แผนการออม... เตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณ

ข่าว icon 16 พ.ย. 58 icon 3,327
แผนการออม... เตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณ


การวางแผนเกษียณของคนแต่ละช่วงวัยนั้นแตกต่างกัน เนื่องจากระดับรายได้ เป้าหมายทางการเงิน ลักษณะการใช้ชีวิตที่แตกต่างกัน ดังนั้น วิธีการรักษาวินัยการออม รักษาเป้าหมายการออมระยะยาวที่จะประสบความสำเร็จก็คือ การออมแบบรายเดือน ที่จัดอยู่ในการออมแบบสวัสดิการพื้นฐานที่มนุษย์เงินเดือนบางกลุ่มได้รับ วันนี้เราลองมาดูกันว่า การออมด้วยสวัสดิการพื้นฐานนั้นมีอะไรบ้าง มีประโยชน์อย่างไร เพื่อนำไปสู่เป้าหมายซึ่งก็คือวัยเกษียณนั่นเอง
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพในไทยนั้นเป็นการออมภาคสมัครใจ เพราะนายจ้างจะจัดตั้งหรือไม่ก็ได้ และอัตราการจ่ายเงินสมทบก็ขึ้นอยู่กับการกำหนดของนายจ้าง เป็นกองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นด้วยความสมัครใจ เพื่อให้ลูกจ้างที่มีหลักประกันทางการเงิน และเป็นสวัสดิการเมื่อลูกจ้างลาออกจากงาน เกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต โดยอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐผ่านกฎหมายที่เรียกว่า "พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ"
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นมีความสำคัญ เพราะทำให้ลูกจ้างมีการออมอย่างต่อเนื่อง มีวินัย และที่สำคัญคือมีนายจ้างช่วยออมอีกด้วย เงินที่ลูกจ้างจ่ายเข้ากองทุนเรียกว่า "เงินสะสม" เป็นเงินที่ยอมให้นายจ้างหักจากค่าจ้างทุกเดือนตั้งแต่ 2% จนถึงสูงสุดไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง ส่วนเงินที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุนเรียกว่า "เงินสมทบ" โดยจะสมทบเข้ากองทุนทุกเดือนไม่น้อยกว่าเงินสะสมที่ลูกจ้างจ่ายเข้ากองทุนและสูงสุดไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง สำหรับคนที่บริษัทไม่มีเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้ออมรูปแบบอื่นที่มีการหักเงินจากบัญชีธนาคาร เช่น การออมในกองทุนรวม อย่างน้อยเดือนละ 500 บาท คนอายุ 20 ปี ไม่เกิน 25 ปี เริ่มออมด้วยเงิน 500 บาท อายุ 25 ปีขึ้นไป เงินเดือนเริ่มมากขึ้นก็ออมเพิ่มเป็น 1,000 บาท เป็นต้น

(รูปภาพจาก : www.finkeycorporate.com)
กองทุนประกันสังคม
การออมด้วยกองทุนประกันสังคมเป็นการออมภาคบังคับของแรงงานในระบบ โดยมาจากการสมทบของ 3 ฝ่ายคือ ลูกจ้าง นายจ้าง และรัฐบาล ซึ่งลูกจ้างต้องจ่ายเงินสมทบทุกเดือนๆ ละ 750 บาท กองทุนประกันสังคมจะหักไว้ 450 บาท เพื่อเข้ากองทุนชราภาพ นายจ้างจ่ายสมทบมาให้อีก 450 บาท รัฐบาลจ่าย 150 บาท รวมแต่ละเดือนแล้วจำนวนเงินออมเพื่อการชราภาพในกองทุนประกันสังคมมีจำนวน 1,050 บาท โดยเงินจำนวน 1,050 บาทนี้จะออมในกองทุนทุนชราภาพอย่างต่อเนื่อง และจะจ่ายให้ผู้ประกันตนในยามเกษียณ โดยตามเกณฑ์ของกองทุนประกันสังคมนั้นหากผู้ประกันตนมีอายุ 55 ปีบริบูรณ์ สามารถลาออกจากกองทุนได้ 2 แบบคือ (ก) จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จ และ (ข) จ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน จะได้รับเงินบำนาญเป็นรายเดือน
เงินบำนาญที่จะได้รับจากกองทุนนี้ค่อยข้างน้อย โดยคำนวณจากเงินเดือน 15,000 บาท คูณด้วยอัตราบำนาญ 20% โดยเงินเดือน 15,000 บาท เป็นฐานในการคำนวณเงินบำนาญไม่ว่าผู้ประกันตนนั้นจะมีเงินเดือนมากกว่าหรือน้อยกว่า 15,000 บาทก็ตาม หากผู้ประกันตนออมเพิ่มอัตราเงินบำนาญจะเพิ่มขึ้น จะได้รับอัตราบำนาญเพิ่มอีก 1.5% ของเงินออมที่ออมเพิ่มในช่วงเวลาหนึ่ง อัตราเงินบำนาญสูงสุดของกองทุนประกันสังคมคือ 42.5% แต่ผู้ประกันตนจะได้รับอัตราสูงสุดก็ต่อเมื่อเริ่มส่งเงินสมทบตั้งแต่เข้าทำงานในอายุ 25 ปี มีระยะเวลาในการออม 35 ปี เงินในส่วนนี้ก็จะช่วยในยามเกษียณได้ส่วนหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม การออมเงินผ่านกองทุนประกันสังคมนั้นมีจุดอ่อนตรงที่จ่ายเงินบำนาญเมื่อเกษียณแล้วในจำนวนที่น้อย อาจไม่เพียงพอต่อการครองชีพหลังเกษียณ
กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
เหมาะสำหรับผู้มีมีอาชีพอิสระ เช่น เกษตรกร ค้าขาย แม่บ้าน เป็นต้น ที่ไม่ได้เป็นแรงงานในระบบ หรืออยู่ในประกันสังคมตามมาตรา 40 ก็สามารถออมได้ ถือว่าเป็นประโยชน์มาก การออมกับ กอช. นี้ สมาชิกจะได้รับประโยชน์ถึง 2 ชั้น คือ (ก) ผลประโยชน์จากเงินที่รัฐบาลร่วมสมทบ ซึ่งจะแตกต่างตามช่วงอายุ เช่น หากมีอายุ 15 - 30 ปี รัฐจะสมทบ 50% ของเงินออม แต่ไม่เกิน 600 บาทต่อปี ผู้ออมอายุตั้งแต่ 30 - 50 ปี รัฐร่วมสมทบ 80% ของเงินออม แต่ไม่เกิน 960 บาทต่อปี ผู้ออมอายุ 50 ปีขึ้นไป รัฐร่วมสมทบ 100% แต่ไม่เกิน 1,200 บาทต่อปี โดยกำหนดให้ออมขึ้นต่ำ 50 บาทต่อเดือน ไม่เกิน 13,200 บาทต่อปี
จุดเด่นของ กอช. คือ เมื่อเกษียณอายุแล้วผู้ออมจะได้เงินออมทั้งที่เป็นเงินตัวเองและเงินที่รัฐสมทบให้ทุกบาททุกสตางค์ จะได้รับผลตอบแทนจากการที่รัฐนำเงินไปลงทุน ซึ่ง กอช. จะรับประกันผลตอบแทนของสมาชิกให้ได้รับไม่น้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำประเภท 12 เดือน โดยเฉลี่ยของ 7 ธนาคารคือ ธ.ออมสิน, ธอส., ธ.กรุงไทย, ธ.กรุงเทพ, ธ.ไทยพาณิชย์, ธ.กสิกรไทย และ ธ.กรุงศรีฯ เป็นการสร้างความมั่นใจว่าผู้ออมจะได้รับผลตอบแทนที่ดี เพราะโดยปกติผลตอบแทนของเงินฝาก 12 เดือนจะไม่ต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้ออยู่แล้ว

ขอขอบคุณ : หนังสือการเงินธนาคาร ฉบับพิเศษ

แท็กที่เกี่ยวข้อง


ข่าวและอีเว้นท์การเงินล่าสุด



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)