เตรียมตัว... ก่อนตัดสินใจซื้อประกันผ่านแบงก์

icon 9 พ.ค. 57 icon 11,175
เตรียมตัว... ก่อนตัดสินใจซื้อประกันผ่านแบงก์

เตรียมตัว... ก่อนตัดสินใจซื้อประกันผ่านแบงก์

ปัจจุบันช่องทางการขายผ่านทางธนาคาร หรือ Bancassurance เป็นอีกช่องทางหนึ่งของการขายประกันชีวิต และประกันภัย เพราะเป็นช่องทางที่สามารถผลิตเบี้ยประกันภัยให้กับบริษัทและสร้างรายได้ค่าธรรมเนียมให้กับธนาคารพาณิชย์ได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ เนื่องจากฐานลูกค้าส่วนใหญ่จะมาจากฐานลูกค้าเงินฝากของแต่ละธนาคารนั่นเอง ส่งผลให้แต่ละธนาคารต่างก็แข่งขันกันในการพัฒนาช่องทาง Bancassurance เพื่อนำเสนอสินค้า และบริการที่สะดวกรวดเร็วให้กับลูกค้า ดังนั้น เราจึงควรทราบกันก่อนว่า ควรเตรียมตัวอย่างไร ก่อนตัดสินใจซื้อประกันผ่านแบงก์

ขั้นตอนที่ 1 ความจำเป็นในการซื้อประกัน


ก่อนที่จะถูกพนักงานสาขาขายประกันต้องคิดก่อนว่า มีความจำเป็นในการทำประกันมากน้อยเพียงใด ถ้าเรามีความจำเป็นในการซื้อประกัน ควรจะรู้ว่าประกันลักษณะไหนที่ต้องการ ก่อนที่ไปที่สาขาธนาคาร ควรจะนึกไว้ให้มั่นว่าจะไปโดนหลอกขาย เช่น มีรถยนต์ต้องซื้อประกันรถยนต์ ต้องนึกว่าต้องทำประกันรถเบี้ยเท่านี้ ถ้าธนาคารให้ข้อเสนอที่ดีกว่าจึงค่อยซื้อ ถ้าไม่ดีกว่าไม่ต้องซื้อ
สิ่งแรกคือ ต้องรู้จักตัวเองก่อนว่า มีความต้องการเรื่องของประกันอะไรบ้าง ถ้าเป็นคนโสดไม่มีพ่อแม่ ความต้องการซื้อประกันอาจจะไม่เยอะมาก อาจจะเป็นการซื้อประกันสินทรัพย์มากกว่า ประกันบ้าน อัคคีภัย ประกันรถ ซึ่งถ้ามีความต้องการและต้องการลดต้นทุน ต้องรู้ว่าต้องจ่ายเบี้ยเดือนเท่าไหร่ ถ้าให้ผลประโยชน์ดีกว่าก็ซื้อ แต่ถ้ามีลูกอยากจะวางแผนเรื่องการศึกษาให้กับลูก ก็ต้องดูให้ครอบคลุมถึงตรงนี้ด้วย
หากเป็นคนโสดต้องคิดดูก่อนว่าต้องการประกันประเภทไหน หากพนักงานธนาคารตื๊อให้ซื้อก็ลองถามดูว่า แบบประกันอย่างที่ลูกค้าต้องการมีหรือไม่ ซึ่งจะทำให้การใช้ธนาคารเป็นการหาข้อมูลเพิ่มเติมหรือให้บุคลากรนั้นได้มาซึ่งสิ่งทีตอบโจทย์ของลูกค้า ถ้าไม่มีความต้องการ แต่มีคนมาขายก็ให้ปฏิเสธไปเลย

ขั้นตอนที่ 2 พิจารณาวงเงินที่จะสามารถซื้อประกันได้


ถ้ามีความต้องการ และอยากจะซื้อประกันแล้ว ก็ต้องพิจารณาในแง่ของวงเงินที่สามารถจะซื้อได้จริง สิ่งหนึ่งที่ไม่ชอบเลย และไม่อยากให้เกิดขึ้นคือ ประกันเป็นภาระผูกพันระยะยาวเวลาไปเทียบกับเงินฝาก โดยเทียบในเดือนนั้น ปีนั้น
ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นบ่อย คือการที่พนักงานแนะนำว่าดอกเบี้ยแบงก์ได้ 1% แต่ประกันได้ 2% ลูกค้าก็ตัดสินใจซื้อประกันโดยลืมไปว่าจะได้ผลตอบแทนที่ 2% ไปจนครบสัญญา 1 ปี ผ่านไปเมื่อดอกเบี้ยเปลี่ยน ลูกค้าเปลี่ยนใจไม่อยากทำประกันแล้ว เพราะมองว่าผลตอบแทนน้อย ยกเลิกกรมธรรม์ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ลูกค้าขาดทุนเพราะส่งไม่ครบสัญญามูลค่าเงินสดที่มีอยู่ยังมีน้อย เพราะจ่ายไปเพียง 1 ปีเท่านั้น เพราะมีค่าเวนคืน แต่ลูกค้าจะอ้างว่าพนักงานสาขาบอกไม่ชัดเจน นี่คือกรณีของคนมีเงินที่ถูกขายโดยไม่ถูกวิธี
อีกกรณีคือ ไม่ได้มีเงิน เจ้าหน้าที่บอกว่าฝากเงิน ได้ดอกเบี้ยเท่านี้มีเงินฝากแค่ปีเดียว สุดท้ายปีที่ 10 จ่ายไปแล้ว ปีที่ 11 กำลังจะเริ่ม แต่ไม่มีเงินแล้วก็ต้องเวนคืนกรมธรรม์ ทำให้ขาดทุนเหมือนกัน ดังนั้น ควรจะมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าประกันไม่ใช่การลงทุน แต่ประกันคือ การประกัน แต่เป็นการคุ้มครองที่มีผลตอบแทนทางดอกเบี้ย ไม่ใช่การลงทุนที่จะมีดอกงอกเงยเทียบกับทุกคนในระยะยาวได้ ถ้าเข้าใจแล้วซื้อไม่มีปัญหา แต่ถ้าไม่เข้าใจแล้วซื้อ มาขอเวนคืนทีหลังจะขาดทุนเสียเวลาทั้งคนซื้อและขาย ถ้าไม่มีเงินแล้วมาซื้อก็จะเป็นภาระทั้งคนซื้อและผู้ทำประกันด้วย สิ่งที่ต้องคำนึงคือต้องรู้จักตนเองว่ามีเงินเพียงพอที่จะซื้อประกันต่อไปในระยะยาวหรือไม่

ขั้นตอนที่ 3 คำนึงถึงความมั่นคงของบริษัทประกัน


ควรพิจารณาถึงแบบประกัน บริษัทที่รับประกัน ธนาคารที่ขายว่ามั่นใจในแบบประกันนั้นเพียงใด เพราะธนาคารจะทำหน้าที่เสมือนโบรกเกอร์ให้กับบริษัทประกันเหล่านั้น ความสัมพันธ์ระหว่างธนาคารและลูกค้า ธนาคารต้องรักษาผลประโยชน์ของลูกค้า โดยคัดเลือกบริษัทประกันที่มั่นคง แบบประกันที่มีผลตอบแทนที่เหมาะสมมาให้ลูกค้า ดังนั้น เมื่อเดินเข้าไปที่สาขาของธนาคารแล้ว ก่อนจะซื้อประกันอะไรต้องถามให้ชัดเจนว่า ประกันของบริษัทอะไร ใครคุ้มครอง บริษัทมีความมั่นคงแค่ไหน ก็จะทำให้เราสามารถซื้อประกันได้อย่างครบวงจร
แท็กที่เกี่ยวข้อง
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)