เงื่อนไขดีๆ เมื่อคิดรีไฟแนนซ์

ข่าว icon 13 พ.ย. 58 icon 3,185
เงื่อนไขดีๆ เมื่อคิดรีไฟแนนซ์


จากที่เราทราบกันดีนะคะว่า ในการกู้ซื้อบ้านแรกๆ นั้น ธนาคารมักจะเสนออัตราดอกเบี้ยคงที่ หรืออัตราดอกเบี้ยโปรโมชั่นที่ค่อนข้างต่ำมาให้ เพื่อให้เราตัดสินใจที่จะกู้ซื้อบ้านกับธนาคานั้นๆ แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป อัตราดอกเบี้ยมักจะสูงขึ้น (เพราะหมดระยะเวลาโปรโมชั่นไปแล้ว) ทางออกของผู้กู้หลายๆ คนนั้นก็คือ "การรีไฟแนนซ์" ( คลิกดูบทความสินเชื่อรีไฟแนนซ์) ซึ่งวันนี้ K-Expert มีคำแนะนำดีๆ ในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขบางอย่างเพื่อให้การรีไฟแนนซ์เป็นประโยชน์มากขึ้น ลองไปดูกันเลยค่ะ
เพิ่มผู้กู้ สร้างความสามารถในการชำระหนี้
เมื่อมีความจำเป็นต้องขอสินเชื่อเพิ่ม เช่น จำเป็นต้องกู้ซื้อรถยนต์ไปใช้ในการทำงานหรือทำธุรกิจ หรือต้องการกู้เงินเพื่อใช้ศึกษาต่อ แต่ความสามารถในการชำระหนี้ไม่เพียงพอ เพราะติดภาระผ่อนหนี้บ้านอยู่ การรีไฟแนนซ์สามารถเพิ่มความสามารถในการชำหระหนี้ด้วยการเพิ่มผู้กู้ที่เป็นเครือญาติได้ค่ะ ซึ่งหลังจากที่รีไฟแนนซ์โดยเปลี่ยนจากการกู้คนเดียวเป็นการกู้ร่วมแล้ว ในการขอสินเชื่อครั้งต่อไป ภาระผ่อนที่ธนาคารนำไปพิจารณาก็จะหารตามจำนวนผู้กู้ร่วมแทนที่จะคิดเต็มจำนวน ทั้งนี้การกู้ร่วมช่วยให้เรามีโอกาสในการกู้ผ่านได้ก็จริง แต่ควรให้ความสำคัญกับการผ่อนชำระหนี้ด้วยค่ะ ว่ามีรายได้เพียงพอต่อการชำระหนี้หรือไม่ ในกรณีที่เราเป็นคนชำระหนี้เพียงคนเดียวซึ่งอาจส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาทางการเงินได้ และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการผ่อนชำระหนี้ ควรมีภาระการผ่อนต่อเดือนไม่เกินกว่า 30% ของรายได้ค่ะ เช่น ถ้ามีรายได้เดือนละ 40,000 บาท ก็ควรมีภาระผ่อนต่อเดือนไม่เกิน 12,000 บาท
เพิ่มระยะเวลาผ่อน ลดภาระค่าใช้จ่าย
หากใครที่ทำสัญญาวงเงินกู้กับธนาคารเดิมไว้ โดยเลือกระยะเวลาการผ่อนสั้นกว่าที่ธนาคารกำหนด เช่น มีสิทธิจะกู้ได้สูงสุด 30 ปี แต่เลือกกู้เพียงแค่ 15 ปี ทำให้ยอดผ่อนชำระต่อเดือนเป็นจำนวนเงินที่สูง หากต่อมามีภาระค่าใช้จ่ายอย่างอื่นเพิ่มมากขึ้น ทำให้ไม่สามารถผ่อนหนี้บ้านได้ตามปกติ การรีไฟแนนซ์สามารถเลือกยืดระยะเวลาการผ่อนครั้งใหม่ให้ยาวขึ้นได้ ซึ่งจะทำให้ค่าผ่อนต่อเดือนลดลง โดยระยะเวลาการผ่อนที่เลือกใหม่จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งใหม่กำหนด อย่างไรก็ตามการเพิ่มระยะเวลาในการผ่อนชำระนั้น ถึงแม้ว่าจะช่วยให้ภาระผ่อนต่อเดือนลดลงก็จริง แต่ต้องไม่ลืมว่าการผ่อนชำระด้วยจำนวนเงินที่น้อยลงจะส่งผลกระทบให้ภาระดอกเบี้ยโดยรวมสูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการผ่อนสั้นด้วยจำนวนเงินที่มากกว่าค่ะ

เพิ่มวงเงิน มีเงินไว้ใช้จ่ายในยามจำเป็น
สำหรับวงเงินกู้ของการรีไฟแนนซ์ไม่จำเป็นต้องเท่ากับภาระหนี้คงเหลือจากธนาคารเสมอไปค่ะ ถ้าหากใครที่กำลังจะรีไฟแนนซ์ และมีความจำเป็นต้องใช้เงิน เช่น อยากซ่อมแซมบ้านก็สามารถขอวงเงินเพิ่มได้ ซึ่งวงเงินทั้งหมดจะต้องไม่เกินมูลค่าของหลักประกันตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด เช่น วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 80% ของราคาประเมิน หรือบางธนาคารอาจกำหนดเงื่อนไขการเพิ่มวงเงิน เช่น สามารถขอกู้เพิ่มได้ไม่เกิน 5 ล้านบาท เป็นต้น แต่การขอวงเงินเพิ่มธนาคารต้องพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้ประกอบด้วยว่า รายได้เมื่อเปรียบเทียบกับภาระหนี้แล้วเพียงพอ สามารถผ่อนชำระหนี้ได้ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนดหรือไม่
ดังนั้น ก่อนตัดสินใจเลือกเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขที่แตกต่างไปจากสัญญากู้เดิม ควรศึกษารายละเอียดต่างๆ และเลือกให้เหมาะสมกับความจำเป็น เพื่อให้ได้ประโยชน์และคุ้มค่ามากที่สุดนะคะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ธนาคารกสิกรไทย

แท็กที่เกี่ยวข้อง


ข่าวและอีเว้นท์การเงินล่าสุด



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)