ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

10 ถนนห้ามจอดรถ ฝ่าฝืนยกจริง ปรับจริง รถเกิน 7 ปียังวิ่งได้

icon 30 ต.ค. 56 icon 363,519
10 ถนนห้ามจอดรถ ฝ่าฝืนยกจริง ปรับจริง รถเกิน 7 ปียังวิ่งได้

10 ถนนห้ามจอดรถ รถเกิน 7 ปียังวิ่งได้
เมื่อวันที่ 8 ต.ค. ที่กองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) รับผิดชอบงานจราจร พล.ต.ต.นิพนธ์ เจริญผล รอง ผบช.น. พล.ต.ต.จิรสันต์ แก้วแสงเอก ผบก.จร. เรียกประชุมรอง ผบก.น.1-9 รอง ผบก.จร. และ ผกก.ในสังกัด บก.จร. เพื่อขับเคลื่อนนโยบายแผนงานการพัฒนา และแก้ไขปัญหาระบบการจราจรในพื้นที่กรุงเทพฯ หลังจากที่มีการแถลงนโยบายการแก้ปัญหาจราจร 11 ยุทธศาสตร์ โดย พล.ต.ต.อดุลย์ เปิดเผยว่า โครงการแรกที่จะเริ่มดำเนินการ คือ โครงการถนน 10 สาย ที่มีปัญหารถติดขัดมาก ได้แก่
  1. ถนนลาดพร้าว ห้าแยกลาดพร้าว-แยกแฮปปี้แลนด์
  2. ถนนพระราม แยกหัวลำโพง-แยกพะราม4
  3. ถนนสุขุมวิท ถนนเพลินจิต ถนนพระราม1 ตั้งแต่แยกบางนา-แยกพงษ์พระราม
  4. ถนนรัชดาภิเษก ถนนอโศกดินแดง ถนนอโศกมนตรี ตั้งแต่แยกประชานุกูล-แยกรัชดาพระราม4
  5. ถนนรามคำแหง ถนนพระราม9 ถนนจตุรทิศ ตั้งแต่แยกคลองเจ๊ก-แยกรามคำแหง-ถนนจตุรทิศ
  6. ถนนพหลโยธิน-ถนนเกษตรนวมินทร์ อนุสาวรีย์ชัยฯ-สะพานใหม่ และแยกเกษตรศาสตร์-แยกนวมินทร์
  7. ถนนสาทร ทั้งเหนือและสาทรใต้ตลอดเส้นทาง
  8. ถนนราชดำเนิน สะพานพระปิ่นเกล้าฯ ถนนบรมราชชนนี และถนนคู่ขนานลอยฟ้า ตั้งแต่ลานพระราชวังดุสิต-แยกผ่านพิภพฯ-จนสุดเขตกทม.
  9. ถนนเพชรบุรี เพชรบุรีตัดใหม่ ตั้งแต่แยกอุรุพงษ์-แยกคลองตัน
  10. ถนนวิภาวดีรังสิต ตลอดเส้นทาง
โดยจะจัดกำลังเจ้าหน้าที่เข้าดูแลถนนทั้ง 10 สาย ห้ามไม่ให้มีการจอดรถในที่ห้าม โดยปัจจุบันพบว่า การจอดรถในที่ห้ามจอดเป็นการสร้างปัญหารถติดขัดโดยใช่เหตุ และเป็นสาเหตุที่พบบ่อยมาก ซึ่งเริ่มดำเนินการประชาสัมพันธ์มาแล้วตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2556 เป็นต้นมา และประชาสัมพันธ์ในพื้นที่เพิ่มเติมอีกระหว่างวันที่ 15-20 ตุลาคม 2556
หากพบการจอดรถที่ผิดกฎหมายจะดำเนินการว่ากล่าวตักเตือนก่อน และจะจับปรับจริงจังเข้มข้นในวันที่ 20 ต.ค.เป็นต้นไป ซึ่งจะไม่ใช้มาตรการล็อคล้อ แต่จะใช้วิธียกรถออกจากพื้นที่ เพื่อไม่ให้เป็นการกีดขวางการจราจร ตามความผิด พ.ร.บ.จราจรมาตรา 57 และ 59 ห้ามจอดในที่ห้าม และนำรถที่ถูกยกมาจอดในพื้นที่สน.ที่รับผิดชอบ

ฝ่าฝืนมีโทษ
  • ปรับไม่เกิน 500 บาท 
  • รวมทั้งเสียค่าเคลื่อนย้ายรถโดยแบ่งเป็น
    • รถยนต์ไม่เกิน 4 ล้อ ค่าบริการยกรถ 500 บาท และค่าดูแล 200 บาทต่อวัน
    • รถยนต์บรรทุก 6 ล้อ ค่าบริการยกรถ 700 บาท และค่าดูแล 300 บาทต่อวัน
    • รถยนต์บรรทุก 10 ล้อขึ้นไป ค่าบริการยกรถ 1,000 บาท และค่าดูแล 500 บาทต่อวัน 
    ทั้งนี้ ต้องมาติดต่อรับรถคืนเองที่สน.ท้องที่นั้นด้วย
รถเกิน 7 ปี ยังวิ่งได้
ทั้งนี้ในส่วนกรณีการเสนอห้ามรถอายุ 7-10 ปี เข้าพื้นที่กรุงเทพฯ นั้น ขณะนี้เป็นเพียงแนวคิด ซึ่งเหมือนกับแนวคิดของผู้ตรวจการฯ ที่เสนอเก็บค่าปรับรถเกิดอุบัติเหตุนาทีละ 100 บาท ที่ยังต้องนำไปศึกษาวิเคราะห์รายละเอียดของโครงการ เปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย และความเป็นไปได้ในการดำเนินการให้รอบด้านก่อน หลังจากนั้นก็ต้องเสนอรัฐบาล ซึ่งต้องผ่านขั้นตอนอีกหลายฝ่าย ทั้งฝ่ายกลั่นกรองกฎหมาย คณะกรรมาธิการ และยังต้องผ่านการพิจารณาของรับสภา ซึ่งหากมีขั้นตอนใดไม่เห็นด้วยแนวคิดก็ต้องยกเลิกไป ถ้าศึกษามาแล้วมีผลกระทบต่อประชาชนเป็นจำนวนมากก็มีความเป็นไปได้น้อย อย่างไรก็ตามแนวคิดนี้ตนไม่ได้คิดเอง แต่เป็นการเสนอจากตำรวจจราจรที่ทำงานในพื้นที่ว่า รถติดเพราะมีรถจอดเสียกีดขวางและส่วนใหญ่ก็เป็นรถเก่าเกิน 10 ปี อีกทั้งตนได้ลงพื้นที่ที่ถนนพระราม 2 รถติดกว่า 2 กม. เพราะมีรถเก่าจอดเสีย 2 คัน จึงได้บรรจุในแผนเพื่อเตรียมการแก้ไข นอกจากนี้ตนมีข้อมูลปริมาณรถเก่าเกินกว่า 10 ปี ที่วิ่งอยู่ในกรุงเทพฯ ในปัจจุบันมีถึง 30% ของรถทั้งหมด ถือว่าเป็นจำนวนมาก ส่วนที่มีการชี้ประเด็นไปที่โครงการรถคันแรกที่เพิ่มปริมาณรถยนต์เข้าสู่ถนนมากถึง 9 แสนคันนั้น รถคันแรกเป็นเรื่องของเศรษฐกิจช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ ไม่เหมือนกรณีรถเก่าที่สร้างปัญหา ทั้งจอดเสียบ่อย ทำให้รถติดซึ่งยังกระทบเศรษฐกิจที่ต้องเผาผลาญน้ำมันเป็นจำนวนมากอีกด้วย
เตรียมเพิ่มอีก 30 เส้นทาง เริ่ม 1 พ.ย. 56
พล.ต.ท.เรืองศักดิ์ จริตเอก ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยหลังเริ่มนำร่องโครงการฯ ในถนน 10 สายหลักตั้งแต่วันที่ 21-28 ตุลาคมที่ผ่านมา ได้ดำเนินการยกรถไปแล้ว 67 คัน และจากการตรวจสอบสภาพการจราจรทางกล้อง CCTV พบว่าบนถนน 10 สายหลัก ท้ายแถวในแต่ละแยกความยาวสั้นลง มีความคล่องตัวเพิ่มขึ้น และมีอัตราความเร็วเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
นอกจากนี้ จากผลสำรวจประชาชนยังพบว่า ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการนี้ และได้รับการตอบรับ เนื่องจากสามารถแก้ปัญหาการจราจรติดขัด พร้อมเห็นด้วยที่จะขยายโครงการนี้ไปในถนนสายอื่นๆ โดยมองว่าค่าปรับค่าเคลื่อนย้ายรถมีความเหมาะสมแล้ว ทั้งนี้ จากการสอบถามตำรวจไม่พบปัญหาในการปฏิบัติงานแต่อย่างใด 
เส้นทางห้ามจอด-ยกจริง-ปรับจริงอีก 30 เส้นทางหลัก ที่เพิ่มขึ้นมา มีดังต่อไปนี้
  1. ถนนประชาราษฎร์สาย 1
  2. ถนนสามเสน
  3. ถนนรามอินทรา
  4. ถนนแจ้งวัฒนะ
  5. ถนนงามวงศ์งาน
  6. ถนนประชาชื่น
  7. ถนนนวมินทร์
  8. ถนนร่มเกล้า
  9. ถนนลาดกระบัง
  10. ถนนประดิษฐ์มนูธรรม
  11. ถนนศรีนครินทร์
  12. ถนนเสรีไทย
  13. ถนนเจริญกรุง
  14. ถนนนราธิวาสราชนครินทร์
  15. ถนนจักรเพชร
  16. ถนนบำรุงเมือง
  17. ถนนกรุงเกษม
  18. ถนนเยาวราช
  19. ถนนสีลม
  20. ถนนจรัญสนิทวงศ์
  21. ถนนเจริญนคร
  22. ถนนรัชดาภิเษก-พระราม3
  23. ถนนรัชดาภิเษก-ตลาดพลู
  24. ถนนสมเด็จเจ้าพระยา
  25. ถนนกรุงธนบุรี
  26. ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน
  27. ถนนประชาอุทิศ
  28. ถนนเพชรเกษม
  29. ถนนพระราม 2
  30. ถนนราชพฤกษ์
แท็กที่เกี่ยวข้อง
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)