เงินของเรา เขาเอาไปทำอะไร?

ข่าว icon 24 ก.ย. 58 icon 3,371
เงินของเรา เขาเอาไปทำอะไร?


ใครที่เป็นมนุษย์เงินเดือน คงคุ้นเคยกับการโดนหักเงินทุกๆ เดือน จำนวน 750 บาท กันนะคะ แล้วเคยสงสัยไหมว่า ทำไมต้อง 750 บาท? และหักแล้วเงินจำนวนนั้นไปอยู่ไหน?
เงินที่ถูกหักไปนั้น เรียกว่า "เงินประกันสังคม" จะถูกหัก 5% ของฐานเงินเดือน สูงสุด 750 บาท (คิดจากฐานเงินเดือน 15,000 บาท ถึงแม้ว่าฐานเงินเดือนจะสูงกว่านี้ก็ตาม) แล้วเราจะได้ประโยชน์ไหม จากการโดนหักเงินแต่ละเดือนนั้น ลองมาดูกัน
เงิน 750 บาท ที่ถูกหักไป จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ดังนี้
  1. 225 บาท
    - กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย ถ้าหยุดงานจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ตามใบรับรองแพทย์ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน
    - กรณีคลอดบุตร เบิกค่าคลอดบุตรได้ครั้งละ 13,000 บาท / ไม่เกิน 2 ครั้ง
    - กรณีทุพพลภาพ ได้รับเงินทดแทนจากการขาดรายได้เดือนละ 7,500 บาท ตลอดชีวิต และค่ารักษาพยาบาลหากเข้ารักษาที่โรงพยาบาลของรัฐฟรี หากเข้ารักษาที่โรงพยาบาลเอกชน จะจ่ายให้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท
    - กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 350 บาทต่อบุตร 1 คน เบิกได้พร้อมกันคราวละ 2 คน รวม 700 บาท โดยเบิกได้ตั้งแต่เกิดจนอายุครบ 6 ปี
    - กรณีเสียชีวิต ได้ค่าทำศพ 40,000 บาท และเงินสมทบแก่ทายาทตามระยะเวลาการส่งเงินสมทบ กรณีส่งเงินสมทบ 3 ปีขึ้นไป ได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเดือนครึ่ง และส่งเงินสมทบ 10 ปีขึ้นไป ได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้าง 5 เดือน
    หมายเหตุ: ถ้าเราไม่ได้ใช้สิทธิที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เงินในส่วนนี้ก็จะหายไป
  2. 75 บาท ช่วยดูแลกรณีว่างงาน ถ้าถูกเลิกจ้างจะได้รับเงินชดเชยร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน ระยะเวลาการจ่ายไม่เกิน 180 (6 เดือน) ภายใน 1 ปี แต่ถ้าเป็นการลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลาจะได้รับเงินชดเชยร้อยละ 30 ของค่าจ้างรายวัน ระยะเวลาการจ่ายไม่เกิน 90 วัน (3 เดือน)
    หมายเหตุ: ถ้าไม่ได้ใช้สิทธิ เงินในส่วนนี้จะหายไป
  3. 450 บาท เก็บเป็นเงินออม จะได้คืนตอนอายุครบ 55 ปี โดยที่เงื่อนไขในการได้รับเงินก้อนสุดท้ายคือ
    - กรณีจ่ายเงินสมทบ 15 ปี จะได้รับเงินบำนาญเดือนละ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
    - กรณีจ่ายเงินสมทบเกิน 15 ปี จะได้รับเงินบำนาญเพิ่มขึ้นปีละ 1.5% ของค่าจ้างไปตลอดชีวิต
    - กรณีจ่ายเงินสมทบน้อยกว่า 15 ปี จะได้รับคืนในส่วนของเงินออมของตนเอง และของนายจ้างรวมทั้งเงินผลประโยชน์ทดแทน
เพิ่มเติม ในส่วนของเงินประกันสังคมที่เสียไปนั้น ยังมีสิทธิจะได้รับการรักษาฟรีจากโรคเรื้อรังทั้ง 8 โรคนี้ค่ะ
  • เบาหวาน
  • ถุงลมโป่งพอง
  • ตับอักเสบเรื้อรัง / ตับแข็ง
  • ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • หัวใจล้มเหลว
  • ความดันโลหิตสูง
  • มะเร็ง (10 ชนิด)
  • โรคหลอดเลือดสมอง (CVA)
โดยผู้ที่จะใช้สิทธิต้องจ่ายสมทบประกันสังคมมาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน และเข้ารักษาที่โรงพยาบาลที่ระบุไว้บนหน้าบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาลค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.sso.go.th

แท็กที่เกี่ยวข้อง


ข่าวและอีเว้นท์การเงินล่าสุด

เปิดแนวคิด MONEY EXPO 2024 “Digital Finance for All การเงินดิจิทัล เพื่อทุกคน” ปักธงจัดงาน 7 ครั้ง 6 ภูมิภาคทั่วประเทศ
ทีทีบี จับมือ วีซ่า เปิดตัวบัตรเดบิตวีซ่า ttb all free Olympic Games Paris 2024 บัตรใบแรกและใบเดียวที่ปลดล็อกค่าแรกเข้า/รายปี ให้ใช้จ่ายคุ้มค่าได้มากกว่าเดิม
บัตรเครดิต ttb ผนึก Google Pay และ Visa เปิดฟีเจอร์ชำระเงินยุคดิจิทัล แตะจ่ายไร้สัมผัสผ่านสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ พร้อมรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 1,200 บาท
ทีทีบี ผนึก โลตัส เสริมแกร่งบริการทางการเงิน ปูพรมจุดรับฝากเงิน-จ่ายบิล ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วไทย มอบประสบการณ์การเงินที่ดีขึ้นให้ลูกค้า


เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)