ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

เทคนิคการขับรถขึ้นเขา - ลงเขา ขับอย่างไรให้ปลอดภัย

icon 1 ก.ย. 60 icon 16,355
เทคนิคการขับรถขึ้นเขา - ลงเขา ขับอย่างไรให้ปลอดภัย

เทคนิคการขับรถขึ้นเขา - ลงเขา ขับอย่างไรให้ปลอดภัย

การเดินทางท่องเที่ยวในเส้นทางขึ้นเขา - ลงห้วย ทั้งเนินต่ำๆ ไปจนถึงหุบเขาที่สูงชัน ผู้ขับต้องมีความระมัดระวังและมีทักษะในการควบคุมรถที่แม่นยำ พร้อมต้องมีสมาธิสูงมากๆ การขับรถขึ้นหรือลงเขานั้นควรทำอย่างไรจึงจะปลอดภัยที่สุด วันนี้เรามีเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ มาฝากกันครับ  

การขับรถขึ้นเขา
ทางขึ้นเขาไม่ว่าจะชันน้อยหรือมาก สิ่งที่ต้องทำอันดับแรกคือ ประเมินความสูง ระยะทางที่สามารถเร่งเครื่องยนต์ในจุดที่มีกำลังขึ้นได้สบาย ด้วยเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ต่ำลง 1 หรือ 2 ตำแหน่งขึ้นกับความเร็วเดิมที่ใช้อยู่ขณะนั้น และเร่งรอบเครื่องยนต์ค้างไว้ที่รอบสูง ระหว่างประมาณ 2,000 - 3,000 รอบต่อนาที เพื่อให้มีกำลังในการส่งขึ้นเนิน และเลี้ยงคันเร่งให้คงที่ รักษาระดับความเร็วที่เหมาะสม 

หากเจอโค้งที่มีความชันและสลับกันซ้ายขวาต่อเนื่อง ให้เติมคันเร่งในจังหวะก่อนจะหักพวงมาลัยเลี้ยวขึ้นโค้งถัดไป เพื่อรักษากำลังเครื่องยนต์เอาไว้ และต้องใช้เกียร์ต่ำให้รอบเครื่องยนต์ค้างระดับเดิมเอาไว้ เมื่อทางชันมากขึ้นและกำลังเริ่มตกลงเรื่อยๆ อย่ารอให้รอบต่ำจนเร่งไม่ไหว ให้รีบเปลี่ยนเกียร์ต่ำถัดไปก่อนรอบเครื่องยนต์ตกมาราวๆ 2,000 รอบต่อนาที เพื่อให้มีกำลังต่อเนื่องในการเร่งขึ้นต่อไป 

นอกจากนี้สายตาผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารจำเป็นต้องช่วยกันมองทางข้างหน้า ทั้งมุมมองด้านหน้าตรง มุมมองด้านข้างและระยะไกลเท่าที่เห็นได้ เพราะในเส้นทางอาจมีต้นไม้ หุบเขาไหล่เขาบดบัง ทำให้มองไม่เห็นเหตุการณ์ข้างหน้าได้ โดยเฉพาะเมื่อเข้าทางโค้งและเป็นทางชันแคบๆ มักมีโอกาสเจอรถสวนทางมา หากไม่ขับในช่องทางที่ถูกต้องก็อาจเกิดอันตรายได้
2. การขับลงเขา
การขับลงเขานับว่าอันตรายมากกว่าขึ้นเขา เนื่องจากมีโอกาสเสี่ยงที่ระบบเบรกจะทำงานหนักเกินไป จากการใช้เบรกตลอดในช่วงการลงทางชัน หรือการชะลอความเร็วในแต่ละช่วง ดังนั้นการขับลงเขาหรือทางชันต่างๆ ควรใช้เกียร์ต่ำถัดลงมาจากเกียร์เดิมที่ความเร็วในขณะนั้น เพื่อใช้เบรกจากเครื่องยนต์ช่วยหน่วงความเร็วให้ช้าลง และค่อยๆ แตะสลับกับปล่อยเบรกเป็นช่วง เพื่อลดความร้อนของผ้าเบรก และลดอาการ "เบรกแข็ง" และอาจทำให้ผ้าเบรกไหม้ได้

สำหรับผู้ที่ต้องขับรถในทางชันบ่อยๆ ให้ฝึกฝนทักษะการควบคุมพวงมาลัยและการเลี้ยวโค้งให้แม่นยำ นอกจากนี้ควรฝึกใช้ระบบเกียร์ต่ำให้คล่อง ทั้งรถยนต์ที่ใช้เกียร์ธรรมดาและเกียร์อัตโนมัติ
ในรถยนต์เกียร์อัตโนมัติ ให้เลื่อนตำแหน่งคันเกียร์ไปที่เลข "3 หรือ 2" เพื่อให้ตำแหน่งเกียร์ต่ำลง และหากต้องขับขี่ผ่านทางชันมากๆ ทั้งขึ้นหรือลงก็ควรใช้ตำแหน่ง "L" ซึ่งจะคล้ายๆ การใช้เกียร์ 1 นั่นเอง

ส่วนรถที่มีระบบเปลี่ยนเกียร์ทั้งแบบบวก/ลบ (+/-) หรือมี Paddle Shift บนพวงมาลัย โดยเฉพาะใช้แบบโยกที่คันเกียร์ให้ฝึกจนเกิดความเคยชินว่าต้องผลักคันเกียร์ไปในทิศทางใดเป็นการเพิ่ม-ลดตำแหน่งเกียร์ด้วยเพื่อลดความผิดพลาด
ที่กล่าวมาทั้งหมด เป็นทริคเล็กๆ น้อยๆ ที่ช่วยให้การขับรถยนต์ขึ้นและลงเขาหรือทางชันได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น แม้ว่ารถยนต์รุ่นใหม่ๆ จะมีระบบตัวช่วยในการป้องกันไม่เสียการทรงตัวต่างๆ มากมาย แต่สิ่งที่ผู้ขับจะต้องมีคือ ความรู้ความเข้าใจรู้ว่าสมรรถนะของรถที่ใช้ว่ามีขีดจำกัดมากเพียงใด เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทุกการเดินทางครับ
แท็กที่เกี่ยวข้อง การขับรถ ขับรถขึ้นเขา ขับรถลงเขา
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)