สรุป... มาตรการภาษี เพื่อพยุงเศรษฐกิจปี 2562

ข่าว icon 2 พ.ค. 62 icon 2,991
สรุป... มาตรการภาษี เพื่อพยุงเศรษฐกิจปี 2562

[ข่าว - 30 เม.ย. 62] - ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจไทยในช่วงกลางปี 62 ควบคู่กับการเติมเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
สำหรับผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
  • ผู้พิการ ได้รับเบี้ยคนพิการเพิ่มจากเดิม 200 บาท/เดือน (เป็นระยะเวลา 5 เดือน)
  • เกษตรกร รับเงินเพื่อช่วยเหลือค่าปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และปัจจัยการผลิตอื่นๆ 1,000 บาท/คน (ครั้งเดียว)
  • ผู้ปกครองช่วงเปิดเทอม รับเงินเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายเรื่องค่าชุดนักเรียน และอุปกรณ์การศึกษาแก่บุตร 500 บาท/คน (ครั้งเดียว)
  • สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะได้รับเงินเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาปากท้อง โดยเติมเงินสวัสดิการแห่งรัฐ 500 บาท/เดือน (เป็นระยะเวลา 2 เดือน)

สำหรับคนทั่วไป สามารถขอลดหย่อนภาษี ผ่านมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการใช้จ่ายในประเทศและระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax) 6 หมวด ได้แก่
1. การส่งเสริมการท่องเที่ยวทั่วประเทศไทย สำหรับค่าบริการที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว ค่าที่พัก โรงแรม  โฮมสเตย์ไทยที่ได้รับการรับรองจากกรมการท่องเที่ยว และค่าที่พักในสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม ลดหย่อนภาษีสูงสุดไม่เกิน 20,000 บาท
  • ท่องเที่ยวในเมืองหลัก ลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันไม่เกิน 15,000 บาท
  • ท่องเที่ยวในเมืองรอง ลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันไม่เกิน 20,000 บาท
  • ทั้งนี้ รวมกันทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน 20,000 บาท
ระยะเวลา : ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน - 30 มิถุนายน 2562
2. กระตุ้นการซื้อสินค้าการศึกษาและกีฬา (เฉพาะการซื้อจากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและได้รับใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร) ลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายริง แต่รวมกันไม่เกิน 15,000 บาท
ระยะเวลา : ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม - 30 มิถุนายน 2562
3. ส่งเสริมสินค้า OTOP ซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ OTOP ลดหย่อนได้ ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันไม่เกิน 15,000 บาท
ระยะเวลา : ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน - 30 มิถุนายน 2562
4. ส่งเสริมการอ่าน ลดหย่อนภาษีสูงสุด 15,000 บาท
  • ซื้อหนังสือและค่าบริการหนังสือ e-Book ลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันไม่เกิน 15,000 บาท
  • ต้องเป็นเงินที่จ่ายให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น
ระยะเวลา : ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2562
หมายเหตุ : สำหรับผู้ที่ใช้สิทธิ์ช็อปช่วยชาติ 1 - 16 มกราคม 2562 ต้องนำมารวมด้วย
5. ส่งเสริมการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดินหรือห้องชุดที่มีมูลค่าไม่เกิน 5 ล้านบาท ลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันไม่เกิน 200,000 บาท
ระยะเวลา : ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน - 31 ธันวาคม 2562
6. มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักรายจ่ายเป็นจำนวน 2 เท่าของรายจ่ายลงทุนเพื่อรองรับระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย
  • เครื่องบันทึกการเก็บเงินและ (Point of Sale: POS) ระบบ POS ซึ่งเชื่อมโยงกับการรับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
  • การพัฒนาระบบหรือค่าบริการเกี่ยวกับ e-Tax Invoice & e-Receipt
  • การพัฒนาระบบหรือค่าบริการ e-Withholding Tax
ระยะเวลา : ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน - 31 ธันวาคม 2562
ขอบคุณข้อมูลจาก workpointnews.com

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ลดหย่อนภาษี มาตรการภาษี บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ภาษีปี 62

ข่าวและอีเว้นท์การเงินล่าสุด

เปิดแนวคิด MONEY EXPO 2024 “Digital Finance for All การเงินดิจิทัล เพื่อทุกคน” ปักธงจัดงาน 7 ครั้ง 6 ภูมิภาคทั่วประเทศ
ทีทีบี จับมือ วีซ่า เปิดตัวบัตรเดบิตวีซ่า ttb all free Olympic Games Paris 2024 บัตรใบแรกและใบเดียวที่ปลดล็อกค่าแรกเข้า/รายปี ให้ใช้จ่ายคุ้มค่าได้มากกว่าเดิม
บัตรเครดิต ttb ผนึก Google Pay และ Visa เปิดฟีเจอร์ชำระเงินยุคดิจิทัล แตะจ่ายไร้สัมผัสผ่านสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ พร้อมรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 1,200 บาท
ทีทีบี ผนึก โลตัส เสริมแกร่งบริการทางการเงิน ปูพรมจุดรับฝากเงิน-จ่ายบิล ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วไทย มอบประสบการณ์การเงินที่ดีขึ้นให้ลูกค้า


เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)