ปี

เห็นค่าใช้จ่ายแบบนี้แล้ว ก็อยากให้รักษาสุขภาพช่องปากกันให้ดีๆ เพราะค่ารักษาพยาบาลค่อนข้างสูง แต่เบิกได้จริงๆ ไม่เยอะเลย สุขภาพช่องปากก็เหมือนสุขภาพการเงิน ที่ต้องหมั่นตรวจเช็คอยู่เสมอนะคะ  "สุขภาพช่องปาก ต้องหมั่นตรวจเช็คให้สะอาดฉันใด สุุขภาพการเงินนั้นไซร้ ก็ควรทำให้ปลอดหนี้ฉันนั้น" ไว้พบกันใหม่บทความหน้า บ๊าย บาย ค่าา :)
แท็กที่เกี่ยวข้อง ประกันสังคม ทำฟัน ทันตกรรม
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)