"ช่วงชีวิต" กับการวางแผนการเงิน

ข่าว icon 22 ม.ค. 59 icon 3,856
"ช่วงชีวิต" กับการวางแผนการเงิน


ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญสำหรับการวางแผนทางการเงิน คือ "ช่วงชีวิต" เพราะเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ช่วงชีวิตมีการปรับเปลี่ยน เหตุผลและปัจจัยในการใช้เงินก็มักจะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย การวางแผนและจัดสรรเงินให้พอเพียงและตรงกับจุดมุ่งหมายในชีวิตจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากเราจัดสรรเงินให้มีสภาพคล่องได้ไม่มากพอ เราก็อาจไม่สามารถบรรลุเป้าหมายในการใช้ชีวิตตามที่ตั้งใจไว้ได้
เราสามารถแบ่งช่วงชีวิตได้เป็น 4 ช่วง คือ
1. ช่วงเริ่มทำงานและสะสมทุนทรัพย์
คนส่วนใหญ่ที่เริ่มทำงานมักจะมีอายุอยู่ในช่วง 20 - 30 ปี ซึ่งจะมีรายได้ไม่มากแต่ก็สม่ำเสมอ เป็นช่วงการเริ่มต้นสะสมทรัพย์สิน ซึ่งหากเริ่มมีเงินออมบ้างแล้วก็ควรจะมองหาลู่ทางการลงทุนไว้บ้าง เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการฝากเงินกับธนาคารแต่เพียงอย่างเดียว แต่อย่าลืมว่าไม่ควรกู้เงินมาลงทุนเป็นอันขาด
2. ช่วงที่มีรายได้สูงกว่ารายจ่าย
เมื่อทำงานมาได้สักระยะหนึ่งก็จะมีรายได้สูงกว่ารายจ่าย (ช่วงอายุประมาณ 30 - 60 ปี) ซึ่งรายได้นี้จะเพิ่มขึ้นตามความสามารถและประสบการณ์ที่สูงขึ้น ทำให้มีเงินเหลือมากขึ้น หากเพิ่มสัดส่วนของเงินที่นำไปลงทุน ลงทุนอย่างสม่ำเสมอ และสำรองเงินส่วนหนึ่งไว้ใช้ในยามเกษียณ ก็จะช่วยให้ยังคงมีสภาพคล่องทางการเงินอยู่แม้ในยามที่ไม่ได้ทำงานแล้ว
3. ช่วงการเกษียณอายุการทำงาน
หลังจากเกษียณ (60 ปีขึ้นไป) โอกาสในการหารายได้ก็จะลดน้อยลง การใช้เงินในช่วงนี้จึงเป็นการนำเงินที่สะสมไว้มาใช้ ซึ่งหากใครสะสมทรัพย์สินหรือเตรียมตัวไว้เป็นอย่างดี ก็จะสามารถใช้จ่ายได้อย่างสบายใจ ข้อควรระวังก็คือถ้าใครเอาแต่ใช้โดยไม่เผื่อไว้ในยามฉุกเฉินก็อาจขาดสภาพคล่องทางการเงินได้ในที่สุด
4. ช่วงปลายชีวิต
ส่วนใหญ่แล้วค่าใช้จ่ายในช่วงบั้นปลายของชีวิตจะหมดไปกับค่ารักษาพยาบาล แต่หากใครยังมีทรัพย์สินมากเกินกว่าที่จะใช้หมดก็สามารถแบ่งปัน เผื่อแผ่ให้แก่คนรอบข้าง หรือจะนำเงินไปบริจาคให้เป็นสาธารณกุศลก็ดีไม่น้อย เพราะนอกจากจะสร้างประโยชน์แก่สังคมแล้ว ยังก่อให้เกิดคุณค่าทางจิตใจของผู้ให้ด้วย
จาก 4 ช่วงชีวิตดังกล่าว จะเห็นว่าเรามีโอกาสหารายได้แค่เพียง 2 ช่วงแรกเท่านั้น (ประมาณ 40 ปีในการทำงาน) ที่สำคัญคือ เราไม่อาจล่วงรู้ได้ว่าเราจะใช้ชีวิตหลังจากเกษียณไปถึงอายุเท่าไหร่ บางคนอาจมีอายุถึง 85 ปี นับเป็นจำนวน 35 ปี หรือเกือบ 1 เท่าของการใช้ชีวิตโดยที่ไม่ได้ทำงานเลยทีเดียว ดังนั้น เราจึงควรวางแผนและเตรียมพร้อมทางการเงินไว้ให้ดี เพื่อช่วยให้เรามีเงินใช้ในอนาคตได้อย่างไม่ต้องกังวล  

แท็กที่เกี่ยวข้อง


ข่าวและอีเว้นท์การเงินล่าสุด



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)