รู้ไว้ไม่ตกเทรนด์ กับสกุลเงิน AEC

ข่าว icon 25 ก.ย. 58 icon 2,545
รู้ไว้ไม่ตกเทรนด์ กับสกุลเงิน AEC

รู้ไว้ไม่ตกเทรน กับสกุลเงิน AEC
AEC หรือ Asean Economics Community คือการรวมตัวกันของประเทศใน Asean 10 ประเทศ โดยมี ประเทศไทย, พม่า, ลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, กัมพูชา และบรูไน เพื่อจะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน รูปแบบจะคล้ายๆ กลุ่ม Euro Zone จะทำให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ อำนาจการต่อรองต่างๆ กับคู่ค้า รวมถึงการนำเข้า และส่งออกของประเทศใน Asean มีความเป็นเสรีมากขึ้น ยกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจขอไว้ไม่ให้ลดภาษีนำเข้า (เรียกว่าสินค้าอ่อนไหว)
ลองมาดูกันว่า แต่ละประเทศในกลุ่ม AEC นั้น ใช้สกุลเงินอะไรกันบ้าง? และเมื่อเทียบกับสกุลเงินบาทของเราแล้วจะถูกหรือแพงกว่ากันมากน้อยแค่ไหนค่ะ
บาท (Baht) สกุลเงิน (Curency) ประเทศ (Country)
  1 บาท (BAHT) ไทย (Thailand)
0.0016 1 ด่ง (VND) เวียดนาม (Vietnam)
0.0026 1 รูเปียร์ (IDR) อินโดนีเซีย (Indonesia)
0.0045 1 กีบ (LAK) ลาว (Laos)
0.0089 1 เรียล (KHR) กัมพูชา (Cambodia)
0.0282 1 จ๊าด (MMK) พม่า (Myanmar)
0.7867 1 เปโซ (PHP) ฟิลิปปินส์ (Philippines)
8.4960 1 ริงกิต (MYR) มาเลเซีย (Malaysia)
25.6827 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ (SGD) สิงคโปร์ (Singapore)
25.7075 1 ดอลลาร์บรูไน (BND) บรูไน (Brunei)
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนที่แสดงข้างต้น เป็นอัตราขายโดยประมาณของแต่ละสกุลเงิน อ้างอิงจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วันที่ 25 กันยายน 2558
Asean จะรวมตัวเป็น "ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" และมีผลอย่างชัดเจนในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ที่จะถึงนี้ ที่จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่เกิดขึ้น ซึ่งจะขอกล่าวคร่าวๆ ดังนี้
  1. ในเรื่องของการลงทุน ที่จะมีความเป็นเสรีภาพมากขึ้น คือใครจะไปลงทุนที่ไหนก็ได้
  2. ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว และการบินอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะไทยอยู่กลาง Asean และอาจจะเด่นในเรื่องการจัดประชุมต่างๆ, การแสดงนิทรรศการ และยังเด่นในเรื่องของการคมนาคมอีกด้วย
  3. การค้าขายจะขยายตัวอย่างน้อย 25% แต่อุตสาหกรรมที่น่าห่วงคือที่ใช้แรงงานเป็นหลัก เช่น การเกษตร และก่อสร้าง เป็นต้น อุตสาหกรรมสิ่งทออาจได้รับผลกระทบ เนื่องจากฐานการผลิตอาจย้ายไปประเทศที่ผลิตสินค้าทดแทนได้
  4. เรื่องภาษาอังกฤษจะเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก เนื่องจากจะมีคนอาเซียนเข้ามาอยู่ในไทยมากมาย และโดยส่วนใหญ่จะพูดภาษาไทยไม่ได้ แต่จะใช้ภาษาอังกฤษแทน และ AEC ยังมีมาตรฐานว่าจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางเพื่อสื่อสาร
  5. การค้าขายบริเวณชายแดนจะคึกคักเป็นอย่างมาก เนื่องจากด่านศุลกากรชายแดนอาจมีบทบาทน้อยลง แต่อาจจะมีปัญหาเรื่องยาเสพติด และปัญหาสังคมตามมาด้วย
  6. คนไทยที่ใช้ภาษาอังกฤษได้ บางส่วนจะสมองไหลไปทำงานเมืองนอก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ (ที่จะให้สิงคโปร์เป็นหัวหอกหลัก) เพราะชาวไทยเก่ง แต่ปัจจุบันได้ค่าแรงถูกมาก จึงอาจทำให้คนแห่กันไปทำงานที่สิงคโปร์เยอะมาก แต่ในขณะเดียวกัน ชาวต่างชาติที่เก่งๆ เช่น ชาวพม่า กัมพูชา ก็จะเข้ามาทำงานไทยด้วยเช่นกัน โดยจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลาง
  7. อุตสาหกรรมโรงแรม, การท่องเที่ยว, ร้านอาหาร, รถเช่า จะคึกคักมากขึ้นเนื่องจากมีการสัญจรมากขึ้น แต่สาธารณูปโภคของไทยหากไม่มีการเตรียมพร้อมให้ดี อาจขาดแคลนได้
  8. กรุงเทพฯ จะแออัดมากขึ้น (จากที่แออัดอยู่แล้ว) เนื่องจากมีตำแหน่งที่เป็นศูนย์กลางของ Asean และยังเป็นเมืองหลวงของไทย โดยเมืองหลวงอาจจะมีสำนักงานของชาวต่างชาติมาตั้งมากขึ้น
  9. ปัญหาทางสังคมจะรุนแรงหากไม่ได้รับการวางแผนที่ดี เนื่องจากจะมีขยะจำนวนมากขึ้น, ปัญหาการแบ่งชนชั้น ถ้าคนไทยทำงานกับชาวต่างชาติที่ด้อยกว่า และที่สำคัญอาจเกิดการทำผิดทางกฎหมายมากขึ้น จากคนที่ไม่รู้กฎหมายนั่นเอง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.thai-aec.com

แท็กที่เกี่ยวข้อง


ข่าวและอีเว้นท์การเงินล่าสุด



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)