10 คำตอบ ก่อนตัดสินใจจัดพอร์ตลงทุน

ข่าว icon 27 พ.ย. 58 icon 2,957
10 คำตอบ ก่อนตัดสินใจจัดพอร์ตลงทุน


การบริหารพอร์ตการลงทุนเพื่อวัยเกษียณดูจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อีกต่อไป ยิ่งถ้าเราเริ่มเร็วเท่าไร โอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายได้เร็วก็มีมากขึ้นเท่านั้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องอาศัยการปรับพอร์ตโดยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญมืออาชีพอย่าง "นักวางแผนการเงิน" เข้ามาช่วย แต่ก็อาจจะมีนักลงทุนบางคนที่ยังไม่เข้าใจว่าทำไมจะต้องจ่ายเงินอีก ในเมื่อได้จ่ายให้กับผู้จัดการกองทุนไปแล้ว ดังนั้น หากผู้ลงทุนยังไม่พร้อมที่จะจ้างนักวางแผนการเงิน ก็สามารถเริ่มจัดพอร์ตลงทุนได้ด้วยตัวเอง ซึ่งก่อนอื่นก็ต้องมารู้จักความเสี่ยงของตัวเองจากการวัดระดับความเสี่ยง ที่ตามตำราทั่วไปจะมีปัจจัยในการวัดอยู่ 5 อย่างคือ
1. สภาพคล่อง (Liquidity needs)
มาดูว่าทรัพย์สินมีสภาพคล่องมากน้อยแค่ไหน มีความจำเป็นต้องใช้เงินมากน้อยแค่ไหน เพื่อที่จะนำมาวัดว่าตัวเองรับความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด
2. ระยะเวลาในการลงทุน (Time horizon)
คิดง่ายๆ ก็คือ ถ้ายังเหลือเวลาในการลงทุนนาน เช่น ถ้าตอนนี้อายุ 30 ปี ยังมีเวลาอีกเกือบ 30 ปี กว่าจะเกษียณ แน่นอนว่าต้องรับความเสี่ยงได้สูง แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าเหลือเวลาในการลงทุนน้อย เช่น อายุ 50 ปี ก็จะรับความเสี่ยงในการลงทุนได้น้อยตามไปด้วย
3. ภาษี (Tax)
ลองคำนวณดูว่าในแต่ละปีนั้นเราเสียภาษีมากน้อยแค่ไหน
4. กฎระเบียบด้านการลงทุน (Legal & regulation)
เพราะการลงทุนบางประเภทจะมีกฎระเบียบหรือข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนพอสมควร เช่น กองทุนรวม LTF หรือ RMF เป็นต้น
5. ความประสงค์ส่วนบุคคล (Unique preference)
ผู้ลงทุนแต่ละคนก็มีความชอบหรือสไตล์การลงทุนที่แตกต่างกันไป หมายความว่าความชอบที่แตกต่างกันจะมีผลต่อการจัดพอร์ตการลงทุน
คำถาม 5 ข้อแรกที่ผ่านมานั้นเป็นเพียงคำถามเบื้องต้นในการลงทุน เพื่อที่จะทำให้ที่ปรึกษาทางการเงินนั้นสามารถจัดพอร์ตลงทุนให้สอดคล้องกับความเสี่ยงที่รับได้ แต่คำถาม 5 ข้อแรกนั้นยังไม่พอ ผู้ลงทุนจะต้องเจอคำถามระดับ Advance มากขึ้นไปอีก ดังนี้
6. ความมั่นคงทางการเงิน
เพราะแต่ละคนมีสถานะทางการเงินที่แตกต่างกัน เช่น หน้าที่การงาน ดังนั้น แต่ละอาชีพจะรับความเสี่ยงได้ไม่เท่ากัน ซึ่งจะส่งผลเกี่ยวกับรายได้และเงินที่จะนำไปลงทุนต่อ เช่น คนที่หนึ่งอายุ 50 ปี มีอาชีพรับราชการประจำ ก็จะมีรายได้ที่แน่นอนมั่นคง ที่สำคัญยังมีสวัสดิการพร้อม ในขณะที่คนที่สองอายุ 50 ปีเช่นกัน แต่มีอาชีพเป็นพนักงานขายของ โดยเงินเดือนนั้นจะขึ้นอยู่กับค่าคอมมิชชั่น และรายได้ก็ไม่ค่อยสูงมากนัก ดังนั้น การจัดพอร์ตลงทุนให้กับพนักงานขายของ ต้องจัดให้มีความเสี่ยงที่ต่ำกว่า พูดง่ายๆ ก็คือคนอายุเท่ากันก็ไม่ได้หมายความว่าการจัดพอร์ตจะต้องเหมือนกัน 
7. พอร์ตการลงทุนเพื่อวัยเกษียณที่แท้จริงหรือไม่
ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงๆ ก็จะเป็นผลดีอย่างมาก แต่ในความเป็นจริงแล้ว มีความเป็นไปได้สูงมากที่จะมีการถอนเงินจากพอร์ตไปใช้ในทางอื่น เช่น อยากซื้อรถแต่เงินไม่พอ หรือเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินก็อาจจะถอนเงินจากพอร์ตการลงทุนเพื่อวัยเกษียณไปใช้ก่อน ความหมายก็คือ หากผู้ลงทุนมีพอร์ตการลงทุนเพื่อวัยเกษียณอย่างแท้จริงคือไม่แตะต้องเงินส่วนนั้นเลยจนกว่าจะเกษียณ พอร์ตการลงทุนก็สามารถรับความเสี่ยงสูงๆ ได้ แต่ถ้ายังมีการนำเงินจากพอร์ตนี้ไปใช้อยู่ พอร์ตการลงทุนก็ต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น
8. วัตถุประสงค์ของการใช้เงินเพื่อวัยเกษียณ
หมายความว่า หลังจากที่เกษียณไปแล้ว เงินที่ออมไว้นั้นจะนำไปใช้ทำอะไรบ้าง? เพราะประเด็นนนี้จะมีผลต่อการจัดพอร์ตลงทุน เช่น ถ้าคิดว่าจะนำเงินก้อนนี้เก็บไว้ใช้คนเดียว พอร์ตลงทุนก็จะแตกต่างไปจากคนที่คิดจะนำเงินก้อนนี้ไปแบ่งไว้ให้ลูกหลานใช้ด้วย เพราะคนที่เก็บเงินไว้ใช้คนเดียว อาจจะมีแค่ 3 ล้านบาทก็เพียงพอแล้ว ขณะที่คนที่ต้องการให้ลูกหลานใช้ด้วยอาจจะต้องเก็บถึง 6 ล้านบาท ดังนั้น หน้าตาของพอร์ตลงทุนและการรับความเสี่ยงต้องแตกต่างกัน
9. ที่มาของรายได้หลังเกษียณ
บางคนหลังเษียณออกไปแล้ว นอกจากจะมีเงินก้อนจากการเก็บออมเพื่อวัยเกษียณแล้ว อาจมีรายได้ทางอื่นเพิ่มเข้ามาด้วย เช่น ลูกหลานจ่ายรายเดือน รายได้จากการเปิดร้านขายของชำ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าหลังเกษียณจะมีรายได้จากทางอื่นที่แน่นอน แต่ในความเป็นจริงแล้วก็ต้องวางแผนการเงินเพื่อเกษียณเป็นหลัก อย่าไปหวังพึ่งรายได้อื่นๆ ที่คิดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต เพราะถ้าหากรายได้ทางนั้นไม่เข้าขึ้นมาจริงๆ ความเสี่ยงก็จะเกิดขึ้นทันที
10. จะมีอายุยืนยาวกี่ปี
คนเราไม่สามารถกำหนดวันตายได้ แต่อย่างน้อยก็ต้องคิดแผนเอาไว้ตั้งแต่วัยทำงาน โดยอาจใช้อายุเฉลี่ยของคนไทยเป็นตัวกำหนดคือ 80 ปี เพราะการที่คิดเรื่องการมีชีวิตอยู่หลังเกษียณนั้น จะทำให้เรารู้ว่าจะต้องเก็บเงินไว้ใช้หลังเกษียณอีกกี่ปี เช่น ถ้าคิดว่าจะมีอายุ 80 ปี แสดงว่าหลังเกษียณนั้นจะมีอายุุอีก 20 ปี นั่นหมายความว่าจะต้องมีเงินไว้ใช้หลังเกษียณอีก 20 ปี ซึ่งจะมีผลต่อการจัดพอร์ตลงทุนเพื่อวัยเกษียณ
คำถามทั้ง 10 ข้อที่กล่าวมานั้น โดยเฉพาะ 5 ข้อหลัง จะมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะพอสมควร บางครั้งเราอาจจะไม่สามารถคิดได้เอง ก็ต้องอาศัยนักวางแผนการเงินเข้ามาช่วยในการหาคำตอบเพื่อจัดพอร์ตลงทุนเพื่อวัยเกษียณ ซึ่งบางทีถ้าคิดดีๆ ถึงแม้ว่าจะต้องจ่ายเงินค่าธรรมเนียมในการเป็นที่ปรึกษาของนักวางแผนการเงิน แต่ในระยะยาวก็ถือว่ามีความคุ้มค่าอย่างแน่นอน
ขอขอบคุณ: www.morningstarthailand.com

แท็กที่เกี่ยวข้อง


ข่าวและอีเว้นท์การเงินล่าสุด



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)