"ตราสาร" ความฝันสู่การมีเงินล้าน

ข่าว icon 20 พ.ย. 58 icon 4,724
"ตราสาร" ความฝันสู่การมีเงินล้าน


"ตราสาร" ทางการเงินนั้นมีหลายประเภท โดยทั่วไปจะให้ผลตอบแทนที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของตราสารนั้นๆ ซึ่งโดยพื้นฐานแล้ว ตราสารที่มีความเสี่ยงสูงย่อมให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าตราสารที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า แต่การที่เราจะเลือกลงทุนในตราสารประเภทใดนั้น ก็ต้องคำนึงถึงระดับความเสี่ยงที่ตัวเราจะรับได้ด้วย วันนี้เราลองมาดูว่าตราสารทางการเงินที่คนส่วนใหญ่ใช้เป็นเครื่องมือในการลงทุนเพื่อแสวงหาผลกำไรนั้นมีอะไรกันบ้างค่ะ
1. ตราสารหนี้
เป็นตราสารที่ผู้ออกต้องการระดมเงินกู้ยืมจากประชาชน ดังนั้นหากลงทุนในตราสารหนี้ เราจะอยู่ฐานะของการเป็นเจ้าหนี้ ซึ่งจะได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยที่มีอัตราคงที่แน่นอน หรืออาจมีการอ้างอิงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ดอกเบี้ยที่อ้างอิงกับอัตราเงินเฟ้อ และเมื่อครบกำหนดเราจะได้รับเงินต้นคืนทั้งหมด ซึ่งผู้ออกตราสารหนี้นั้นมีทั้งภาครัฐบาลและบริษัทเอกชน
  • ตราสารหนี้ที่ออกโดยภาครัฐ ถ้าหากมีอายุไม่เกิน 1 ปี จะเรียกว่า "ตั๋วเงินคลัง" ส่วนตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจที่มีอายุเกิน 1 ปี จะเรียกว่า "พันธบัตร" ซึ่งผลตอบแทนของตราสารกลุ่มนี้ถือว่ามีความเสี่ยงต่ำที่สุด เพราะมีความน่าเชื่อถือและความมั่นคงเนื่องจากเป็นของหน่วยงานภาครัฐ
  • ตราสารหนี้ที่ผู้ออกเป็นบริษัทเอกชน คือ "หุ้นกู้" ซึ่งปัจจุบันบริษัทต่างๆ มีการใช้เป็นเครื่องมือในการกู้ยืมเงินกันมาก ทำให้ประชาชนสามารถเลือกลงทุนโดยพิจารณาจากทั้งอายุของหุ้นกู้และอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับ รวมถึงอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารที่สะท้อนถึงภาพลักษณ์ของบริษัทและโอกาสในการผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งต้องพิจารณาปัจจัยทั้งหมดร่วมกันเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนมากที่สุด

(พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ, รูปภาพจาก: www.stou.ac.th)
2. ตราสารทุน
การลงทุนในตราสารทุน หรือ "หุ้น" ถือว่าให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนในตราสารประเภทอื่นๆ ในขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยงสูงกว่า ซึ่งการลงทุนในหุ้นก็เปรียบเสมือนการเป็นเจ้าของกิจการ ทำให้ได้รับผลตอบแทนจากเงินปันผลเมื่อกิจการมีผลการดำเนินงานดี และยังมีโอกาสได้รับกำไรจากการขายหุ้นด้วยเช่นกัน สำหรับ "เงินปันผล" ที่กิจการจ่ายให้เราในฐานะผู้ถือหุ้น จะมาจากผลการดำเนินงานของบริษัทที่มีกำไร จึงสามารถนำมาปันผลคืนให้ตามสัดส่วนของการถือครอง ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะมีการจ่ายเงินปันผลปีละครั้ง หรือ 2 ครั้งก็ได้ และบางบริษัทอาจมีการแบ่งจ่ายเป็นรายไตรมาส
ส่วนกำไรจากราคาหุ้นเกิดจากการที่เราขายหุ้นในราคาที่สูงกว่าที่เราซื้อมา ส่วนต่างนี้จึงเป็นกำไรที่เกิดจากราคาหุ้นที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งการที่ราคาหุ้นมีการเติบโตสูงขึ้นก็มาจากการขยายตัวของกิจการ แต่ขณะเดียวกันหุ้นบางตัวก็มีราคาสูงขึ้นจากความต้องการของนักลงทุนที่มีมากเช่นกัน ในทางตรงกันข้ามหากราคาหุ้นของบริษัทที่เราถืออยู่มีการปรับตัวลดลง ทำให้ราคาต่ำกว่าตอนที่เราซื้อมาก็จะเกิดการขาดทุนได้ ด้วยราคาหุ้นที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลานี้เอง ทำให้หุ้นเป็นตราสารทางการเงินที่มีความเสี่ยงมากกว่าตราสารประเภทอื่นๆ แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้เรามีโอกาสในการได้รับผลตอบแทนที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย

(รูปภาพจาก: www.manager.co.th)
3. หน่วยลงทุน
เป็นการลงทุนตราสารหนี้และตราสารทุน รวมถึงตราสารประเภทอื่นๆ ผ่าน "กองทุนรวม" ซึ่งจัดตั้งโดยบริษัทจัดการกองทุนรวม หรือ บลจ. มีทีมผู้จัดการกองทุนมืออาชีพคอยดูแลและบริหารจัดการลงทุนแทนเรา แต่ละกองทุนก็จะมีการกำหนดนโยบายการลงทุนไว้อย่างชัดเจน กองทุนรวมเหมาะสำหรับคนที่ยังไม่คุ้นเคยกับการลงทุนมากนัก ซึ่งอาจจะมีความรู้หรือประสบการณ์ในการลงทุนไม่เพียงพอ รวมถึงนักลงทุนบางคนที่แม้จะมีความรู้ความเข้าใจแล้ว แต่อาจไม่มีเวลาในการติดตามข้อมูลข่าวสาร และนอกจากเป็นกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้หรือตราสารทุน กองทุนรวมยังมีการลงทุนในตราสารประเภทอื่นด้วย เช่น ทองคำ น้ำมัน อสังหาริมทรัพย์ โครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น ด้วยความหลากหลายของสินทรัพย์ที่ไปลงทุนนี้ ทำให้กองทุนรวมเป็นตัวช่วยในการกระจายความเสี่ยงจากการลงทุนได้ค่อนข้างดีเลยทีเดียว

(รูปภาพจาก: www.salaryinvestor.com)
4. ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์
เป็นตราสารสำหรับการออมและการลงทุนอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นการสร้างหลักประกันในชีวิตไปพร้อมๆ กัน โดยบริษัทประกันจะจ่ายเงินตามจำนวนทุนประกันเมื่อครบสัญญา หรือหากผู้เอาประกันเสียชีวิตก่อนครบสัญญา เงินตามจำนวนทุนประกันก็จะตกสู่ผู้รับผลประโยชน์ ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์จึงคล้ายกับการออมเงินในระยะยาว

จากการเลือกลงทุนในตราสารทั้ง 4 ประเภทที่กล่าวมานี้ ถือว่าเป็นแนวทางพื้นฐานที่เราสามารถเลือกลงทุนได้ด้วยตัวเอง และไม่มีความซับซ้อนมาก ถ้าหากว่าเราศึกษาทำความเข้าใจอย่างละเอียดถี่ถ้วน ก็จะช่วยทำให้เงินออมของเราเพิ่มมูลค่าได้เป็นอย่างดีค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ธนาคารธนชาต

แท็กที่เกี่ยวข้อง


ข่าวและอีเว้นท์การเงินล่าสุด



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)