กยศ. ร่วมกับกรุงไทยรับชำระหนี้ กยศ./กรอ. ผ่าน QR Code

ข่าว icon 11 มิ.ย. 61 icon 7,459
กยศ. ร่วมกับกรุงไทยรับชำระหนี้ กยศ./กรอ. ผ่าน QR Code


กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) และธนาคารกรุงไทย เพิ่มความสะดวกให้กับผู้กู้ยืมสามารถชำระเงินคืนง่ายขึ้นผ่าน QR Code พร้อมฟรีค่าธรรมเนียม เพื่อร่วมส่งต่อโอกาสทางการศึกษาให้กับรุ่นน้อง

นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เปิดเผยว่า "กองทุนได้ร่วมมือกับธนาคารกรุงไทย ในการเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้กู้ยืม กยศ. และ กรอ. ด้วยคิวอาร์โค้ด เนื่องจากในปัจจุบันธนาคารกรุงไทย เป็นช่องทางหลักที่ให้บริการโอนเงินกู้ยืมและรับชำระหนี้ กยศ. และ กรอ. มาตั้งแต่แรกเริ่ม โดยผู้กู้ยืมสามารถชำระเงินคืนกองทุนได้หลากหลายช่องทาง ได้แก่
  1. หักบัญชีออมทรัพย์ชำระหนี้อัตโนมัติ 
  2. หน้าเคาน์เตอร์ธนาคาร
  3. ตู้ ATM 
  4. กรุงไทยเทเลแบงก์ 
  5. ชำระผ่าน KTB netbank ทาง Internet
  6. ชำระผ่าน KTB netbank ทาง Mobile Application 
  7. ชำระใช้ Barcode ผ่านบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เคาน์เตอร์เซอร์วิส เคาน์เตอร์ธนาคารต่างๆ 
โดยการสแกนผ่าน QR Code จะช่วยลดขั้นตอนการคีย์ข้อมูลของทางฝั่งผู้กู้ยืมหรือฝั่งผู้รับชำระ ทำให้การเข้าถึงระบบการชำระเงินมีความสะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น และยังเชื่อมกับระบบพร้อมเพย์ ซึ่งสามารถชำระได้กับทุกธนาคารที่เป็น Mobile Banking โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมอีกด้วย ทั้งนี้ สามารถตรวจสอบยอดที่ต้องชำระได้ที่ www.studentloan.or.th"
สำหรับวันที่ 5 กรกฎาคมของทุกปี ถือเป็นวันครบกำหนดชำระเงินคืนกองทุน ซึ่งในปีนี้มีผู้กู้ยืม ที่ครบกำหนดชำระประมาณ 3.5 ล้านราย กองทุนจึงขอฝากประชาสัมพันธ์ให้ผู้กู้ยืมรุ่นพี่รีบมาชำระเงินคืนภายในกำหนดดังกล่าว หากล่าช้าเกินกำหนดอาจต้องเสียเบี้ยปรับจำนวนมากได้ และกองทุนต้องขอขอบคุณ ผู้กู้ยืมรุ่นพี่ทุกท่านที่ไม่ลืมชำระเงินคืน เพื่อส่งต่อโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียน นักศึกษารุ่นน้อง

นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า "ธนาคารได้รับความไว้วางใจจากกองทุนให้เป็นผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา ซึ่งธนาคารได้พัฒนาช่องทางในการชำระหนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้กู้ยืมที่ครบกำหนดชำระหนี้ และเพื่อสนับสนุนนโยบายการทำธุรกรรมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ตามโครงการ National e-Payment ของรัฐบาล ธนาคารจึงได้พัฒนาระบบงานเพื่อให้ผู้กู้ยืมชำระหนี้คืน กยศ. และกรอ. ผ่านการสแกน QR Code โดยสามารถชำระผ่าน Mobile Banking Application ของทุกธนาคาร ระหว่างเวลา 07.30 - 20.30 น. ในเบื้องต้น และจะใช้ได้ 24 ชั่วโมง ในเร็วๆ นี้ โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมในการใช้บริการ"
ทั้งนี้ การชำระหนี้คืนกองทุน ผ่าน QR Code สามารถชำระได้ 2 รูปแบบ คือ 
1. แบบ Static QR โดยการ สแกน QR Code ผ่านบริการ KTB netbank และเลือกประเภทกองทุนที่ต้องการชำระหนี้คืน 

2. แบบ Dynamic QR เป็นการสแกน QR Code ที่สร้างขึ้นใหม่ทุกครั้งผ่านระบบตรวจสอบยอดหนี้ ผ่าน www.studentloan.ktb.co.th หรือ www.studentloan.or.th ด้วย Mobile Banking Application ทุกธนาคาร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-111-1111

แท็กที่เกี่ยวข้อง

กรุงไทย qr code กยศ. ชำระหนี้ กรอ. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

ข่าวและอีเว้นท์การเงินล่าสุด

เปิดแนวคิด MONEY EXPO 2024 “Digital Finance for All การเงินดิจิทัล เพื่อทุกคน” ปักธงจัดงาน 7 ครั้ง 6 ภูมิภาคทั่วประเทศ
ทีทีบี จับมือ วีซ่า เปิดตัวบัตรเดบิตวีซ่า ttb all free Olympic Games Paris 2024 บัตรใบแรกและใบเดียวที่ปลดล็อกค่าแรกเข้า/รายปี ให้ใช้จ่ายคุ้มค่าได้มากกว่าเดิม
บัตรเครดิต ttb ผนึก Google Pay และ Visa เปิดฟีเจอร์ชำระเงินยุคดิจิทัล แตะจ่ายไร้สัมผัสผ่านสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ พร้อมรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 1,200 บาท
ทีทีบี ผนึก โลตัส เสริมแกร่งบริการทางการเงิน ปูพรมจุดรับฝากเงิน-จ่ายบิล ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วไทย มอบประสบการณ์การเงินที่ดีขึ้นให้ลูกค้า


เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)