บริหารความเสี่ยงทางการเงินอย่างไร ช่วง COVID-19

icon 16 มิ.ย. 64 icon 6,375
บริหารความเสี่ยงทางการเงินอย่างไร ช่วง COVID-19

บริหารความเสี่ยงทางการเงินอย่างไร ช่วง COVID-19

ช่วงนี้หลายท่านน่าจะ Work from Home ("WFH") เช่นเดียวกับ P.B. (ชื่อเล่นของ Piggy Bank) เพราะสถานการณ์โควิด ทำให้รูปแบบชีวิตของเราเปลี่ยนแปลงไป วันนี้ P.B. มาชวนทุกคนบริหารจัดการความเสี่ยงทางการเงินในยุคโควิด เพื่อให้เราพร้อมรับมือกับเหตุการณ์อันไม่คาดฝัน โดย P.B. ได้วิเคราะห์แล้วสรุปความเสี่ยงหลัก และวิธีการบริหารจัดการทางการเงินเพื่อรองรับดังนี้ค่ะ
 1. เสี่ยงติด
จากข้อมูลผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทั่วโลก ณ วันที่ 13 มิถุนายน 64 มีจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด 176 ล้านราย โดยมีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 3.8 ล้านราย หรือคิดเป็น 2.16% โดยผู้ติดเชื้อในเมืองไทย มีจำนวน 195,909 ราย โดยมีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 1,449 ราย หรือคิดเป็น 0.73% โดยในเมืองไทยมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มในหลักพันทุกวัน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าตกใจ P.B.พึ่งได้ไปเฝ้าคุณพ่อที่หน้าห้องฉุกเฉินที่โรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง พบว่ามีคนเข้ามาขอตรวจโควิดอย่างต่อเนื่อง และเตียงหายากมาก จึงอยากจะขอเน้นย้ำว่า การป้องกันที่ดีที่สุดคือการ หยุดเชื้ออยู่บ้าน(ถ้าทำได้) แต่หากคุณต้องออกจากบ้านแล้วนั้น การใส่ Mask 2 ชั้นถือเป็น fashion ยุคใหม่ ล้างมือ และรักษาระยะห่างไว้นะคะ ส่วนอีกวิธีที่สำคัญไม่แพ้กัน คือการฉีดวัคซีนค่ะ ส่วนวิธีการบริหารจัดการทางการเงินที่เราสามารถจัดการได้ตั้งแต่วันนี้คือพิจารณาการทำประกันสุขภาพ หรือ ประกันโควิด ซึ่งประกันทั้ง 2 แบบ มีข้อดี ข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป เราจึงควรเลือกให้เหมาะสมกับตัวเราที่สุด โดย P.B. สรุปไว้ให้พิจารณาตามตารางค่ะ
ถ้ายังตัดสินใจไม่ถูกลองตอบคำถามตามแผนภาพนี้เลยค่ะ
 2. เสี่ยงตาย
หากคุณไม่ได้ฉีดวัคซีน โอกาสที่จะติดCOVID-19 และถึงตายย่อมเป็นไปได้ โดยเปอร์เซ็นการตายจากโควิดมีสูงถึง 2% ทั่วโลก ซึ่งเยอะกว่าเปอร์เซ็นการตายจากการฉีดวัคซีนหลาย 100 เท่า โดยในการฉีดวัคซีนนั้น ทางกระทรวงสาธารณสุขได้จัดเตรียมทีมแพทย์ไว้เพื่อรอดูอาการของผู้ได้รับวัคซีน ดังนั้นเมื่อได้รับวัคซีนแล้วควรอยู่รออยู่อาการข้างเคียงเป็นเวลา 30 นาที โดยอาจมีอาการไข้ หรือเจ็บบริเวณที่ฉีด หรืออาการไม่พึงประสงค์อื่นๆ เป็นเวลา 1-2วัน แล้วจะหายไป ยิ่งถ้าท่านไหนมีโรคประจำตัว 7 โรค แนะนำให้รีบฉีดวัคซีนทั้งนี้เพื่อลดอาการรุนแรงและการเสียชีวิตจากการติดโควิด และแจ้งแพทย์ก่อนฉีดวัคซีนว่าคุณมีโรคประจำตัวอะไร มีอาการอย่างไร แพ้ยาอะไร โรคทั้ง 7 ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรังระยะ 5ขึ้นไป โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งทุกชนิด โรคเบาหวาน และ โรคอ้วน

Tips ก่อนฉีดวัคซีน : การพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำเยอะๆ งดชา กาแฟ ทำร่างกายให้แข็งแรง ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันได้เต็มที่ค่ะ หากท่านมียาประจำตัวอย่าลืมถามคุณหมอ และศึกษาว่าไม่ควรทานยาอะไรบ้างช่วงก่อนและหลังรับวัคซีนนะคะ
ทั้งนี้เหตุการณ์ไม่คาดฝันอาจเกิดขึ้นกับเราได้ การบริหารความเสี่ยงทางการเงินในกรณีเสียชีวิต คือการทำประกันชีวิตนั่นเองคะอยากให้พิจารณาว่า หากเราไม่อยู่ใครที่เราเป็นห่วง และเค้าคนนั้นสามารถเลี้ยงชีพได้ด้วยตนเองหรือไม่ มีภาระค่าใช้จ่ายที่ต้องรับอีกเท่าไหร่ การทำประกันชีวิตคือการมอบเงินก้อนให้คนที่อยู่ข้างหลัง มีข้อดีคือเราสามารถระบุผู้รับผลประโยชน์ได้เลย โดยที่เงินส่วนนี้จะไม่เกี่ยวข้องกับกองมรดกอันแสนวุ่นวายค่ะ
 3. เสี่ยงขาดรายได้
แน่นอนว่าหากเราติดโควิด แล้วต้องกักตัว ไม่ได้ไปทำงาน หรือนายจ้างให้หยุดงานหรือ หยุดกิจการ เนื่องจากทางราชการมีคำสั่งให้ปิดสถานที่ชั่วคราวเพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรค ก็อาจขาดรายได้ในช่วงนี้ไป การจัดการความเสี่ยงหลักๆทำได้ 2 วิธี คือ
3.1) หารายได้เพิ่มหรือขอรับเงินชดเชย
ปัจจุบันนี้ P.B. ว่าการมีรายได้เพียงทางเดียวอาจจะไม่มั่นคง การทำงานเสริม ขายของทางออนไลน์ การลงทุนทางการเงิน อาจเป็นทางเลือกที่ดี อยากให้คุณลองค้นหาตัวเอง หาสิ่งที่ตัวเองชอบทำ และนำมาสร้างรายได้อีกทาง น่าจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้ค่ะ เพราะโอกาสอยู่ที่เราสร้างเอง และเริ่มลงมือทำตั้งแต่วันนี้ค่ะ
นอกจากนี้ทางภาครัฐก็มีมาตรการช่วยเหลือ หากคุณเป็นผู้ประกันตนกับประกันสังคมสามารถขอรับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่มีการกักตัว หรือเฝ้าระวังการระบาดของโรค หรือมีคำสั่งปิดสถานที่ แล้วแต่กรณี แต่รวมกัน ไม่เกิน 90 วันนะค่ะ โดยสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนประกันสังคม 1506 (ทีมา 28 เมษายน 2564: www.sso.go.th) นอกจากนี้ผู้ประกันตนกับประกันสังคมสามารถขอรับเงินชดเชยกรณีว่างงาน จากสาเหตุอื่นได้เช่นกัน ซึ่ง P.B. ได้อธิบายไว้ในบทความที่แล้วคะ สามารถกลับไปดูได้ในหัวข้อเช็กผลประโยชน์กองทุน ประกันสังคม และอื่นๆ (อยากลาออกจากงานประจำ ต้องเตรียมตัว หรือเตรียมความพร้อมทางการเงินอย่างไร) และถ้าคุณถูกเลิกจ้าง โดยที่ไม่ได้มีความผิด คุณจะมีสิทธิได้รับเงินชดเชยการเลิกจ้างตามกฎหมายขึ้นอยู่กับจำนวนปีที่ทำงานติดต่อกันดังนี้ค่ะ

ที่มา : lb.mol.go.th
3.2) ลดภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
ทีนี้มาถึงการพิจารณาค่าใช้จ่ายในแต่ละวันคะ ก่อนอื่นคุณต้องทำบัญชี รายรับ รายจ่ายต่อเดือนก่อนคะ (P.B. แนะนำ Application "Me Tang" ที่ P.B. ใช้อยู่ค่ะ โดยสามารถเลือกประเภทค่าใช้จ่ายได้ ทำให้เรารู้ว่ารายจ่ายส่วนใหญ่ของเราอยู่ที่หมวดไหน) โดยถ้าท่านไหนทำได้ลองเลือกค่าใช้จ่ายหลัก ของ P.B คือค่าอาหาร โดยตั้งเป้าลดอย่างน้อย 20% ค่ะ เช่น P.B. มีค่าอาหารต่อเดือนที่ 10,000 บาท และตั้งใจลดเหลือเดือนละ 8,000 บาท ทั้งนี้เราจะเลือกทานแต่สิ่งที่จำเป็น และมีประโยชน์ พวกชานม ไอศกรีม เค้ก กาแฟร้านดัง อาจจะงดไปก่อนในช่วงนี้ พร้อมการลดความอ้วนได้เลยค่ะ



 4. เสี่ยงสุขภาพจิต
เราติดหรือยังนะ? นี่อาจเป็นคำถามที่อยู่ในใจทุกวันการที่เราไม่ประมาทเป็นสิ่งที่ดีคะ แต่อยากให้ทุกคนมีสติ ลองสังเกตอาการ และถ้ามีอาการของโรค COVID-19 ควรรีบไปตรวจและพบแพทย์คะ นอกจากนี้ P.B. เชื่อว่าทุกคนอาจจะมีความเครียดเพราะชีวิตที่ไม่เหมือนเดิม อย่าง P.B. เองที่ต้อง WFH ทุกวันและไม่ได้ออกจากบ้านมาหลายเดือน P.B.ได้คุยกับพี่พยาบาลทราบว่าตอนนี้กำลังพลบุคลากรทางการแพทย์ต้องเหน็ดเหนื่อยรักษาคนไข้โควิดเพื่อรักษาทุกคนให้ดีที่สุด เราจะช่วยได้มากหากเราหยุดเชื้ออยู่บ้าน บางที่พี่พยาบาลยังบอกว่าเค้าก็อยาก WFH เช่นกัน แต่ทำไม่ได้เพราะคนไข้ต้องมาก่อน อยากให้เราเปลี่ยนมุมมองว่า
บางทีการ WFH มีข้อดีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น การที่เราได้ช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ เราไม่ต้องไปเผชิญรถติด อาจจะมีเวลาอยู่กับครอบครัวของคุณมากขึ้น ที่สำคัญคือคุณได้อยู่กับตัวเองมากขึ้น เราอาจได้ทำอะไรที่เราไม่เคยทำมาก่อน เช่น ทำขนม ปลูกต้นไม้ หรือ แบบ P.B. เองที่ได้มาแบ่งปันความรู้ให้กับทุกคนค่ะที่สำคัญในการบริหารจิตใจ คือการมองโลกในแง่ดีคะ ก่อนนอนลองเขียน ขอบคุณ3สิ่งดีๆที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน แล้วคุณจะพบว่า "ใจคุณจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นคะ" วิธีการหนึ่งในการบริหารการเงินไปพร้อมๆ กับการทำให้เรามีสุขภาพจิตที่ดี คือการบริจาคเงินช่วยเหลือแก่โรงพยาบาล หรือหน่วยงานราชการค่ะ โดยถ้าเราเป็นบุคคลธรรมดา และบริจาคเงินช่วยเหลือโรงพยาบาลเหล่านี้ เราจะสามารถลดหย่อนภาษีรายได้บุคคลธรรมดาได้ 2 เท่าของเงินบริจาคเลยค่ะ (รายละเอียดดูได้เพิ่มเติมที่นี่ : รวมมาให้แล้ว...บริจาคเงินสู้โควิด-19 ที่ไหน ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า!)
สุดท้ายนี้ P.B. อยากให้ทุกคน ดูแลสุขภาพของตัวเองและคนในครอบครัวให้ดีที่สุดค่ะ เพราะเราจะผ่านมันไปด้วยกันอย่าลืมรักษาสุขภาพและบริหารความเสี่ยงทางการเงินกันนะคะ
แท็กที่เกี่ยวข้อง ความเสี่ยง โควิด-19
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)