- รถยนต์ใหม่
- รถมอเตอร์ไซค์ใหม่
- คอนโดใหม่
- บ้านโครงการใหม่
- ราคาทองคำ-หุ้น-น้ำมัน
- จองโรงแรม
- การเงิน-ธนาคาร
- โทรศัพท์มือถือ
- แท็บเล็ต
ลงทุนหลักทรัพย์
กองทุนรวมไม่ได้มีดีแค่ "ลดภาษี" แต่เป็น "เงินออมระยะยาว" ได้ด้วย : แนะนำกองทุนน่าจัดก่อนสิ้นปีนี้ ที่ LH Bank เป็นตัวแทนขาย
วันที่อัพเดทล่าสุด : 18 ธ.ค. 61
เข้าดูทั้งหมด: 8,063 คน

กองทุนรวมไม่ได้มีดีแค่ "ลดภาษี" แต่เป็น "เงินออมระยะยาว" ได้ด้วย
ใกล้หมดปีกันอีกแล้ว...สำหรับมนุษย์เงินเดือนทั้งหลายคงจะหนีไม่พ้นการมองหาตัวช่วยในการลดหย่อนภาษีประจำปี ซึ่งก็มีอยู่หลากหลายตัวช่วย แต่...ตัวช่วยที่อยากจะแนะนำในครั้งนี้นั้น นอกจากจะเป็นตัวช่วย "ลดภาษี" แล้ว ยังเป็นตัวช่วยที่ใช้เป็น "เงินออมระยะยาว" ได้อีกด้วย นั่นก็คือ "กองทุนรวม" อย่าง LTF และ RMF นั่นเอง
ซื้อทำไม LTF และ RMF?
ถ้ายังสงสัยกันอยู่ว่า "ซื้อทำไม LTF และ RMF?" ตอบได้เลยค่ะว่า...วัตถุประสงค์หลักของคนที่จะตัดสินใจซื้อกองทุน LTF และ RMF นั้น ก็มีอยู่ 2 ข้อหลักๆ คือ
1) ใช้ลดหย่อนภาษีประจำปี
มีคนจำนวนไม่น้อยที่เลือกซื้อกองทุน LTF และ RMF เพื่อใช้เป็นตัวช่วยในการลดหย่อนภาษีประจำปี ซึ่งใน
กรณีของ LTF เงินลงทุนที่เอาไปหักลดหย่อนภาษีได้นั้น สามารถหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีหรือไม่เกิน 500,000 บาท และจะต้องถือหน่วยลงทุน LTF เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 7 ปีปฏิทิน แต่ไม่จำเป็นต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี และ
กรณีของ RMF เงินลงทุนที่เอาไปหักลดหย่อนภาษีได้นั้น สามารถหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ซึ่งเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ + เงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ + เงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ + เงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน + เงินสะสมเข้ากองทุนการออมแห่งชาติแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท


2) ใช้เป็นเงินออมระยะยาว
ประโยชน์สำคัญอีกอย่างของ LTF และ RMF คือการบังคับให้ออมระยะยาวตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป โดยการที่จะเลือกเป็นกองทุนตัวไหนนั้นให้พิจารณาจากระดับความเสี่ยง ว่าเรารับความเสี่ยงได้แค่ไหน ซึ่งหลักๆ ก็คือ
LTF จะมีนโยบายไปซื้อหุ้นไม่ต่ำกว่า 65% เน้นการลงทุนในหุ้น เพิ่มสัดส่วนนักลงทุนสถาบันในตลาดทุน ช่วยให้ตลาดทุนมีเสถียรภาพ ดังนั้นเหมาะกว่าในแง่ลงทุน และพร้อมรับความผันผวนในราคาหุ้น
RMF จะมีนโยบายการลงทุนที่เปิดกว้างให้เลือกมากกว่า มีทั้งหุ้นไทย ตราสารหนี้ไทย ทองคำ หุ้นต่างประเทศ อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น มีความเสี่ยงทั้งต่ำและสูงสามารถเลือกได้ เน้นการออมระยะยาว มีความคล้ายคลึงกับ PVD และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
*ดังนั้น ผลตอบแทนอาจไม่หวือหวา แต่ความหลากหลายในการกระจายความเสี่ยงน่าจะดีกว่า LTF


*ดังนั้น ผลตอบแทนอาจไม่หวือหวา แต่ความหลากหลายในการกระจายความเสี่ยงน่าจะดีกว่า LTF
มนุษย์เงินเดือนได้เงินเดือนแค่ไหน...ต้องซื้อแค่ไหน?
ถ้าเราเป็นมนุษย์เงินเดือนที่โสด (ยังไม่มีประกันชีวิต ประกันบำนาญ หรือกองทุนสำรองเลี้ยง) และสนใจเฉพาะการซื้อ LTF หรือ RMF เพื่อลดภาษีเท่านั้น (ไม่ได้สนใจในส่วนของการออมระยะยาว) เราต้องดูก่อนว่า เงินเดือนเราเท่าไหร่ถึงจะเสียภาษี และควรที่จะซื้อ LTF หรือ RMF ซึ่งหากเราใช้อัตราภาษีปี 2561 เราก็จะได้ข้อสรุปว่า โดยประมาณแล้ว หากเราเป็นคนโสด ทำงานบริษัทเอกชน ยังไม่มีพวกประกันชีวิต หรือประกันบำนาญ เงินเดือนต่อเดือนเราควรได้ที่อย่างต่ำ 27,000 บาท ถึงจะเสียภาษี และจึงควรพิจารณาซื้อ LTF หรือ RMF ได้ (แต่ถ้าเรามีบิดามารดาต้องเลี้ยงดู หรือมีซื้อประกันชีวิตไว้ด้วย เราจะลดหย่อนภาษีได้มากกว่านี้อีก ซึ่งหมายถึงว่าเงินเดือนเราก็จะมากกว่า 27,000 บาทขึ้นไปอีก เราถึงจะต้องเสียภาษี)

เงื่อนไขของ LTF และ RTF ซื้อได้แค่ไหน?

แนะนำกองทุนที่ LH Bank เป็นตัวแทนจำหน่าย ที่น่าสนใจก่อนสิ้นปี
ปลายปีแบบนี้ก็คงหนีไม่พ้นกองทุน LTF และ RMF แน่นอน ซึ่งในวันนี้ขอแนะนำกองทุนเด่น นั่นก็คือ "LHFLRMF" หลายคนคงสงสัยกองทุนตัวนี้ที่บอกว่าเด่นนั้นมีอะไรดี ดังนั้น เรามาดูกันเลยค่ะ
LHFLRMF กองทุนเปิด แอล เอช เฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ

3 ข้อดี ทำไมควรลงทุนผ่าน LH Bank M Choice :






สนใจซื้อ LTF / RMF ซื้อยังไงได้บ้าง?
"ซื้อขายกองทุน" ไม่ยุ่งยากอีกต่อไป ด้วยบริการใหม่จาก LH BANK M Choice ที่มีฟีเจอร์หลากหลายในแอปฯ เดียว...ขั้นตอนการซื้อ-ขาย-สับเปลี่ยนกองทุน LH Bank มีดังนี้











ทุกเรื่องเงิน สะดวก ง่าย แค่ปลายนิ้ว ด้วย LH Bank M Choice
บอกแล้ว!! ว่ากองทุนรวมดีๆ ไม่ได้มีแค่เอาไว้ "ลดภาษี" แต่เป็น "เงินออมระยะยาว" ได้ดีด้วย แถมยังมีโปรโมชั่นดีๆ พ่วงท้ายมาอีก ตามที่เห็นได้จากข้อดีของการลงทุนกับ LH Bank ที่เป็นเหมือน Fund Supermart ข้างต้นนี้...รู้แบบนี้แล้วก็อย่ารอช้านะคะ รีบเข้าไปดำเนินการได้เลยค่ะ
แต่เดี๋ยวก่อน...ทุกครั้งที่จะลงทุนก็จำไว้เสมอนะคะว่า เราควร "ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน" ทุกครั้งนะคะ