ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

รวมมิตรมาตรการพิชิตรถติดในกรุงเทพฯ

icon 16 ก.ย. 59 icon 13,825
รวมมิตรมาตรการพิชิตรถติดในกรุงเทพฯ

รวมมิตรมาตรการพิชิตรถติดในกรุงเทพฯ

ปัจจุบันกรุงเทพมหานคร ถูกจัดให้เป็นเมื่องที่ขึ้นชื่อเรื่องรถติดหนักมาก ถึงขนาดติด 1 ใน 5 มหานครที่รถติดที่สุดในโลก โดยทางภาครัฐและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่างก็เร่งมือและระดมความคิด วิธีการ รวมถึงมาตรการต่างๆ เพื่อมาช่วยแก้ปัญหารถติดในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ให้การจราจรติดขัดน้อยลง ซึ่งแต่ละแนวความคิดมีทั้งที่น่าสนใจ น่าแปลกใจและน่าตกใจว่าจะทำได้จริงหรือเปล่า หรืออาจมีผลกระทบมากน้อยอย่างไรต่อวิถีชีวิตคนเมืองบ้าง มาดูมาตรการต่างๆ ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำเสนอแนวคิดแก้ไขปัญหารถติดว่ามีอะไรที่กันบ้าง สำหรับในแผนการแก้ไขปัญหารถติดนั้น ทางภาครัฐได้วางกรอบเอาไว้ 3 ระยะ คือ ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว 

1. ระยะสั้น
เข้มงวดผู้ใช้รถใช้ถนนเคารพกฎจราจรมากขึ้น ห้ามจอดรถบนถนน ห้ามฝ่าฝืนสัญญาณจราจร ห้ามเลี้ยวซ้าย ตำรวจต้องทำกฎหมายให้ศักดิ์สิทธิ์ หรือเพิ่มโทษให้หนักขึ้น เช่น การยึดหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
 
นอกจากนี้ได้พยายามผลักดันระบบขนส่งสาธารณะให้เกิดขึ้นครอบคลุม และส่งเสริมให้คนมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น รวมถึงทดลองการจัดระเบียบการจราจร เช่น สาทรโมเดล  ไม่ว่าจะเป็น การคืนพื้นผิวจราจรให้รถยนต์ การปรับเปลี่ยนป้ายรถประจำทาง จุดกลับรถ การควบคุมสัญญาณไฟจราจร ซึ่งได้นำสถิติการจราจรมาใช้มากขึ้น และการใช้จุดจอดแล้วจร (พาร์คแอนด์ไรด์) โดยใช้ที่ว่างลานจอดรถของคอนโดมิเนียม และห้างสรรพสินค้า เป็นที่จอดรถในช่วงเวลากลางวัน
2. ระยะกลาง (1-2 ปี)
จัดรีเวิร์สซิเบิลเลนหรือให้รถสวนกระแส ยกตัวอย่างถนน 6 ช่องจราจร ช่วงเช้ารถเข้าเมืองมีปริมาณสูงให้ เปิด 4 ช่อง เดินรถสวนช่องขาออกเมือง 1 ช่องส่วนขาออกเมืองเปิด 2 ช่อง ช่วงเย็นรถออกเมืองมีปริมาณสูงให้สลับขาออกเมือง 4 ช่องจราจร ขาเข้าเมือง 2 ช่องจราจร

3. ระยะยาว (5-6 ปี)

มาตรการควบคุมปริมาณรถส่วนตัว โดยแบ่งเป็นไว้ 2 วิธีคือ 
1. กำหนดโซนนิ่ง มาตรการกำหนดโซนนิ่ง เพื่อควบคุมปริมาณรถยนต์ในเขตเมืองชั้นใน โดยการเก็บค่า "ผ่านทาง" ในถนนที่มีปริมาณการจราจรหนาแน่น ไม่ให้รถยนต์ส่วนตัวเข้าไปเติม คล้ายกับด่านทางด่วน แม้จะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ แต่ทางภาครัฐหวังว่าจะลดปริมาณรถยนต์ลงได้ 50% แน่นอนว่ามาตรการนี้ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากโลกโซเชียลเน็ตเวิร์คไม่น้อยว่า "ควรปรับปรุงระบบการขนส่งสาธารณะให้ครอบคลุมเสียก่อน" แต่ก็มีบางคนที่เห็นด้วยกับมาตรการนี้อยู่บ้าง

2. คุมให้ใช้เฉพาะวันคู่หรือวันคี่ การกำหนดวันใช้รถด้วยเลขทะเบียนรถวันคู่หรือวันคี่ หากตรงกับวันคี่ให้รถยนต์ที่มีเลขทะเบียนวันคี่ใช้เท่านั้น ส่วนวันคู่เลขทะเบียนวันคู่ใช้ได้  ซึ่งมาตรการนี้ใน 1 เดือนจะใช้รถได้แค่ 15 วันเท่านั้น และคาดการณ์ว่าจะทำให้รถหายไปจากท้องถนนถึง 50% วิธีนี้ก็ดูเหมือนจะดี แต่แอบมีหลายๆ คนสงสัยว่า ขั้นตอนการตรวจสอบในแต่ละวันจะทำอย่างไร มีด่านตั้งตามท้องถนนมากเพียงใด สุดท้ายจะทำให้รถติดน้อยลงได้จริงหรือ ก็ต้องมาลุ้นต่อไปว่าจะช่วยแก้ปัญหารถติดได้จริงหรือไม่  

อย่างไรก็ตามปัญหารถติดในกรุงเทพฯ ขณะนี้เกิดขึ้นเฉพาะช่วงเร่งด่วนเช้า-เย็นเท่านั้น ซึ่งในเวลาอื่นๆ สภาพการจราจรยังสามารถใช้งานได้ และยังต้องรอให้เสนอครม.เห็นชอบ และพร้อมดำเนินการช่วงปี 65 เพื่อให้รถไฟฟ้าอีก 10 สาย สร้างแล้วเสร็จเป็นทางเลือกให้ประชาชนเดินทางได้สะดวกก่อน สำหรับตอนนี้สิ่งที่ผู้ใช้รถใช้ถนนต้องมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาได้ดีที่สุดนั่นคือ ช่วยกันเคารพกฏจราจรอย่างเคร่งครัด
แท็กที่เกี่ยวข้อง รถยนต์ กรุงเทพ รถติด กรุงเทพฯ กรุงเทพรถติด ข้อมูลความรู้
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)